วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2
วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานกราฟิก
2.1 วัสดุที่ใช้ในงานกราฟิก
2.1.1 กระดาษ กระดาษที่ใช้ในงานกราฟิกมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะสมกับชนิดของงานต่างๆ กัน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดี จึงต้องเลือกใช้กระดาษให้เหมาะสม กระดาษที่ใช้อาจแบ่งออกได้ดังนี้ก. กระดาษหน้าขาวหลังเทา หรือกระดาษกล่อง นิยมใช้กันมากในงานโสตทัศนศึกษาใช้สำหรับเขียนโปสเตอร์ บัตรคำและป้ายประกาศต่างๆ นิยมเขียนด้วยปากกาปลายสักหลาด หรือ สปีดบอล ไม่นิยมใช้พู่กันเขียนข. กระดาษโปสเตอร์ โดยทั่วไปเป็นกระดาษสีหน้าเดียว มีทั้งชนิดบางและชนิดหนา ชนิดบางใช้สำหรับดัดเป็นรูปภาพหรือตัวอักษรนำไปติดบนกระดาษหนาหรือวัสดุอื่นอีกทีหนึ่ง ส่วนกระดาษโปสเตอร์ชนิดหนา เหมาะสำหรับงานเขียนโปสเตอร์ นิยมเขียนพู่กันหรือปากกาสปีดบอล ส่วนปากกาปลายสักหลาดไม่นิยมใช้เขียน กระดาษโปสเตอร์มีทั้งแบบที่เป็นสีสะท้อนแสงและสีทึบแสงค. กระดาษวาดเขียน เป็นกระดาษเนื้อด้านหรือเป็นเม็ด เหมาะสำหรับวาดรูปโดยใช้สีน้ำ ไม่เหมาะสำหรับเขียนตัวอักษร เพราะผิวไม่เรียบและสีจะซึมได้เล็กน้อยง. กระดาษอาร์ทมัน เหมาะสำหรับงานออกแบบโดยทั่วไป ผิวเรียบเป็นมัน เหมาะสำหรับเขียนด้วยปากกาสปีดบอลหรือปากกาเขียนแบบ การวาดภาพลายเส้น เพื่อทำเป็นภาพต้นแบบสำหรับถ่ายทำเป็นฟิล์มเมกกาตีฟ เพื่อใช้ในการพิมพ์ หรือทำบล็อกสำหรับงานพิมพ์จ. กระดาษอาร์ทด้านสี เป็นกระดาษเนื้อหนาสีเดียวกันทั้งสองด้าน เหมาะสำหรับทำเป็นปกรายงานหรือปกหนังสือ ทำแผ่นป้ายนิเทศ หรือติดวัสดุต่างๆ ในงานนิทรรศการฉ. กระดาษไขเขียนแบบ มีลักษณะขุ่นมัวคล้ายกระจกฝ้า เหมาะสำหรับงานเขียนแบบโดยทั่วไป และทำต้นแบบงานพิมพ์หรืองานถ่ายบางชนิดช. กระดาษการ์ดสี เป็นกระดาษที่เนื้อเยื่อกระดาษถูกย้อมเป็นสีแล้วนำมาทำเป็นแผ่นมีสีเดียวกันทั้งสองหน้า ในการทำสื่อการสอนต่างๆ นิยมใช้กระดาษการ์ดมี 2 หน้า เพราะมีสีสดใสและเข้ม แก้ไขตกแต่งได้ง่ายและมองเห็นตำหนิได้ยากส่วนกระดาษการ์ดสีอีกชนิดหนึ่งมีเนื้อละเอียด แต่สีอ่อนจาง และมีสีจำกัด ราคาย่อยเยาเหมาะสำหรับทำปกหรือทำแฟ้มกระดาษการเรียกน้ำหนักกระดาษ๑. เรียกเป็นกรัมหรือแกรม วิธีนี้เป็นวิธีสากลถือหลักว่ากระดาษ ๑ แผ่นมีเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร เมื่อนำไปชั่งมีน้ำหนักเป็นแกรมเท่าใด เป็นกระดาษเท่านั้นแกรม เช่น กระดาษ ๖๐ แกรม ถ้าจะเขียนให้ชัดเจนมักเขียนเป็นกระดาษ ๖๐ แกรม/ม๒.๒. เรียกเป็นกิโลกรัม หรือ ก. ก. ใช้เรียกชื่อกระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย โดยถือหลักว่ากระดาษขนาดมาตรฐานของไทย ( ๓๑” x ๔๓” ) ใน ๑ รีม ซึ่งมี ๕๐๐ แผ่น ซึ่งดูแล้วมีน้ำหนักกี่กิโลกรัม๓. เรียกเป็นปอนด์ ทางยุโรปหมายถึงกระดาษขนาดมาตรฐาน ( ขนาด ๓๑” x ๔๓” ) จำนวน ๑ รีม( ๕๐๐ แผ่น ) ชั่งน้ำหนักได้กี่ปอนด์ก็เรียกว่าเป็นกระดาษเท่านั้นปอนด์
2.1.2 สี สีที่ใช้ในงานกราฟิกแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกันคือก. สีน้ำ มีทั้งชนิดเป็นหลอด และเป็นแผ่นๆ บรรจุในกล่อง เวลาใช้ต้องใช้พู่กันจุ่มน้ำมาผสมในจานผสมสี ข้อดีก็คือใช้ง่ายและล้างออกง่ายสีติดวัสดุประเภทกระดาษได้คงทน ข้อเสียคือระบายให้เรียบได้ยาก จึงเหมาะสำหรับวาดรูปเท่านั้นข. สีน้ำมัน เป็นสีที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เมื่อแห้งแล้วจะมีสภาพคงทน เหมาะสำหรับงานภายนอก หรืองานที่อาจมีสิ่งสกปรกเปื้อนได้ง่าย สำหรับงานเขียนตัวอักษรนิยมใช้สีแห้งช้าหรือสีที่ใช้ผสมกับน้ำมันสน ส่วนสีแห้งเร็วที่ใช้ผสมกับทินเนอร์ไม่นิยมใช้เขียนตัวอักษรแต่จะใช้เป็นสีรองพื้น วัสดุกราฟิก สีน้ำมันมีทั้งที่บรรจุกระป๋อง บรรจุหลอด และบรรจุกระป๋องสเปรย์ มีทั้งที่เป็นสีด้าน และสีมันค. สีโปสเตอร์ ส่วนมากบรรจุในขวด มีทั้งสีธรรมดาและสีสะท้อนแสง เหมาะสำหรับเขียนด้วยพู่กันปลายตัด เขียนง่าย เส้นเรียบไม่ด่างเหมือนสีน้ำ เมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับด้วยสีอื่นได้ แต่มีข้อเสียคือ หลุดล่อนได้ง่าย สีโปสเตอร์นี้เวลาใช้ต้องผสมน้ำง. สีพลาสติก เป็นสีผสมน้ำ เหมาะสำหรับทาเป็นสีรองพื้น ทาผนัง หรือใช้เขียนผ้า เมื่อแห้งแล้วติดทนนานจ. สีฝุ่น เป็นสีผสมน้ำ แต่เพื่อให้ติดแน่นกับพื้นผิว นิยมใช้ผสมกาวเช่น กาวกระถิน ส่วนมากเหมาะสำหรับใช้งานหยาบๆ เช่น ทาสีฉากละครฉ. สีเทียน เป็นสีผสมไข ใช้สำหรับงานระบายสีในเนื้อที่ไม่มากนักช. สีพิมพ์ซิสด์สกีม อาจแบ่งออกได้ตามประเภทการใช้งาน เช่น สีพิมพ์ผ้า สีพิมพ์กระดาษ สีพิมพ์โลหะ สีพิมพ์พลาสติกญ. สีพิมพ์ภาพ เป็นสีที่ใช้อยู่ตามโรงพิมพ์โดยทั่วไปมีทั้งที่เป็นแม่สีและสีผสม สามารถพิมพ์ภาพออกมาได้มีคุณภาพสูงมากในการเลือกใช้สีต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ถ้าเป็นงานที่ต้องความคงทนถาวรควรใช้สีชนิดถาวร ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมัน เช่นสีน้ำมัน ถ้าเป็นงานที่ไม่ต้องการความคงทนถาวรควรใช้สีชนิดชั่วคราว ซึ่งเป็นสีที่มีส่วนผสมของน้ำ เช่นสีโปสเตอร์ สีฝุ่น เป็นต้น หรือถ้าต้องการเขียนลงบนแผ่นโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ควรใช้สีโปร่งแสง เพื่อให้เห็นเป็นสีบนจอได้ชัดเจน
2.1.3 น้ำหมึก เป็นสิ่งที่ใช้คู่กับปากกา พู่กัน เครื่องอัดสำเนา และบล็อกประทับตรายางต่างๆ อาจแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดดังต่อไปนี้ก. น้ำหมึกโปร่งแสง สำหรับใส่ปากกาเขียนแผ่นอาซีเตท หรือแผ่นโปร่งใส มีทั้งแบบชั่วคราวที่ลบได้ด้วยน้ำและแบบถาวรที่ต้องลบด้วยทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์ข. น้ำหมึกสำหรับเติมปากกาสักหลาด เป็นน้ำหมึกสำหรับใช้เติมปากกาปลายสักหลาดแบบสีเมจิกค. หมึกสีธรรมดา เป็นหมึกที่ใช้กับปากกาหมึกซึม หรือปากกาชนิดอื่น เช่น ปากกาสปีดบอล ปากกาคอแร้ง หรือพู่กันก็ได้ ส่วนมากจะยอมให้แสงผ่านได้ นอกจากหมึกสีขาวง. หมึกดำหรือหมึกอินเดียอิงค์ เป็นหมึกที่มีความดำจัด ใช้ระบายสีทับหรืองานกราฟิกได้ดี ส่วนมากจะเป็นแบบกันน้ำได้ ( Water proof )จ. หมึกจีน มีลักษณะเป็นแท่ง เวลาใช้ต้องฝนกับจานสี การเขียนใช้พู่กันจีนหรือพู่กันปลายตัดก็ได้ มีความเข้มมากกว่าอินเดียอิงค์ เหมาะสำหรับเขียนอักษรหรือวาดภาพด้วยพู่กันฉ. หมึกสำหรับเติมปากกาเขียนแบบ เป็นหมึกที่ไม่เกาะติดปากกาเหมือนกับอินเดียอิงค์ มีความดำเข้มจัดมาก เหมาะสำหรับงานเขียนที่ต้องการความทึบแสงสูง เช่นการเขียนต้นฉบับสำหรับนำไปถ่ายทำบล็อกซิลค์สกรีนช. หมึกประทับตรายาง เป็นหมึกที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน มีความเข้มข้นไม่เหมาะสำหรับนำมาเขียน แต่ใช้สำหรับประทับตรายางเหมาะที่สุดญ. หมึกพิมพ์สำหรับการอัดสำเนา มีทั้งชนิดหลอดเป็นดรีม และชนิดเหลวบรรจุในขวดพลาสติก แต่ละชนิดเหมาะสำหรับเครื่องอัดสำเนาต่างชนิดกันหมึกส่วนใหญ่มีลักษณะโปร่งแสง ( Transparent ) คือยอมให้แสงผ่านได้หากใช้บนแผ่นโปร่งใสก็จะได้สีของหมึกนั้น ถ้าเขียนลงบนกระดาษพื้นสีเข้มจะไม่ค่อยมีผล เพราะสีของกระดาษจะปรากฏชักเจนกว่า
2.1.4 วัสดุอื่นๆ ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากจะใช้กระดาษสีและหมึกตามที่กล่าวมาแล้ บางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุอื่นๆ มาช่วย เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่นช่วยอำนวยความสะดวก ความรวดเร็ว และความคงทน วัสดุเหล่านั้นได้แก่- กาวต่างๆ เช่น กาวยางน้ำ กาวลาเท็กซ์ กาวกระถิน กาวแป้งเปียก ฯลฯ ซึ่งใช้สำหรับผนึกชิ้นส่วนต่างๆ ให้ติดกับพื้นผิวของวัสดุ- เทปกาว เช่น สก๊อตเทป กระดาษกาว กระดาษกาวย่น ใช้ช่วยทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานหรือทำให้เกิดความเรียบร้อยสวยงามของงานที่ผลิตขึ้นมา2.2 เครื่องมือที่ใช้ในงานกราฟิก
2.2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการขีดเขียน ได้แก่ ปากกา ดินสอ พู่กัน มีหลายลักษณะที่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ผลิตก. เครื่องมือประเภทปลายปากแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะหรือไม้ ได้แก่ ปากกาชนิดต่างๆ ดั้งนี้- ปากกาชนิดปลายปากแหลม เหมาะสำหรับใช้เขียนตัวอักษรขนาดเล็กหรือเส้นที่มีความละเอียดใช้เขียนกับหมึกหรือสีโปสเตอร์ก็ได้ นิยมใช้กันมากในงานสร้างต้นแบบของงานพิมพ์ ( Artwork) ปากกาชนิดนี้มีขนาดเดียว ฉะนั้นเมื่อต้องการใช้เส้นหนาจะต้องตัดหรือต้นปลายด้วยหิน- ปากกาสปีดบอล ใช้ในงานเขียนตัวอักษร สามารถใช้ได้กับหมึกและสีโปสเตอร์ มีให้เลือกใช้ถึง 4 แบบ และขนาดต่างกันถึง 6 – 7 ขนาดแบบ A (A-Style) สำหรับเขียนตัวอักษรเหลี่ยมที่มีเส้นทึบตลอดตัว มีขนาดตั้งแต่ A – 0 ถึง A – 0แบบ B (B-Style) สำหรับเขียนตัวอักษรที่ต้องการให้หัวหรือปลายมันเป็นรูปครึ่งวงกลมมีขนาดตั้งแต่ B – 0ถึง B- 0แบบ C (C-Style) สำหรับเขียนตัวเหลี่ยมหักมุมได้มีขนาดตั้งแต่ C- 0 ถึง C – 6แบบ D (D-Style) สำหรับเขียนตัวมนที่มีเส้นหนาและบาง มีขนาดตั้งแต่ D – 0 ถึง D – 6- ปากกาหมึกซึมเขียนแบบ ใช้ได้ทั้งการเขียนตัวอักษรตีเส้นและวาดรูป มีขนาดต่างๆกันโดยเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็กสุดคือ 0.1 มม.ขึ้นไป- ปากกาตีเส้น ใช้ขีดเส้นได้อย่างสม่ำเสมอบนกระดาษเขียนแบบหรือแผ่นใส มีทั้งแบบตีเส้นตรงและขีดเส้นโค้งหรือวงกลม และยังสามารถปรับขนาดของปากกาได้อีกด้วยข.เครื่องมือประเภทปลายปากอ่อน มักทำจากขนสัตว์ ยาง หรือ สักหลาด ได้แก่ พู่กัน ปากกาปลายสักหลาด และปากกาไฟเบอร์พู่กัน ทำด้วยขนสัตว์ เช่นขนหูวัว ขนกระต่าย ขนแกะ มี 2 ชนิด คือ ชนิดกลมและชนิดแบนหรือปลายตัด ชนิดกลมใช้ในการระบายสี ส่วนปลายแบนหรือปลายตัดใช้สำหรับเขียนตัวอักษรพู่กันสามารถใช้ได้กับสีน้ำ สีโปสเตอร์ และสีน้ำมัน การใช้ต้องอาศัยความชำนาญปากกาปลายสักหลาด ปลายปากทำด้วยสักหลาดแข็ง มีทั้งชนิดปากกลมและปากปลายตัดใช้ประโยชน์ในงานหลายชนิด เช่น- ปากกาสักหลาดปลายตัด ใช้สำหรับเขียนตัวอักษรชนิดไม่มีหัว- ปากกาสักหลาดปลายกลม ใช้สำหรับเขียนตัวอักษรประดิษฐ์หรือระบายสีปากกาไฟเบอร์ ปลายปากแหลม ทำด้วยไพล่อนแข็ง เหมาะสำหรับใช้งานที่คล้ายกับเขียนด้วยปากกาหมึกซึม หรือปากกาเขียนแบบแต่มีข้อเสียตรงที่เส้นไม่คมและชัดเจนเท่าค. ดินสอ ใช้ในงานร่างแบบ เขียนรูป วาดรูป และระบายสี ดินสอแต่ละชนิดเหมาะกับงานที่แตกต่างกันออกไป- ดินสอดำ มีทั้งชนิดที่ไส้ดินสอหุ้มด้วยไม้เนื้ออ่อน และใส่ที่นำมาใช้กับวงเวียนหรือปากกาดินสอ ความดำของดินสอขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของไส้ดินสอ ซึ่งกำหนดให้ทราบด้วยตัวอักษร H และ BH ให้เส้นที่สีเข็มเท่ากันตลอด จาก H ถึง 4H ซึ่งสีจะจางและไส้ดินสอจะแข็งยิ่งขึ้นเหมาะสมกับงานร่างแบบB ให้เส้นสีดำมากกว่าเนื้อไม้ดินสออ่อนจาก B ถึง 6B ซึ่งจะให้สีดำมากขึ้นและไส้ดินสออ่อนยิ่งขึ้น เหมาะสมกับงานสเก็ต เขียนรูป แรเงาHB ให้เส้นลักษณะปานกลาง ใช้อยู่ทั่วไป- ดินสอสี ใช้งานระบายสีบนพื้นกระดาษ และบนภาพขนาดเล็ก- ดินสอเดรยอง เป็นดินสอที่มีส่วนผสมของดิน สี และ ไข ใช้งานระบายสีบนพื้นกระดาษมากกว่าเขียนตัวอักษร- ดินสอถ่าน เป็นส่วนผสมของถ่านหรือสีกับกาว เหมาะกับงานวาดภาพเหมือนและการแรเงาภาพ
2.2.2 เครื่องมือช่วยและประกอบการผลิตงานกราฟิคก. เครื่องช่วยการเขียน ได้แก่- แผ่นโตกราฟ ช่วยย่อหรือขยายภาพโดยไม่ต้องใช้ทักษะในการวาดรูป และไม่ต้องเสียเวลาในการตีตาราง- เครื่องฉายภาพโปร่งแสง ช่วยขยายภาพจากต้นฉบับประเภทโปร่งแสง- เครื่องฉายภาพทึบแสง ช่วยขยายภาพจากต้นฉบับประเภททึบแสง- เครื่องอัด ขยายภาพ ช่วยสร้างภาพจากฟิล์มถ่ายรูป- เครื่องอัดสำเนา ช่วยสร้างภาพจากต้นฉบับที่เป็นกระดาษไขเมื่อต้องการจำนวนมากๆ- เครื่องถ่ายเอกสาร ช่วยสร้างภาพจากต้นฉบับเดิม- เทพเพลท หรือ แบบโครงร่าง รูปทรงต่างๆ ที่ใช้ในงานวาดรูปบนกระดาษ , กระดาษไข- อักษรลอก ให้ตัวอักษรที่คมชัด สวยงามในแบบและขนาดต่างๆ ที่ให้เลือกมากมาย- ตรายาง ช่วยสร้างภาพหรือตัวอักษรได้อย่างรวดเร็ว- แม่แบบเขียนตัวอักษร มีสำหรับช่วยในการเขียนตัวอักษรประดิษฐ์ข.เครื่องประกอบการเขียน ได้แก่- วงเวียน ใช้เพื่อสร้างวงกลมหรือส่วนโค้ง มีทั้งชนิดที่ใช้กับดินสอดำและใช้กับหมึก- ไม้บรรทัดใช้ในงานลากเส้นตรง อาจทำด้วยไม้หรือโลหะหรือพลาสติกและมีความยาวตั้งแต่ 6 นิ้ว ถึง 24 นิ้ว- ไม้ฉากชุด (Set Sqare) นอกจากใช้วัดมุมแล้วยังใช้ในการลอกเส้นในแนวตั้งฉากได้อย่างรวดเร็ว ( ม.ส.ธ. หน้า 152 )- ไม้ที ( T- Square : ใช้กำหนดแนวระดับของกระดาษหรือใช้ร่วมกับไม้ฉาก ในการลากเส้นแนวดิ่ง ( ม.ส.ธ. หน้า 154 )- เครื่องเขียนส่วนโค้งแบบปรับได้ ใช้ในการเขียนส่วนโค้งต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้วงเวียน
2.2.3 เครื่องมือตัดแต่ง ได้แก่ก. ประเภทใบมีด ได้แก่ ใบมีดโกน ( Prazon blade) และใบมีดตัดกระดาษ (Cutter) ใช้ตัดกระดาษและงานละเอียดได้อย่างดีมีลักษณะของใบมีดหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะกับวัสดุที่ต้องการตัดข. ประเภทกรไกร ได้แก่ กรรไกรและเครื่องตัดแบบแท่น

หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3
ความหมายและองค์ประกอบของการออกแบบวัสดุกราฟิกเรื่อง ความหมายของการออกแบบได้มีผู้มีให้กำจัดความไว้หลายแนวคิดดังนี้ เช่นการออกแบบถือการคิดค้น วางแผนเสนอแนะแนวทาง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ต่อสังคม ในลักษณะ การลงมือกระทำ อันเกิดจากความคิดที่มองเห็นต่อไปรวมถึงการเลือกวัสดุให้สอดคล้องกับกรรมวิธี รูปแบบ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบด้วย หรือการออกแบบหมายถึงการปรับปรุงรูปแบบของผลงานเดิมที่มีอยู่แล้ ทั้งในด้านความงาม และประโยชน์ใช้สอย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยนัย หมายถึงการคิดค้นสิ่งใหม่ ( Create new form ) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้ประโยชน์ใช้สอย และความงามเป็นอย่างดี ด้วยการนำส่วนต่างๆ ของการออกแบบมาใช้ ( Elements of Design ) เช่น เส้น สี พื้นผิว ฯลฯ สิ่งใหม่ที่ทำนี้เป็นสิ่งที่ยังมีใครทำขึ้นการออกแบบอีกนัยหนึ่ง เป็นการปรับปรุงสิ่งเก่าให้ดีขึ้น ในลักษณะที่มีความงามปละประโยชน์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นสรุปความหมายของการออกแบบการออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อประโยชน์และความงามด้วยการนำเอาส่วนประกอบของการ ออกแบบ ( Elements of Design) มาใช้รวมไปถึงการปรับปรุงสิ่งเก่าให้ดีขึ้น ในลักษณะเพื่อความงามและประโยชน์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

การออกแบบและการประกอบภาพ

การออกแบบและการประกอบภาพ
1. การออกแบบ (Designing)คำว่า ออกแบบ ( Design) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือคำ Design are ซึ่งหมายถึง กำหนดออกมาหรือขีดเขียนไว้, เป้าหมายที่แสดงออกมา การออกแบบเราจึงหมายถึงสิ่งที่อยู่ในความรู้สึก ความคิด อาจจะเป็นโครงการ รูปแบบ หรือแผนยังที่ศิลปินกำหนดขึ้น ด้วยการจัดท่าทาง ถ้อยคำ เส้น สี แสง รูปทรง โครงสร้าง ลักษณะพื้นผิว ตามหลักเกณฑ์ทางศิลปะ หรือพูดโดยสรุปได้ว่า “การออกแบบคือศิลปะของการสร้างสรรค์หน่วยต่างๆ อันน่าสนใจขึ้น”เราจะพบว่า สรรพสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดทำขึ้น นับจากสิ่งที่ง่ายที่สุดไปจนถึงสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนที่สุด ล้วนเกิดจากการออกแบบทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การออกแบบมีส่วนควบคุมระบบชีวิตของเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การคมนาคม วิทยาสตร์ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และศิลปวัฒนธรรม ดั้งนั้น ความสันติสุขและความสะดวกสบายทั้งหลาย จึงขึ้นอยู่กับการออกแบบของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบสังคมลักษณะใดก็ตามเราอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งประกอบไปด้วยการออกแบบ ในรูปลักษณะต่างๆ ทุกคนรู้จักการออกแบบ ใช้การออกแบบอยู่แทบตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน แต่มักไม่รู้สึกตัวว่าเราได้ออกแบบ และรู้จักการออกแบบ แม้ว่าการออกแบบจะเป็นศิลปะ อาจจะมีความยากง่ายลึกซึ้งผิดแปลกแตกต่างกัน แต่การออกแบบก็เป็นลักษณะเฉพาะตัวของนักออกแบบ (Designer) แต่ละคน ถ้าคนเราสนใจและพยายามเข้าใจในเรื่องการออกแบบให้ลึกซึ้งมากขึ้น จะช่วยให้เรามีความสามารถในการออกแบบ เข้าใจรูปแบบของผู้อื่น อาจจะมีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นประโยชน์ทั้งส่วนตนและผู้อื่น ตลอดทั้งสังคมรอบตัวเรา
2.ประเภทของการออกแบบ (Types of Design)งานออกแบบมีมากมายหลายชนิด อาจจะเริ่มจากสิ่งง่ายๆ ไปจนกระทั่งยุ่งยากสลับซับซ้อนที่สุด ก่อนออกแบบ ผู้ออกแบบจำต้องรู้และเข้าใจว่า เราจะออกแบบอะไร ลักษณะใดจึงจะได้ผลดีตามจุดมุ่งหมาย โดยสำนึกถึงหลักเกณฑ์ที่ “ยาลัส วิทรูวิอัส” สถาปนิคชาวโรมันได้เน้นไว้- พิจารณาถึงหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย (Utility or Function)- คิดถึงความมั่นคงหรือความมีชีวิตชีวา (Strength or Vitality)- คำนึงถึงความสวยงาม (Beauty or Appearance)

งานออกแบบประเภทต่างๆ คือ

งานออกแบบประเภทต่างๆ คือ
1. การออกแบบตกแต่ง (Decorative designs) ได้แก่การออกแบบเพื่อตกแต่งวัตถุต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณค่าทางความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอย อาจเป็นลวดลาย ภาพคน ภาพสัตว์ สัญลักษณ์ หรือแนวความคิดอย่างใดก็ได้ รวมทั้งงานตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน
2. การออกแบบทางการค้า (Commercial designs) ได้แก่งานออกแบบเพื่อบังเกิดผลด้านธุรกิจโฆษณา หรือความมุ่งหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและการบริโภค ตลอดทั้งการออกแบบด้านการพิมพ์ (Graphic Designs)
3. การออกแบบสร้างสรรค์ (Creative designs) คืองานออกแบบงานศิลปะแขนงต่างๆ ตามแนวความคิดและความรู้สึกเฉพาะคน มีการเลือกวัสดุที่นำมาประกอบงานพร้อมทั้งสีเทคนิคและวิธีการแปลกใหม่ ซึ่งเรียกว่าเป็นชมเป็นผู้ชมเปลี่ยนแปลง ริเริ่มหรือมีนวัตกรรมในทางศิลปะ (Art innovator) อยู่เสมอ
4. การออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial designs) เป็นงานออกแบบเกี่ยวกับการผลิตทางจำนวน (Mass production) เป็นงานออกแบบเกี่ยวกับการผลิตทางจำนวน (Mass production) นับจากสิ่งเล็กไปจนถึงพวกเครื่องจักรกล ตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนองความต้องการของตลาด
5. การออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural designs) ได้แก่งานออกแบบเกี่ยวกับแผนผังต่างๆ ตามหลักนิเวศวิทยา (Ecology) และการออกแบบผังเมือง (Urlan centre) เช่นศูนย์กลางของทางราชการ (Shopping centre) ศูนย์กลางสังคม (Social centre) ศูนย์การค้า (shopping centre) และอื่นๆ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายของชุมชนทุกด้าน๓.บ่อเกิดของความคิดในการออกแบบ (Source of Design Idea)นักออกแบบนอกจากจะมีความรู้ในรูปทรงสามมิติและเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว การจะผลิตงานการออกแบบได้ดีนั้น จำต้องมีความชำนาญในการสร้างสรรค์ มีความเข้าใจในการศึกษาหาแหล่งที่ทำให้ความบันดาลใจในการออกแบบ เพื่อนำมาประยุกต์ให้เกิดแบบอย่างใหม่ๆ ขึ้นในลักษณะเฉพาะตน แหล่งที่มาของการออกแบบ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดให้มีแนวความคิดสร้างสรรค์มี ๓ ทางคือ๑. จากรูปทรงตามธรรมชาติ (Nature forms) มนุษย์รู้จักนำแบบอย่างทางธรราชาติมาใช้ในการออกแบบกันมาช้านานแล้ว ยึดถือธรรมชาติเป็นครูทั้งด้านการจัดเส้น สี รูปทรง ผัง พื้นที่ จังหวะ แล้วนำมาดัดแปลงแต่งเติมให้งดงามกว่า หรือตัดทอนออกไปได้รูปแบบที่ง่ายกว่าธรรมชาติ เช่น รูปคน สัตว์ พืช เป็นต้น๒. จากลวดลายทางประวัติศาสตร์ (Historic Ornaments) ในการออกแบบลวดลายตกแต่ง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมนิยมของชาติไว้ ผู้ออกแบบควรศึกษาหาความรู้จากแบบอย่างลวดลายประดับสมัยต่างๆ ลวดลายปั้นปูน ลายสลักไม้ ลายสลักหิน ลายสลักดุนนูนบนแผ่นโลหะ ภาพเขียน ลายประดับมุก ฯลฯ เพื่อให้ทราบลักษณะแท้จริงของลวดลายสมัยต่างๆ เช่น ลายสกุลช่างเชียงแสน สุโขทัย ลานนาไทย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ อาจเป็นลายเครือเถาลายกระหนก ภาพคนและสัตว์ในนิยาย แล้วนำประยุกต์ให้เหมาะสมกับสมัยนิยม โดยยังรักษาเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้ปรากฏ อาจจะเป็นลายประดับอาคาร ประดับเครื่องเรือน ลวดลายผ้าและหัตกรรมอื่นๆ๓. จากรูปแบบเรขาคณิต (Geometric Patterns) หมายถึงการนำเอารูปทรงพื้นฐาน หรือรูปแบบทางเรขาคณิต ซึ่งประกอบด้วยรูปวงกลม วงรี สามเหลี่ยม สีเหลี่ยมจัตุรัส สีเหลี่ยมผืนผ้า รูปกรวย รูปทรงกระบอก รวมทั้งรูปทรงอิสระอื่นๆ มาจัดเป็นองค์ประกอบแห่งศิลปะอย่างงดงาม ทั้งในทางวิจิตรศิลป์ มัณฑนศิลป์ หรือประยุกต์ศิลป์ ซึ่งเรียกว่า “การออกแบบนามธรรม” ดังที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป๔. ข้อควรคำนึงในการออกแบบผู้ออกแบบหรือนักออกแบบ (Designer) จะออกแบบในลักษณะใดหรือประเภทใดก็ตาม ก่อนที่จะออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. วัสดุ (Materials)วัสดุที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน บางสิ่งเหนียวเปราะแข็งแรง โปร่งใส หนัก-เบา ฯลฯ เพื่อให้การออกแบบไดผลดี เราควรจะเลือกวัสดุให้เหมาะสม เช่น สร้างบ้าน จะใช้ไม้ ดินเหนียว เหล็กกล้า หรือกระจก จะออกแบบการผลิต ควรใช้กระดาษวาดเขียนผนึกกับผ้าดินย่อมดีกว่าการใช้ไม้ เหล็ก หรือตะกั่ว เป็นต้น
2. หน้าที่ในการนำไปใช้ (Function)เมื่อทราบถึงวัสดุที่จะใช้ในการออกแบบแล้ว ควรทราบถึงหน้าที่ของมันด้วย ทั้งนี้เราพิจารณาถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุแต่ละอย่าง เพื่อจะใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงานนั้นๆวัสดุกับหน้าที่การใช้งาน มีความสัมพันธ์กันมาก เมื่อเราพิจารณาหน้าที่ในการนำไปใช้ เราสามารถเลือกวัสดุได้เหมาะสมกว่า เช่นสร้างประตูห้องน้ำ หากใช้ไม้ย่อมผุพังได้ง่าย เพราะถูกน้ำย่อย หากเปลี่ยนเป็นสังกะสี หรือครอบด้วยสังกะสี ประตูห้องน้ำย่อมใช้ทนทานได้นานกว่า
3. ลักษณะเฉพาะแบบ (Style)หมายถึงการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลมาทางวัฒนธรรมที่ตกทอดไว้อาจเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่อารยธรรมดีมาก่อน ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาตินั้นด้วย เช่น สถาปัตยกรรมไทยมีทรงจั่วโดยทั่วไป จีนมีทรงเรือสำเภากระเบื้องลูกฟูก ทางตะวันตกยังคงรักษาไว้ซึ่งศิลปะแบบโกธิค(Gothic Art) เป็นต้น
4. สมัยนิยม (Fashion)ในการออกแบบนั้น บางครั้งต้องพิจารณาถึงความนิยมในยุคสมัยด้วยเพราะสมัยนิยมเป็นเรื่องของจิตใจ บางสิ่งเป็นของดีงาม มีคุณค่าสูง แต่หมดยุคหมดสมัยไปแล้ว ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม นักออกแบบจำเป็นที่ต้องประยุกต์งานออกแบบให้เหมาะกับความนิยมในสังคม ไม่เฉพาะแต่พิจารณาความเหมาะสมเรื่องวัสดุ และหน้าที่การใช้งานเท่านั้น
5. ความแปลกใหม่ (Novelty)ความแปลกใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบมาก บางทีทำลายกฏเกณฑ์ต่างๆ ดังที่กล่าวมากแล้วทั้งหมดด้วยซ้ำไป ความแปลกใหม่ เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจได้ทันที ทั้งๆ ที่เรายังไม่ทราบว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร จากอิทธิพลของความแปลกใหม่ ทำให้เราได้พบเห็นลักษณะรูปร่างแปลกๆ ในโลกแห่งการออกแบบในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ยังมีราคาสูงกว่าแทนทั้งสิ้น เช่น แก้วน้ำทรงแปลกๆ ขวดสุรา ขวดน้ำหอม โคมไฟ ร่ม ปากกา นาฬิกา ฯลฯ และถ้าสิ่งแปลกใหม่ในการออกแบบนั้นมีคุณค่าและประโยชน์ใช้สอยมีมากด้วยแล้ว จะยืนยงอยู่ได้นานและสูงราคาไปด้วย เราสามารถสร้างความแปลกใหม่ได้คือ
(1) สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ผู้ออกแบบสามารพคิดหรือคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาเพื่อเร้าความสนใจ ผู้พบเห็นได้
(2) การดัดแปลงของเดิมให้แปลกใหม่ หมายถึงการเติมแต่งดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้แปลกใหม่ยิ่งขึ้น
(3) ความแปลกใหม่จากของเก่าดั้งเดิม ในกรณีที่เรามีของเก่าที่เก็บไว้นาน หากนำมาให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น ก็ถือเป็นความแปลกใหม่ ทำให้ของนั้นมีคุณค่าสูงขึ้นได้ด้วย เหตุนี้จึงมีนักสะสมของเก่าเกิดขึ้นมาก เช่น การสะสมแสตมป์ สะสมไม้ขีดไฟ พระเครื่อง ฯลฯ
(4) เกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาชวนเชื่อเป็นจิตวิทยาอันหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดทัศนคติในของธรรมดาเป็นของแปลกใหม่ได้ แต่บางครั้งก็เป็นความแลกใหม่ชั่วคราวเท่านั้น
(5) เกิดจากการเปรียบเทียบในระหว่างจำนวน นั้นคือหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในสิ่งอื่นที่มีจำนวนมากกว่า จะกลายเป็นของแปลกใหม่ได้เช่นกัน เช่น แกะมีสีขาว ถ้าแกะออกมาเป็นสีดำในกลุ่มฝูงแกะก็กลายเป็นของแปลกได้
5. องค์ประกอบในการออกแบบ (Element of Design)ในการออกแบบ เราอาจจะเลือกใช้สิ่งต่างๆ เข้ามาประกอบกันตามที่ผู้ออกแบบต้องการ และเห็นว่าเหมาะสม เพราะองค์ประกอบแต่ละประเภทนั้นต่างมีความสำคัญและมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเองอยู่แล้ว องค์ประกอบต่างๆ ในกาออกแบบคือ1) เส้น (Line)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอับดับแรกสุดที่จะประกอบเป็นรูปร่างหรือขอบเขตและเป็นรากฐานของศิลปะทุกประเภท เส้นมีหลายลักษณะ แต่ละลักษณะให้ความหมายและความรู้สึกต่างกัน คือ1
. เส้นตรง ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความมั่นคง แข็งแรง ตรงไปตรงมา ความว่าย ความสง่างาม และแสดงความสูงหรือทิศทางในแนวตั้ง
2. เส้นระดับหรือเส้นราบ ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความสงบ ความนิ่งเฉย ความกว้างขวาง และชี้ทิศทางในแนวนอน
3. เส้นเฉียงหรือเส้นทแยง ให้ความรู้สึกในแง่ความกว้าง แสดงความเคลื่อนไหวแสดงความต้านทาน ชี้ทิศทางลักษณะทแยง
4. เส้นโค้ง เส้นคด ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แสดงความนุ่มนวล อ่อนหวานสวยงาม
5. เส้นประ มักจะใช้เพื่อให้เกิดความรู้ตื่นเต้น แสดงการเคลื่อนที่ไม่มีจุดจบ ถ้าใช้มากไปจะทำให้ยุ่งยากซับซ้อน
6. เส้นหักหรือเส้นซิกแซก แสดงความเคลื่อนไหว รวดเร็ว ความกระด้างเส้นเป็นโครงร่างของการออกแบบ เป็นงานศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ภาพลายเส้น ภาพร่าง ภาพการ์ตูน การใช้เส้นหนัก-เบา เพื่อแสดงความตื้นลึกของภาพ เป็นต้น
2) รูปร่าง (Shape)หมายถึงเส้นรอบนอก และเส้นอันเป็นส่วนโค้งส่วนเว้าของสิ่งต่างๆ เป็นเนื้อที่ในของเขตที่เกิดจากเส้น เช่น รูปวงกลม รูปทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างในลักษณะต่างๆ รูปร่างมีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาวเท่านั้น คือมีลักษณะเป็น 2 มิติ3) รูปทรง (Form)รูปทรงเป็นปริมาตรอันเกิดจากเส้น มีความกว้าง ความยาวและความลึก (ความหนาหรือความสูง) จึงมีลักษณะเป็น 3 มิติ รูปทรงที่ใช้ในการออกแบบมี 3 ลักษณะคือ
(1) รูปทรงมูลฐาน (Basic form) เป็นรูปทรงที่ได้จากเรขาคณิต อาจจะวางเรียงกันหรือทับกัน ทำให้เกิดรูปทรงใหม่อีกหลายแบบ(2) รูปทรงธรรมชาติ (Nature form) เป็นการนำรูปทรงที่มีตามธรรมชาติมาดัดแปลง ให้เหมาะสมกลมกลืนกับการออกแบบแต่ละเรื่องเป็นแบบที่ใกล้ธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้
(3) รูปทรงอิสระ แบบนี้ไม้มีทรงที่แน่นอน อาจจะได้เค้าโครงมาจากทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงธรรมชาติก็ได้
(4) มวล (Mass)หมายถึงสิ่งต่างๆที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน มีลักษณะเป็นรูปร่าง มีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาด กินเนื้อที่ในอากาศตามที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น เช่น การปั้น แกะสลัก รูปนั้นอาจจะกลวงหรือตัน หรือเป็นแท่งในลักษณะต่างๆ
(5) ช่องไฟ (Space)หมายถึงช่องว่างหรือที่ว่าง เป็นการวางระยะภาพในและภายนอกในการประกอบภาพ เพื่อให้เกิดความเด่นและมีสภาวะสมดุลย์ ในกรณีที่เป็นงานศิลปะด้านจิตรกรรม เช่น การเขียนลายไทย ตัวลายเราถือเป็น Positive space ส่วนฉากหลังหรือพื้นหลังถือเป็น Negative space6) คุณค่า (Value) หมายถึงคุณค่าหนักเบาที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกได้ทั้งด้านมิติและการเห็นจริงเห็นจังโดยทั่วไปใช้คู่กับแสงเงา แสงจะเป็นตัวหลักในการพิจารณาคุณค่า ซึ่งคุณค่าที่มีความงามทางศิลปะนั้นแสงจะทำมุมประมาณ 48๐ กับวัตถุแสงเงา (Tone) จะช่วยให้มองเห็นผิววัตถุ เรียบ ขรุขระ หยาบ ตื้น ลึก ได้
(7) ลักษณะพื้นผิว (Texture)เป็นสิ่งที่จะช่วยแสดงออกถึงความรู้สึกและความเป็นจริงของวัตถุ เช่นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกถึงความกระด้าง แข็งแรงผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกระคายเคือง สาก ไม่น่าจับต้องผิวละเอียด ให้ความรู้สึกนิ่มนวล อ่อนไหววัตถุอย่างเดียวกัน อาจให้ความรู้สึกได้หลายแนว ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิว พวกเรารู้จักดัดแปลง
(8) สมดุล (Balance)เป็นความรู้สึกพอดี เหมาะสม ในการออกแบบหรือประกอบภาพทั้งด้านรูปร่างรูปทรง จังหวะที่ว่าง และการใช้สี สมดุลมี 2ลักษณะก. ซ้ายขวาเท่ากัน บางทีเราเรียกเป็น (Formal balance) เป็นลักษณะสมดุลย์ที่เท่ากันหรือเหมือนกันทั้งสองข้าง เราพบเห็นบ่อยครั้งในธรรมชาติ เช่น ถ้ามี 2 สิ่งก็จัดไว้คนละข้าง ถ้ามี 3สิ่ง นำไว้ตรงกลางอีก 1 พระปรางค์วัดอรุณใช้องค์ใหญ่ไว้กลางแล้ว 4 องค์เล็ก เอาไว้ข้างละ2 องค์ที่เท่ากันทั้งซ้ายขวาข. ซ้ายขวาไม่เท่ากัน (Assymmetrical Balance) บางทีเราเรียกเป็น Informal balance เป็นลักษณะที่เปรียบเทียบซ้าย-ขวา ไม่เท่ากัน เพราะลักษณะแตกต่างกัน แต่ดูโดยส่วนรวมทั้งหมดแล้วให้ความรู้สึกเท่ากัน แบบนี้น่าสนใจกว่าแบบแรกเพราะดูแล้วไม่เบื่อ การจัดก็อิสระกว่า
(9) สี (Colors)
สีเป็นส่วนมูลฐานในการออกแบบ เป็นสิ่งที่ประทับใจอันดับแรกที่จะช่วยให้คนดูสนใจงานออกแบบ หรืองานศิลปะทั่ว ๆ ไป นอกจากจะเร้าความสนใจ ให้ความสวยงาม ให้ความหมาย ข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วสียังช่วยทำให้การออกแบบมีสมดุลได้อีกด้วย

ทฤษฏีสี

ทฤษฏีสี
1. สี (Color)สีคือลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่ตา ให้เห็นเป็น แดง ดำ เขียว เหลือง ฯลฯ การที่ตาจะมองเห็นวัตถุเป็นสีใดก็ต่อเมื่อแสงจากวัตถุนั้นสะท้อนมาเข้าตา ซึ่งอาจจะเป็นแสงที่เปล่งออกมาเอง หรือแสงจากที่อื่นมากระทบวัตถุแสงสะท้อนสีก็ได้ ถ้าเราให้แสงส่องผ่านแท่งแก้วสามเหลื่ยมแล้วนำฉากมารับ จะปรากฏเป็นสีขึ้นมา 7 สี เรียกว่าสเปคครับ (Spectrum) คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีทั้งเจ็ด บางทีตาอาจเห็นได้ชัดเจนเพียง 5 สีคือ สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง และสีแดง
2. ทฤษฏีของสี (Theory of color)หลังจากที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบสีในแสงสว่างแล้วได้เกิดทฤษฏีสีขึ้นมาโดยที่นักเคมีและนักศิลปะตกลงกันในเรื่องลักษณะแท่งการเกิดสี 2 ลักษณะคือการทำขึ้นเป็นสีต่างๆ กับการผสมกันระหว่างสี เพื่อให้เกิดอีกสีหนึ่ง ศิลปินได้มีการใช้สีต่างๆ และมีการค้นคว้าการใช้สีในทางศิลปะไว้มาก จนเกิดเป็นทฤษฏีสีอีกหลายทฤษฏี แต่ที่นิยมกันมากมี 2 ทฤษฏีของแปรงหรือระบบของแปรง (Prang System) และทฤษฏีหรือระบบของมัลเชล (Munsell System) ทฤษฏีทั่งสองมีส่วนคล้ายคลึงกัน และนำมาปฏิบัติได้ผลดีเป็นอย่างมากระบบสีของแปรง (Prang System)กำหนดแม่สีไว้ 3 สีคือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้งสามสามารถผสมเป็นสีอื่นได้อีกมากมาย เมื่อนำเอาแม่สีทั้งสามผสมกันในอัตราหรือปริมาณที่เท่ากัน จะเกิดเป็นสีกลาง (Neutral Color) ขึ้น สีกลางดังกล่าวถ้านำไปผสมกับสีอื่นๆ จะเกิดเป็นสีแก่หรือสีเข้มขึ้นได้เช่นเดียวกับการนำสีขาวไปผสมกับสีอื่นๆ ก็จะเกิดเป็นสีที่อ่อนจางลง มีผู้ทดลองใช้สีเพียง 3 สี เขียนภาพ ก็ปรากฏว่าได้ผล โดยการผสมสีเป็นสีกลางไว้ก่อน เมื่อต้องการจะระบายส่วนที่เป็นเงาก็ใช้สีกลางนั้นผสมกันสีแต่ละสีที่ต้องการได้ตามระบบของแปรงนี้ ทำให้เกิดการสร้างวงล้อสีธรรมชาติขึ้น (Color wheel) ด้วยการแบ่งวงกลมเป็นแฉกๆ คือ 6 แฉก 12 แฉก และ 24 แฉก แต่ละแฉกในวงกลมก็เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแม่สีระบบของมัลเซลล์ (Munsell System)กำหนดแม่สีไว้ 5 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง เมื่อนำสีทั้ง ห้า มาผสมกันเข้าจะได้สีกลาง (Neutral color) เช่นเดียวกันระบบของแปรงแต่การผสมสีต่อๆ ไปนั้น การผสมครั้งแรกได้ เป็น 10 สี และต่อไปได้เป็น 20 สี และ 40 สี นอกจากนั้นยังจัดคุณค่าของสีไว้อีกสีละ 9 ระยะ ตั้งแต่อ่อนที่สุดถึงแก่ที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อเอาสีที่ผสมไว้ถึง 40 สี มาวัดคุณค่าเป็นสีละ 9 ระยะ ก็จะได้สีมากถึง 360 สี ซึ่งระบบสีของแปรงก็อาจทำได้ แต่ต้องผสมสีกันหลายครั้ง การผสมเช่นนั้นอาจไม่ได้คุณสมบัติแท้จริงก็ได้ เมื่อระบบของมันเชลล์ผสมสีได้มากมายเช่นนี้ ก็เลยคิดชื่อสีเป็นตัวเลข เพื่อไม่ต้องตั้งชื่อถึง 300 กว่าชื่อ แต่ก็ยังมีผู้มาตั้งชื่อขึ้นภายหลัง แล้วใช้ตัวเลขกำกับไว้ด้วยเช่น บริษัทที่ทำสีกระป๋อง ทั้งสีน้ำและสีน้ำมัน จำหน่ายในปัจจุบัน ก็ใช้ตามระบบสีของมันเชลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมากมิติของสี (The Dimension of Color)คุณสมบัติของสีตามระบบของทฤษฏีสีสากลนั้น กำหนดไว้ 3 ประการ(1) สีแท้ (Hue)(2) คุณค่าของสี (Value)(3) ความเข้มของสี (Intensity)สีแท้ (Hue)เป็นมิติแรกของสีและเป็นชื่อของสีต่างๆ เช่น แดง น้ำเงิน เขียว หรือสีทุกชนิดที่ไม่ได้ผสมกับสีอื่นเลย ถ้าเราเอาสีแท้สองสีผสมกัน ก็จะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้น เช่น แดงผสมกับน้ำเงิน จะได้เป็นสีม่วง สีน้ำเงินผสมกับสีเขียว ได้เป็นสีน้ำเงินเขียว ซึ่งถ้าเราเข้าใจในเรื่องการผสมสีเป็นอย่างดี จะสามารถผสมสีได้อย่างสวยงาม การผสมดังกล่าวจะได้สีเป็นขั้นต่างๆ เป็นอันดับขั้นของสี (Classes of Color) แบ่งเป็น 5 ขั้นคือ
1. สีขั้นต้นหรือแม่สี (Primary Color)
(1) สีน้ำเงินแก่ (Prussian blue) หรือ blue
(2) สีแดงชาด (Crimson Lake) หรือ red
(3) สีเหลือง (Camboge Tint) หรือ Yellow
2. สีขั้นที่สอง (Hinary of Secondary Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นต้น คือ
(1) ส้ม (Orange) ได้จาก แดง เหลือง
(2) เขียว (Green) ได้จากน้ำเงิน เหลือง
(3) ม่วง (Violet) ได้จาก น้ำเงิน แดง
3. สีขั้นที่สาม (Intermediate Color)เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่สอง กับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้เคียงกันคือ
(1) เหลืองแกมเขียว (เหลือง + เขียว)
(2) เหลืองแกมส้ม (เหลือง + ส้ม)(3) แดงแกมส้ม (แดง + ส้ม)
(4) แดงแกมม่วง (แดง + ม่วง)
(5) น้ำเงินแกมม่วง (น้ำเงิน + ม่วง)
(6) น้ำเงินแกมเขียว (น้ำเงิน + เขียว)

สีทุกสีนอกจากที่กล่าวไว้ในวงล้อสี (Color wheel

สีทุกสีนอกจากที่กล่าวไว้ในวงล้อสี (Color wheel)
ยังมีสีขาวและดำซึ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ ถ้าเรานำสีขาวหรือสีดำผสมกับสีแท้ เราจะได้น้ำหนัก (Value) ของสีแตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่างกันคือ
(1) สีแท้ผสมสีขาว เรียกว่า Tint เมื่อนำสีขาวไปผสมกับสีใดก็จะช่วยเพิ่มขนาดของสีนั้น (ในความรู้สึก) ให้ดูใหญ่ขึ้น เพราะสีขาวช่วยสะท้อนแสง
(2) สีดำ ถ้าไปผสมกับสีใดจะช่วยลดขนาดของสีนั้นให้รู้สึกเล็กลง เพราะสีดำดูดซึมแสงของสีนั้น๓. สีเทา ถ้านำไปผสมกับสีขาว เรียกว่า Tone ของสีซึ่งมีอยู่ประมาณ ๗-๙ ระดับ เมื่อนำสีเทาไปผสมสีใดจะทำให้สีนั้นรู้สึกหม่นลงคุณค่าสีจึงมีความหมายมากในการออกแบบ เพราะช่วยให้งานมีคุณค่าหรือหมดคุณค่าได้ นอกจากจะใช้งานศิลปะทั่วไปแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย เช่น การทาสีห้อง การใช้สีสำหรับเครื่องแต่งกาย คนตัวเล็กอาจใช้สีจาง จะดูโตขึ้น หรือถ้าโตมาก อ้วนมาก การใช้สีเข้มจะช่วยให้ดูเล็กหรือผอมลงได้ เป็นต้นความเข้มของสี (Intenssity)ความเข้มหรือความเด่นชัด เป็นมิติที่สามของสี ที่แสดงถึงความเด่น ความหนักแน่น ความสดใส หรือเป็นสีที่ห่างจากสีที่เป็นกลางเพียงไร เป็นเครื่องชี้ว่าสีนั้นห่างจากสีขาวหรือสีกลางเท่าไรสีที่มีความเด่นชัดหรือความเข้มมาก จะสะดุดตาเรียกร้องความสนใจ ในขณะเดียวกัน สีที่มีความเด่นชัดหรือความเข้มน้อย จะให้ความรู้สึกละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ความเข้มหรือความเด่นของสีอาจได้จากการผสมสี คือใช้สีที่เป็นกลาง หรือสีที่ตรงกันข้ามผสมกัน ซึ่งนิยมพูดกันทั่วไปว่า ค่าสีให้เป็นกลาง ความเด่นชัดของสีจะลดลง แต่ถ้าใช้วีที่มีความเด่นชัดล้อมรอบด้วยสีหม่นก็จะทำให้สีนั้นมีความเด่นชัดยิ่งขึ้นความเด่นชัดหรือความเข้มของสี เรียกเรียกอีอย่างหนึ่งว่าโครมา (Chroma) นอกจากนั้นก็แสดงถึงความมืด ความสว่างของสีแล้ว ยังให้ความรู้สึกใกล้ไกลอีกด้วย การจะทำให้สีมีความเข้มหรือความเด่นชัดต่างกัน อาจทำได้หลายวิธี๑. การนำเอาสีตรงข้นมาระบายใกล้ๆ กัน จะช่วยส่งเสริมให้สีทั้งสองมีความเข้มมากขึ้น๒. การระบายสีที่ต้องการบนพื้นสีเทาหรือสีดำ จะทำให้สีนั้นมีความเข้มยิ่งขึ้น
๓. ถ้านำสีที่ต้องการระบายพื้นสีขาว จะทะให้สีนั้นลดลงความเข้มลง เช่น สีเหลือง ระบายบนพื้นสีขาว แต่ถ้าระบายบนพื้นสีดำ สีจะเข้มขึ้น
๔. ถ้าต้องการลดความเข้มของสี อาจใช้วิธีผสมสีดำหรือสีตรงข้ามลงในสีนั้นเล็กน้อยสีจะลดความเข้มข้นลงได้
8. ประเภทของสีเรื่องเกี่ยวกับสีไม่ใช่เกี่ยวข้องเฉพาะศิลปินเท่านั้น ยังมีบุคคลอื่นที่นำสีไปใช้อีกมากตามทฤษฏีของสีหรือลักษณะของแม่สี เมื่อพิจารณาจากการนำไปใช้แล้ว แบ่งประเภทของสีได้ดั้งนี้
1. สีของช่างเขียนหรือศิลปิน (Artist) สีช่างเขียนหรือวัตถุธาตุ เป็นซึ่งจิตรกรใช้ในการเขียนภาพ ระบายภาพ สีทาบ้าน อาคาร หรือสีที่ใช้ในการออกแบบตกแต่งทั่วๆ ไปเหมาะสำหรับงานด้านวิจิตรศิลป์ และนะกออกแบบ มีแม่สี 3 สี คือก. สีแดง (Crimson Lake) หรือ Rodข. สีเหลือง (Cemboge Yellow) หรือ Yellowค. สีน้ำเงิน ( Prussian blue) หรือ Blueนอกจากนี้ยังมีสีต่างๆ ซึ่งเกิดจากการผสม เป็นสีขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ซึ่งจัดไว้ในวงล้อของสี ดังกล่าวมาแล้ว
2. สีทางวิทยาศาสตร์ (Spectrum Primaries) สีทางวิทยาศาสตร์คือสีของแสง อาจเป็นแสงอาทิตย์ ไฟฟ้า เทียน หรือแสงจากสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คิดประดิษฐ์ขึ้น มีแม่สี 3 สี ซึ่งถ้านำมาประสานกันจะเกิดเป็นสีขาว แม่สีทางวิทยาศาสตร์คือก. สีแดง (Vermillion red) หรือ Redข. สีเขียว (Emerald Green) Greenค. สีน้ำเงิน (Blue)การประสานกันของแสงสีต่างๆ จะทำให้เกิดสีใหม่ขึ้นคือBlue + Green = YellowBlue + Red = VioletRed + Green = Orangeทางด้านจิตวิทยายอมรับกันว่าสีแต่ละสีมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ นักออกแบบด้านต่างๆ ได้นำเอาข้อยอมรับเกี่ยวกับอิทธิพลของสีมาใช้ในการออกแบบงานด้านต่างๆ มากมายสีแดง ให้ความรู้สึกร้อนแรง และตื่นเต้นสีเหลือง ให้ความรู้สึกสว่าง ความสุข ทำให้จิตใจสดใสสีเขียว ให้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย และสงบสันติสีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกเย็นสบาย สงบเงียบ เคร่งขรึมและปลอดภัยสีดำ ให้ความรูสึกเศร้าใจ ลึกลับและหนักแน่นสีขาว ให้ความรูสึกสะอาด ผุดผ่อง ความบริสุทธิ์สดใส
3. วรรณของสีสีอุ่น (Warm Color)บางทีเราเรียกเป็นสีร้อน หมายถึงสีที่แสดงความอบอุ่นหรือร้อน ให้ความรู้สึกอบอุ่นแจ่มใส รุนแรง ให้ความสว่าง การนำเอาสีอุ่นมาแต่งบ้าน จะช่วยให้บ้านสว่างขึ้น และให้ความรู้สึกใกล้เข้ามา สีอุ่นจะมีอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสีคือให้สีที่ออกมาทางสีแดง สีเหลือง เช่น สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง

สีเย็น(Cool Color

สีเย็น(Cool Color)
หมายถึงสีที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ เรียบ และดูถดถอยออกไป การนำเอาสีเย็นมาตกแต่งบ้าน เช่น ทาสีเพดานด้วยสีฟ้าอ่อน เขียวอ่อน จะให้ความรู้สึกว่าเพดานสูงขึ้นไป สีเย็นจะอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสี เป็นสีที่ออมาทางสีน้ำเงิน สีเขียว เช่น สีเหลืองเขียว สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง สีม่วงเราจะพบว่าสีเหลือง (Yellow) และสีม่วง (Violet) อนุโลมให้เข้าอยู่ได้ทั้งสีอุ่นและสีเย็นสีเอกรงค์ (Monochrome)หมายถึงการใช้สีเพียงสีเดียว เพื่อแสดงออกถึงน้ำหนักของสีอาจจะใช้สีดำ สีเทา หรือสีขาวผสมลงในสีใดหนึ่ง ให้น้ำหนักสีแตกต่างกันในลักษณะใกล้ไกล หรืออาจจะให้สีแท้หนึ่งสีผสมกับสีอื่นอีก 2-3 สี ที่สัมพันธ์กัน (สีที่เรียงติดกันในวงล้อสี) ระบายลงไปในภาพมีความกลมกลืนอย่างลึกซึ้ง ดูงดงาม เช่นต้องการให้สีน้ำเงินเป็นเอกรงค์ เราก็นำสีที่เรียงจากสีน้ำเงินคือ สีน้ำเงินเขียว สีเขียว สีเหลืองเขียว สีเหลือง สีใดสีหนึ่ง หรือหลายสีนำผสมสีน้ำเงิน แต่รวมแล้วไม่เกิน 6 สี ตามวงล้อของสี ถ้านำมาถึง 7 สี จะกลายเป็นสีตัดกัน นำมาผสมไม่ได้ เพียงใช้เพียง 2-3 สี เมื่อระบายลงในภาพแล้วจะได้ภาพที่กลมกลืน สวยงามการใช้สีเอกรงค์ได้รับความนิยมมากในระยะแรกๆ และเป็นการใช้สีที่ยากมากด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับน้ำหนักใกล้ไกล ศิลปินตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น นิยมเขียนสีเดียวมาก ดังจะพบจากจิตรกรของโดยทั่วไป ปัจจุบันนี้การใช้สีเอกรงค์ยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยเฉพาะด้านการออกแบบ การตกแต่ง หรือจิตรกรรมที่เกี่ยวกับจินตนาการโดยเฉพาะสีกลมกลืน (Haemony)สีกลมกลืนคือสีที่ประสาน และอยู่ใกล้เคียงกันในวงล้อ เช่น พวกยึดสีใดเป็นหลัก และใช้สีข้างใดข้างหนึ่ง 2-3 สี เขียนหรือระบายภาพด้วยกัน จะได้มีที่กลมกลืนงดงามการใช้สีกลมกลืนอาจใช้สีข้างใดข้างกนึ่ง หรือใช้ทั้งสองข้างจากวงล้อสีก็ได้นับรวมแล้วต้องไม่เกิน 6 สี เช่น “สีแดง” กลมกลืนกับสี(แดงม่วง สีม่วง สีน้ำเงิน คือสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเขียว) หรือ (สีแดงม่วง สีม่วง วีแดงส้ม สีส้ม)สีตรงข้าม (Complementary)สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน (Contrast) บางครั้งเรียกเป็นสีคู่ปฏิปักษ์ หมายถึงสีตรงข้ามกันในวงล้อสีมีทั้งหมด 6 คู่ สีตรงกันข้ามนอกจากจะอยู่ในต่ำแหน่งตรงกันข้ามแล้วยังมีความเข้มเท่าๆ กัน ให้ความรู้สึกรุนแรงและตัดกันเท่าๆ กัน เราจึงไม่นิยมใช้ด้วยกันในเปอร์เซนต์สีที่เท่าเทียมกัน เพราะเป็นการข่มสีอย่างรุ่นแรง เช่น เสื้อสีแดง กางเกงสีเขียว หรือเสื้อสีม่วง กระโปรงสีเหลือง เป็นต้น การใช้สีตรงกันข้าม มีวิธีใช้คือ
1. ระบายสีตรงกันข้ามกันในเนื้อที่หรือพื้นที่ต่างกัน อาจใช้สีหนึ่งประมาณ 75% หรือ 80% อีกสีหนึ่ง 25% หรือ 20%
2. ระบายสีตรงกันข้ามในพื้นที่เท่ากัน แต่ลดความเข้มของสีตรงข้ามกันเสีย สีหนึ่งจะผสมด้วยสีดำ สีเทา หรือ สีขาวก็ได้
3. ระบายสีตรงข้ามคู่นั้นในบริเวณพื้นที่เท่าๆ กัน แต่ระหว่างรูปร่างตรงรอยต่อของสีตรงข้ามคู่นั้น ให้ใช้สีดำ สีเทา หรือสีขาว ลดความเข้มของสี จะช่วยให้สีไม่ตัดกันจนเกินไป จะได้ภาพที่น่าดูยิ่งขึ้น
4. ใช้วิธีลดความเข้มของสีใดหนึ่งที่เป็นสีตรงข้าม อาจใช้ลักษณะผิว (Texture) ของกรดาษ ลักษณะของสีพื้น (Background) หรือวิธีอื่นๆบางครั้งการใช้สีตรงข้ามกันทำได้ยาก เราอาจเลี่ยงมาใช้สีใกล้เคียงของสีตรงข้ามได้ ซึ่งจะให้ผลดีกว่า โดยเฉพาะงานด้านวิจิตรศิลป์ทั่วไป สีใกล้เคียงของสีตรงข้าม เช่นสีแดง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-เขียวสีเหลือง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีแดง-ม่วงสีน้ำเงิน มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-ม่วงสีส้ม มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-ม่วงสีเขียว มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีแดง-ส้มสีม่วง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีเหลือง-เขียว

หน่วยที่ 13การพิมพ์ (PRINTING)


หน่วยที่ 13การพิมพ์ (PRINTING)
การพิมพ์ คือการจำลองต้นฉบับหนังสือหรือภาพออกเป็นจำนวนมากๆ เหมือนๆ กันบนวัตถุที่เป็นพื้นแบน หรือใกล้เคียงกับพื้นแบน ด้วยการใช้เครื่องมือกล การจำลองโดยการวาดซ้ำ ๆ ให้เหมือนกันหลายๆ ภาพ การหล่อ การปั้น ไม่เรียกว่าการพิมพ์ เพราะไม่เป็นการใช้เครื่องมือกลหลักการในการพิมพ์ คือการฉายหมึกลงบนผิวแม่พิมพ์ หรือกดแม่พิมพ์ลงบนผิววัตถุที่จะพิมพ์ ก็จะได้สิ่งพิมพ์ที่ต้องการวิธีพิมพ์ กรรมวิธีในการพิมพ์ แบ่งออกได้ 5 วิธี โดยยึดเอาความแตกต่างของแม่พิมพ์เป็นหลักในการแบ่ง ดังนี้
1. LETTER PRESS PRINTING
2. PLANOGRAPHIC PRINTING
3. GRAVURE OR INTAGLIO
4. PHOTOGRAPHIC PRINTING
5. STENCILL1. LETTER PRESS PRINTING (แม่พิมพ์นูน)ลักษณะของการพิมพ์แบบนี้คือ แม่พิมพ์ส่วนที่ใช้พิมพ์จะนูนสูงขึ้นมา ส่วนที่ไม่ใช้พิมพ์จะลดต่ำลงไป เมื่อเอาหมึกทาบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดส่วนที่นูนสูงขึ้นมาเท่านั้น เมื่อใช้แรงกด กดกระดาษลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดกระดาษเป็นสิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์จากแม่พิมพ์นูน อาจแบ่งออกได้ 2 ลักษณะคือ
1.1 Platen Press เป็นแท่นพิมพ์ที่แม่พิมพ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบและแรงกดก็เป็นพื้นที่ราบ เช่นเดียวกับ George P.Gordon แห่งนิวยอร์กเป็นผู้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1858 โดยเอาตัวพิมพ์ (ซึ่งอาจเป็นตัวพิมพ์หล่อ บล็อกไม้ โลหะหรือยาง) เรียงอัดกันไว้ในกรอบแล้วยกขึ้นตั้งบนพื้นแท่นพิมพ์ ซึ่งมีที่ยึดจับตั้งไว้ในกรอบแล้วยกขั้นตั้งบนพื้นแท่นพิมพ์ ซึ่งมีที่ยึดจับไว้ในทางดิ่ง แผ่นแรงกดเป็นแผ่นเหล็กแบนตั้งไว้ในแนวดิ่งเช่นกัน เมื่อพิมพ์จะมีลูกกลิ้งหมึก กลิ้งลงมาหาหมึกบนตัวพิมพ์ ผู้พิมพ์เอากระดาษป้อนบนแท่งแรงกด เครื่องพิมพ์จะผลักแท่นแรงกดเข้าปะทะแท่นที่ยึดตัวพิมพ์ไว้ ก็จะได้สิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการ ในบางแท่นที่ต้องการแรงกดมาก อาจมีลักษณะที่ทั้งแท่นยึดตัวพิมพ์และแท่งแรงกดวิ่งเข้าหากระทบกัน ลักษณะระนี้เรียกว่า Clamshell actionแท่นพิมพ์ Platen Press ใช้สำหรับพิมพ์งานเล็กๆ เช่น นามบัตร การ์ด ใบปลิว ใบเสร็จ แผ่นแทรกในเล่มหนังสือ ความเร็วของแท่นพิมพ์แบบนี้ ถ้าป้อนกระดาษด้วยมือ อาจได้ 1000-2000 แผ่นต่อชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องป้อนกระดาษอัตโนมัติ อาจได้ 3000-5000 แผ่นต่อชั่วโมง
1.2 Cylinder press แท่นพิมพ์ลักษณะนี้ตัวพิมพ์หรือแม่พิมพ์จะถูกยึดอัดไว้ในกรอบบนพื้นแบนและตั้งอยู่บนพื้นแท่นพิมพ์ระดับแนวนอน แรงกดเป็นลูกโมทรงกลม (Cylinder) ตัวพิมพ์จะเลื่อนถอยไปมาได้ โดยพื้นแท่นที่จับตัวพิมพ์ไว้จะเลื่อนไปมาตามราง ไปรับหมึกแล้วเลื่อนกลับมาทางใต้ลูกโม ลูกโมจะจับกระดาษกดลงบนตัวพิมพ์ หมึกก็จะเกาะติดกระดาษออกมา ก็จะได้สิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการแท่นพิมพ์แบบนี้สามารถพิมพ์งานชิ้นใหญ่ๆ ได้เพราะการเอาลูกโมมาจับกระดาษกดลงบนตัวพิมพ์นั้น แรงกดที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะเท่ากับจุดสัมผัสของผิวหน้าลูกโมกับตัวพิมพ์ เป็นเส้นยาวตลอดความยาวของลูกโม ซึ่งอาจใช้แรงกดน้อยแต่อาจพิมพ์ลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ได้
1.3 Rotary letter press แท่นพิมพ์แบบนี้ แม่พิมพ์จะถูกทำเป็นโค้ง สวมติดอยู่กับลูกโมทรงกลม แรงกดก็เป็นลูกโมทรงกลม กระดาษจะผ่านกลางระหว่างลูกโมแรงกดและลูกโมแม่พิมพ์การพิมพ์ลักษณะนี้สามารถพิมพ์ได้รวดเร็วมาก โดยมากมักใช้กระดาษม้วนพิมพ์ เช่น ใช้ในการพิมพ์หนังสือยกหนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
2. PLANOGRAPHIC PRINTING (แม่พิมพ์พื้นแบน)ลักษณะการพิมพ์วิธีนี้ แม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ จะเป็นพื้นแบนโดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้ส่วนที่ต้องการพิมพ์รับหมึก ส่วนที่ไม่ต้องพิมพ์ไม่รับหมึก เมื่อเอาหมึกทาบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดอยู่เฉพาะส่วนที่ต้องการพิมพ์เท่านั้นและเมื่อเอาแรงกด กดกระดาษลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดกระดาษขึ้นไปก็จะได้สิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการแม่พิมพ์พื้นแบน อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
2.1 การพิมพ์หิน (Lithography) ลักษณะสำคัญคือ ตัวแม่พิมพ์เป็นแผ่นหิน ซึ่งมีเนื้อละเอียดสม่ำเสมอ หรือมี grain ในตัว เมื่อเอาน้ำทาบนแผ่นหิน รูตามเนื้อ grain จะอมน้ำไว้ ทำให้แผ่นหินรับน้ำได้สม่ำเสมอกันการสร้างแผ่นหินให้เป็นแม่พิมพ์ อาจทำได้หลายวิธี เช่นก) การเขียนด้วยดินสอเกรยองข) โดยการใช้กระดาษลอกภาพค) โดยวิธีการทางการอัดรูปแม่พิมพ์ทุกแบบ เมื่อจะพิมพ์ต้องเอาน้ำทาก่อนเสมอ น้ำจะไม่เกาะตาม grain ของแผ่นหินซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์ เมื่อเอาหมึกทา หมึกซึ่งมีส่วนผสมของไขมัน จะไม่เกาะส่วนที่มีน้ำอยู่ แต่จะเกาะตามรอยของภาพที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พิมพ์ แผ่นหินนี้เมื่อใช้พิมพ์เสร็จแล้วสามารถลบรูปลอยหินออก แล้วสร้างภาพขึ้นใหม่ได้อีก
2.2 การพิมพ์ออฟเซท (OFF-SET Printing)การพิมพ์วิธีนี้แม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบน แต่นำมายึดติดกับลูกโมทรงกลม เรียกว่าโมแม่พิมพ์ จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่นแม่พิมพ์ก่อน ลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่า ลูกน้ำ แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกที่เกาะติดแม่พิมพ์นี้จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลม แต่ถูกหุ้มไว้ด้วยแผ่นยาง โดยนำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้ว ก็จะนำไปพิมพ์ติดบนแผ่นกระดาษซึ่งจะมีลูกโมแรงกด อีกลูกโมหนึ่งจับกระดาษมากดกับลูกโมยาง และรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบนกระดาษ ก็จะได้ชิ้นพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์ระบบออฟเซท ต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่ากัน หมุนพิมพ์กระดาษออกมาแต่ละครั้งเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์นั้นหมึกไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์มาพิมพ์บนแผ่นกระดาษโดยตรง แต่ถ่ายทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นตัวอักษรและภาพที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์ จึงเป็นตัวหนังสือที่อ่านได้ตามปกติ และภาพที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์ จึงเป็นตัวหนังสือที่อ่านได้ตามปกติ แต่เมื่อแม่พิมพ์ พิมพ์ตัวหนังสือหรือภาพลงบนลูกโมยาง ตัวหนังสือหรือภาพบนลูกโมยาง ตัวหนังสือหรือภาพบนลูกโมยางจะกลับซ้ายเป็นขวา ขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ตัวหนังสือหรือภาพเป็นปกติเช่นเดียวกับแม่พิมพ์แม่พิมพ์ระบบออฟเซท ทำด้วยโลหะส่วนใหญ่เป็นสังกะสีหรืออลูมิเนียมพลาสติค ฉาบด้วยสารไวแสงเช่นเดียวกับฟิล์มถ่ายรูปหรือกระดาษอัดรูป การทำแม่พิมพ์ทำได้โดยการถ่ายภาพโดยตรง หรือจากเอกสารตันฉบับ แล้วผ่านกระบวนการล้าง-อัด-ขยาย จนได้ภาพบนพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์ระบบออฟเซท เป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะสามารถผลิตงานได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

3. GRAVURE OR INTAGLIO (แม่พิมพ์ร่องเล็ก)

3. GRAVURE OR INTAGLIO (แม่พิมพ์ร่องเล็ก)
การพิมพ์วิธีนี้ ส่วนที่ต้องการพิมพ์จะถูกแกะเป็นร่องลึกลงไปในแม่พิมพ์ เมื่อจะพิมพ์เอาหมึกทาบนมาพิมพ์ หมึกมีลักษณะค่อนข้างเหลว จะฝังตัวอยู่ในร่องที่แกะไว้ในแม่พิมพ์ แล้วเช็ดหมึกที่ติดอยู่บนผิวหน้าแม่พิมพ์ออกให้หมด ให้เหลือไว้แต่เฉพาะหมึกที่อยู่ในร่องบนแม่พิมพ์ แล้วใช้แรงกด กดกระดาษลงบนแม่พิมพ์ หมึกนี้จะเกาะติดกระดาษขึ้นไป ก็จะได้ชิ้นพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์วิธีนี้ให้คุณภาพทางการพิมพ์ดีเยี่ยมทั้งตัวหนังสือ ภาพลายเส้น ภาพลายสกรีนและภาพสีธรรมชาติ การปลอมแปลงก็ทำได้ยาก จึงเหมาะใช้พิมพ์เอกสารที่สำคัญ เช่น ธนบัตร แสตมป์พันธบัตร จำลองภาพเขียน เป็นต้นวัสดุที่ใช้พิมพ์นอกจากกระดาษแล้วอาจเป็นผ้าหรือพลาสติคก็ได้การทำแม่พิมพ์ วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ นิยมใช้ทองแดงหรือเหล็กกล้า การทำร่องอาจทำได้โดยแรงแกะให้ลีกลงไปหรือใช้กรดกัดให้เป็นร่องลึกตามต้องการได้ระบบการพิมพ์ ระบบการพิมพ์ประกอบด้วยลูกโม่แม่พิมพ์ ซึ่งหมุนผ่านหมึกเหลวจะมีเครื่องปาดหมึกเพื่อเช็ดหมึกที่อยู่นอกร่องออกให้หมด และลูกโมแรงกดจะหมุนพร้อมกับกดกระดาษให้สัมผัสกับแม่พิมพ์

4. PHOTOGRAPHIC PRINTING (การพิมพ์ด้วยแสง)

4. PHOTOGRAPHIC PRINTING (การพิมพ์ด้วยแสง)
การพิมพ์วิธีนี้เป็นแบบเดียวกับการอัดรูป ไม่ได้ใช้หมึกพิมพ์ แม่พิมพ์เป็นแผ่นฟิล์ม Negateเอาตั้งวางทับลงบนกระดาษหรือวัตถุที่จะพิมพ์ เคลือบด้วยน้ำยาไวแสงแล้วเปิดส่องแสงอัดภาพลงบนวัตถุที่เคลือบน้ำยาไวแสงนั้น แล้วนำกระดาษหรือวัตถุที่พิมพ์ไปล้างในน้ำยาเคมี ก็จะได้ภาพตามที่ต้องการการพิมพ์วิธีนี้จะได้คุณภาพทางการพิมพ์สำหรับตัวหนังสือ ภาพลายเส้น ภาพลายสกรีน และภาพสีธรรมชาติ มักใช้พิมพ์งานที่มีปริมาณไม่มาก แต่ต้องการคุณภาพสูงวัสดุที่ใช้พิมพ์ อาจเป็นผ้า แก้ว โลหะ ไม้ หรือวัตถุอื่นๆ ที่เคลือบด้วยน้ำยาไวแสง

5. STENCILL (แม่พิมพ์ลายฉลุ)

5. STENCILL (แม่พิมพ์ลายฉลุ)
การพิมพ์โดยวิธีนี้ แผ่นแม่พิมพ์เป็นแผ่นแบนบางๆ ทึบ หมึกผ่านไม่ได้ การทำแม่พิมพ์ ทำโดยการฉลุรูปรอยต่างๆ ที่จะพิมพ์ลงบนแผ่นแม่พิมพ์ให้ทะลุ เพื่อให้หมึกผ่านได้ เมื่อจะพิมพ์ก็เอาแผ่นแม่พิมพ์นี้ ไปทาบลงบนกระดาษหรือวัตถุอื่นๆ ที่ต้องการพิมพ์ เช่น ผ้า พลาสติค ไม้ เป็นต้นแล้วเอาหมึกทาบนแผ่นแม่พิมพ์ หมึกก็จะซึมผ่านรอยฉลุลงไปเกาะติดกระดาษหรือวัตถุที่ต้องการพิมพ์ได้การพิมพ์โดยวิธีนี้ค่อนข้างดีสำหรับการพิมพ์ตัวหนังสือ ภาพลายเส้น ส่วนภาพลายสกรีนภาพสีธรรมชาติ ที่เป็นภาพง่ายๆ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ตัวอย่างการพิมพ์วิธีนี้ เช่น การพิมพ์โรเนียว การพิมพ์ชิลด์สกรีน การพิมพ์ชิลด์สกรีน (SILK SCREEN)การพิมพ์ชิลด์สกรีนถือเป็นการพิมพ์ระบบเดียวที่สามารถพิมพ์ได้บนวัตถุทุกชนิด (ไม้ เหล็ก ผ้า พลาสติค) ทุกรูปทรง (แบน กลม โค้ง) เนื่องจากเป็นการพิมพ์ที่ใช้ทุนน้อย อุปกรณ์ในการพิมพ์ไม่ต้องใช้เครื่องจักรในขั้นพื้นฐาน เทคนิคความรู้ก็ไม่ยากที่จะฝึกฝน ผู้สนใจนี้ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อนสามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ประกอบอาชีพจากอุตสาหกรรมขนาดย่อมพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ เชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลชิลด์สกรีนเดิมเรียกว่า “การพิมพ์แบบฉลุ” เป็นการพิมพ์โดยการปากหมึกพิมพ์ผ่านผ้า ตะแกรง เดิมใช้ผ้าไทยสวิส ปัจจุบันใช้ผ้าไนล่อน และผ้าโพลีเอสเตอร์ เนื่องจากหาง่ายราคาถูกเรียกกันทั่วไปว่า “ผ้าชิลด์” นำผ้าชิลด์มาขึงให้ตึงบนขอบไม้สี่เหลี่ยม ลวดลายชนิดใดที่ต้องการพิมพ์ให้เปิดรูตะแกรง ที่เหลือให้อุดตันด้วยกาวอัดหรือฟิล์มการพิมพ์บนวัสดุต่างๆ สามารถทำได้ในระบบนี้ เพียงแต่การพิมพ์วัสดุชนิดหนึ่งชนิดใดให้ใช้ผ้าชิลด์ที่มีขนาดความถี่ที่พอเหมาะกับการพิมพ์ชนิดนั้น (ความถี่ของผ้าชิลด์วัดจากจำนวนรูในหนึ่งตารางเซติเมตรหรือตารางนิ้ว) สีที่พิมพ์จะต้องเป็นสีที่มีตัวเกาะหรือตัวนำพาในหมึกหรือสีสำหรับวัสดุชนิดนั้นเทคนิคการพิมพ์ชิลด์สกรีนแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ1. การทำแม่พิมพ์ชิลด์สกรีน ซึ่งแบ่งได้ 3 แบบคือ
1.1 แม่พิมพ์แบบกาวอัด
1.2 แม่พิมพ์แบบฟิล์ม
1.3 แม่พิมพ์แบบผสม

แม่พิมพ์แบบกาวอัดขั้นเตรียมอุปกรณ์

แม่พิมพ์แบบกาวอัดขั้นเตรียมอุปกรณ์
อุปกรณ์ที่ใช้คือ1. เฟรมสกรีนคือผ้าชิลด์ที่ขึงให้ตึงบนกรอบไม้สี่เหลี่ยม ผ้าชิลด์ต้องใช้ขนาดความถี่ของรูผ้าชิลด์ สอดคล้องกับงานที่พิมพ์วัสดุต่างๆ
1.1 ผ้าชิลด์ที่มีความถี่ห่างหรือหยาบใช้กับการพิมพ์ผ้าพิมพ์กาวกำมะหยี่ ใช้เบอร์ผ้าชิลด์ 18T - 77T
1.2 ผ้าชิลด์ที่มีความถี่ระดับกลางใช้กับงานพิมพ์กระดาษ สติกเกอร์ลายพื้นใช้เบอร์ผ้าชิลด์ 77T – 110T1.3 ผ้าชิลด์ที่มีความถี่ละเอียดใช้กับพิมพ์ลายเส้น อย่างงานพิมพ์นามบัตรใช้เบอร์ผ้าชิลด์ 120T – 180T2. ต้นแบบถ่าย แบ่งได้ 3 แบบ คือ2.1 แบบฟิล์มโพลิติฟ สั่งทำได้กับร้านถ่ายฟิล์มทำแม่พิมพ์
2.2 แบบเทียนไข ซึ่งเขียนเป็นลายบนกระดาษเขียนแบบผ้าใส
2.3 แบบฟิล์มสีส้ม เป็นแผ่นฟิล์มสีส้มใช้กับงานลายพื้น
3. กาวอัด ซึ่งมีกาวอัดสีฟ้ากับสีชมพู เป็นส่วนที่นำมาอุดรูของผ้าชิลด์ในส่วนที่ไม่ต้องการให้หมึกผ่าน
4. น้ำยาไวแสง เป็นตัวผสมกับกาวอัด ทำหน้าที่พาให้กาวอัดแข็งตัวติดแน่นในผ้าชิลด์ เมื่อถูกแสงแดด แสงนีออนหรือสปอร์ตไลท์สีขาว แต่ไม่มีปฏิกิริยากับแสงแดด
5. ไม้โปรปาดกาวหรือยางปาด โดยให้ส่วนที่ใช้ปาดกาวบนเฟรมสกรีนต้องเรียบเสมอ
6. เครื่องเป่าผมหรือพัดลม เพื่อเร่งเวลาแห้งของกาวอัด
7. แสงจากแดดหรือตู้ไฟนีออนหรือตู้สปอร์ตไลท์ ถ้าเป็นตู้ไฟโดยทั่วไปใช้หลอดนีออนประมาณ 8-20 หลอดขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พิมพ์ที่จะทำ ถ้าเป็นสปอร์ตไลท์ใช้ 1 หลอด อาจจะ 500 หรือ 1000 w ก็ได้ขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบกาวอัดขั้นตอนที่ 1 นำกาวอัดสีฟ้าหรือสีชมพู 5 ส่วน ผสมกับน้ำยาไวแสง 1 ส่วน หรือจะมากน้อยกว่านั้นก็ได้ โดยมีหลักการว่า ถ้าใช้น้ำยาไวแสงมากส่วนก็จะใช้เวลาถ่ายแม่พิมพ์เร็วขึ้น ถ้าใช้น้ำยาไวแสงน้อยส่วนก็จะใช้เวลาถ่ายนานขึ้น กวนส่วนผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จะใช้เท่าไรผสมเท่านั้น เพราะกาวอัดที่ผสมแล้วจะเสื่อมคุณภาพเมื่อแห้งตัว ควรเก็บไว้ในที่ชื้นและมืดขั้นตอนที่ 2 นำเฟรมสกรีนเปล่ามาปาดกาวยางอัดที่ผสมแล้วโดยไม้โปรหรือยางอัด ปาดให้เรียบทั้ง 2 ด้าน การปาดควรปาดไปในทางเดียวกันเสมอ แล้วเอาเฟรมสกรีนที่ปาดกาวมาผึ่งให้แห้งด้วยพัดลมหรือเครื่องเป่าผมให้แห้งในห้องแสงสลัวที่ปราศจากแสงแดดหรือแสงนีออนหรือไฟอาร์คสีขาวขั้นตอนที่ 3 นำเฟรมสกรีนที่ปาดกาวอัดแสงสนิทมาวางทาบกับแบบถ่าย โดยเอาด้านผ้าชิลด์ให้แนบสนิทกับแบบถ่ายที่วางด้านตรงบนกระจกของตู้ไฟนีออนหรือตู้สปอร์ตไลท์ และเอาแผ่นวัตถุทึบแสงปิดส่วนที่เป็นลายพิมพ์บนเฟรมสกรีน ตามด้วยวัตถุหนักๆ วางทับ หรือใช้แรงกดบนแผ่นวัตถุทึบแสงแดดโดยการวางวัตถุต่างๆ ในด้านตรงข้ามรับแสงจากข้างบนผ่านกระจกมายังต้นแบบ
ใช้เวลาถ่าย 2-4 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลายเส้นหรือลายพื้น ส่วนผสมน้ำยาไวแสงในกาวอัดมากหรือน้อย ความเข้มของแสงมากหรือน้อย และในกรณีใช้ตู้ไฟก็เช่นเดียวกัน มีการจับเวลาในการถ่ายแบบ

ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 4
เมื่อถ่ายเฟรมสกรีนจนได้เวลาที่คาดไว้ นำไปแช่น้ำและฉีดน้ำส่วนที่เป็นลายพิมพ์ กาวอัดส่วนที่ถูกแสงจะจับแน่นเนื้อผ้า ส่วนที่ยังไม่ถูกกับแสงจากการบังด้วยหมึกทึบแสงสีดำหรือฟิล์มสีส้มจะหลุดออก ซึ่งก็คือลายที่จะมีนั่นเอง เมื่อเห็นลายปรากฏเด่นชัดเจนบนเฟรมสกรีนก็ให้นำมาผึ่งด้วยแดดหรือเป่าด้วยเครื่องเป่าผมให้แห้ง แล้วนำไปพิมพ์ได้เลย ถ้าต้องการพิมพ์ได้ทนต้องไปเคลือบน้ำยาข้อควรระวังถ้าเวลาถ่ายเร็วไป เวลาล้างกาวอัดจะหลุดออก ถ้าใช้เวลานานเกินไป เวลาล้างกาวอัดจะออกยาก ทั้งสองกรณีต้องนำเฟรมสกรีนไปล้างออกด้วยผงคลอรีน แล้วถ่ายใหม่คุณสมบัติของแม่พิมพ์แบบกาวอัด- ใช้กับงานพิมพ์ที่พิมพ์ได้ทั้งหมึกพิมพ์เชื้อน้ำกับเชื้อน้ำมัน- อุปกรณ์ที่ใช้ทำแม่พิมพ์แบบนี้ หาซื้อได้ด้วยเงินทุนไม่มากนัก- ความละเอียดของงานพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แบบนี้ ขึ้นอยู่กับฝีมือแม่พิมพ์แบบฟิล์มแม่พิมพ์แบบฟิล์มมีอยู่ 2 แบบคือ
1. แม่พิมพ์ฟิล์มตัด แบ่งเป็น 2 แบบ คือแบบฟิล์มเขียวกับแบบฟิล์มสีม่วง
1.1 แม่พิมพ์ฟิล์มเขียว อุปกรณ์ที่ใช้คือ- เฟรมสกรีนเปล่า มีลักษณะเช่นเดียวกับที่ใช้ในแม่พิมพ์แบบกาวอัด- ฟิล์มเขียว เป็นฟิล์มโปร่งแสงสีเขียว ซึ่งด้านหนึ่งเคลือบด้วยเนื้อฟิล์มเขียวบนแผ่นพลาสติคใส สามารถลอกแผ่นพลาสติคใสออกจากเนื้อฟิล์มได้- มีดกรีด ใช้กรีดเนื้อพิมพ์เขียว- ต้นแบบถ่าย กล่าวไว้แล้วในแม่พิมพ์แบบกาวอัด- ทินเนอร์ ใช้เป็นตัวกลางเชื่อมให้เนื้อฟิล์มเขียวติดแน่นบนเฟรมสกรีน ทินเนอร์ให้ปฏิกิริยากับเนื้อฟิล์มพอดีหรือไม่ ใช้ทดสอบ โดยการนำทินเนอร์มาเชคกับเศษฟิล์มเขียว ถ้าใช้ได้เนื้อฟิล์มจะเหนียว ถ้าแรงไปเนื้อฟิล์มจะเละๆ ถ้าอ่อนไปเนื้อฟิล์มจะอยู่ในสภาพเดิมขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบฟิล์มเขียวขั้นตอนที่ 1 นำแผ่นฟิล์มเขียวขนาดเท่ากับกรอบเฟรมสกรีน มาทาบต้นแบบแล้วใช้มีดกรีด กรีดตามลายแบบที่ต้องการอย่างเบาๆ ควรระวังอย่ากรีดทะลุแผ่นพลาสติคอีกด้านขั้นตอนที่ 2 เมื่อกรีดเสร็จ ลอกแผ่นฟิล์มที่ต้องการให้หมึกพิมพ์ผ่านออกตามลายพิมพ์ นำแผ่นฟิล์มที่ลอกตามลายแล้วมาวางลงบนกระจกเรียบ เอาด้านเนื้อฟิล์มหงายออกขั้นตอนที่ 3 นำเฟรมสกรีนเปล่าด้านนอกมาทาบสนิทกับแผ่นฟิล์มเขียวที่กรีดลายเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ฟิล์มเขียวติดแนบแน่นบนผ้าชิลด์ ใช้ฟองน้ำหรือเศษผ้าสะอาดชุบทินเนอร์หมาดๆ เช็ดถูให้ทั่วในเฟรมสกรีนด้านในผ่านรูผ้าลงบนฟิล์มเขียวให้ทั่ว ผึ่งให้แห้งสนิทแล้วลอกแผ่นพลาสติคใสออก นำไปพิมพ์ได้เลย หมึกพิมพ์จะออกตามลายที่กรีดออกของฟิล์มเขียวคุณสมบัติของแม่พิมพ์แบบฟิล์มเขียว- ใช้กับงานพิมพ์ผ้าที่พิมพ์เฉพาะกับหมึกพิมพ์เชื้อน้ำอย่างสีพิมพ์ผ้า- เหมาะกับงานลายพื้นที่ไม่มีลวดลายละเอียดนัก- ทุ่นเวลาในการทำแม่พิมพ์ และเงินทุนในการจัดหาตู้ถ่าย
1.2 แม่พิมพ์ชาม่วงลักษณะของฟิล์มเป็นสีชาม่วงอ่อนๆ อุปกรณ์ทั่วไป และขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบนี้เหมือนกับแม่พิมพ์แบบฟิล์มเขียว ต่างก็แต่การใช้ตัวสื่อกลางระหว่างเฟรมสกรีนกับฟิล์ม ใช้น้ำเปล่าหรือน้ำ 3 ส่วนผสมกับแอลกอฮอลล์ (เมทิว) 1 ส่วน เพื่อเร่งเวลาแห้งในเฟรมสกรีนเมื่อถูเช็ดติดบนผ้าเฟรมสกรีนข้อควรระวังจะต้องเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสง เพราะจะทำปฏิกิริยากับแสงทำให้ฟิล์มสีม่วงชาเสื่อมคุณภาพทันที
2. แม่พิมพ์แบบฟิล์มถ่าย มีอยู่หลายแบบ แต่ที่ใช้แพร่หลายในวงการพิมพ์ไทยก็คือ ฟิล์มแดง
2.1 แม่พิมพ์ฟิล์มแดง การทำแม่พิมพ์ฟิล์มแดง มีอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมดังนี้- เฟรมสกรีนเปล่า ที่ผ่านการล้างไขของใยผ้าแล้วด้วยผงซักฟอก- ฟิล์มแดง เป็นฟิล์มโปร่งแสงสีแดง มีลักษณะเช่นเดียวกับฟิล์มเขียว- ต้นแบบถ่ายฟิล์มโพลิคิฟ- โฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่มีความข้น 1.2 ใช้เป็นตัวยาล้างฟิล์ม- ไฟอาร์ค หรือกล้องถ่ายแสงอุลตรา- ลูกกลิ้ง ใช้กลิ้งให้เฟรมสกรีนด้านผ้าชิลด์แนบสนิทกับแผ่นฟิล์มแดง- แผ่นยางเรียบ- แผ่นกระจกใสขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบฟิล์มแดงขั้นตอนที่ 1 นำแผ่นฟิล์มแดงกับต้นแบบถ่ายฟิล์มโพลิติฟ มาถ่ายฟิล์มไฟอาร์ค หรือกล้องถ่ายแสงอุลตร้า โดยการวางแผ่นฟิล์มต้นแบบลงบนฟิล์มสีแดง ให้ฟิล์มสีแดงในขนาดเท่ากับขอบเฟรมสกรีน วางทาบให้แนบสนิท โดยด้านเนื้อฟิล์มแดงรองรับแสง ส่วนด้านพลาสติคใสมีแผ่นยางเรียบมารองรับ มีแผ่นกระจกใสวางทาบอยู่เหนือฟิล์มต้นแบบ นำเข้ากล้องถ่ายฟิล์ม ซึ่งถ้าใช้หลอดไฟคาร์บอนอาร์คขนาด 15A ระยะห่าง 50 ซม. ใช้เวลา 6-8 นาที ถ้าขนาด 50A ระยะห่าง120 ซม. ใช้เวลา 8-11 นาทีขั้นตอนที่ 2 นำฟิล์มสีแดง หลังจากถ่ายไฟอาร์คมาล้างฟิล์มแดงด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( 1.2 % Volume)
2.2 แม่พิมพ์ฟิล์มม่วงขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบฟิล์มม่วงขั้นตอนที่ 1 ใช้แผ่นฟิล์มม่วงในขนาดของต้นแบบถ่าย วางลงบนตู้ไฟหรือแผ่นกระจก โดยให้ด้านเนื้อฟิล์มม่วงหงายรับและประกอบชิดผ้าชิลด์ด้านนอกของฟิล์มสกรีนก่อนปาดกาวอัดขั้นตอนที่ 2 ปาดกาวอัดที่ผสมน้ำยาไวแสงในอัตราส่วน กาวอัด 5 ส่วน น้ำยาไวแสง 3 ส่วนคนให้เข้ากัน แล้วปาดให้เรียบทั้งสองด้านของเฟรมสกรีน ถ้าอยากให้ตัวนูนหนา ให้ปาดกาวให้หนาหลายๆ ครั้งจนฟิล์มม่วงแนบติดสนิทกับผ้าชิลด์ขั้นตอนที่ 3 ผึ่งให้แห้งด้วยลมเย็นของพัดลมหรือเครื่องเป่าผมในห้องสลัวเมื่อแห้งสนิททั่วเฟรมสกรีน ให้ลอกแผ่นพลาสติคใสออกเหลือไว้แค่เนื้อฟิล์มม่วงขั้นตอนที่ 4 นำเฟรมสกรีนที่ปากกาวอัดและเคลือบฟิล์มม่วง ไปถ่ายในตู้ไฟหรือแสงแดด ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้กล่าวไว้แล้วในแม่พิมพ์แบบกาวอัด แต่ต่างกันตรงที่ให้เวลาถ่ายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวขั้นตอนที่ 5 นำเฟรมสกรีนไปทำการล้างด้วยน้ำฉีด กาวอัดที่เคลือบด้วยฟิล์มม่วงอย่างหนาหรือบางในส่วนที่ถูกแสง จะเกิดแผ่นผ้าชิลด์ในส่วนที่ไม่ถูกแสง กาวอัดจะหลุดออกเป็นลายที่ต้องการพิมพ์ หากเกิดเสียให้ล้างด้วยผงคลอรีน กาวอัดและเนื้อฟิล์มม่วงจะหลุดออกแล้วทำใหม่ขั้นตอนที่ 6 ผึ่งให้แห้งด้วยลมเย็นของพัดลมหรือเครื่องเป่าผม จากนั้นนำไปทำการพิมพ์ได้เลย

คุณสมบัติของแม่พิมพ์ฟิล์มม่วง

คุณสมบัติของแม่พิมพ์ฟิล์มม่วง
- พิมพ์งานที่ต้องการตัวนูน อย่างนามบัตร ด้วยสีพิมพ์เหล็กหรือสีแห้งช้า โดยใช้ แม่พิมพ์ม่วงอย่างหนา
- พิมพ์งานที่ต้องการให้เส้นคมชัดด้วยสีพิมพ์น้ำมันทั่วไป โดยใช้แม่พิมพ์ฟิล์มม่วงอย่างบาง
- พิมพ์ได้ทั้งสี หมึกพิมพ์ ทั้งเชื้อน้ำมันและน้ำเทคนิคในเรื่องแม่พิมพ์การเคลือบน้ำยาเพื่อให้แม่พิมพ์ใช้พิมพ์ได้นานน้ำยาไวแสง ใช้เคลือบกับแม่พิมพ์แบบกาวอัดและแบบผสมที่พิมพ์ได้ทั้งสีหมึกเชื้อน้ำและน้ำมัน ใช้ทาด้านนอกของเฟรมสกรีนที่เป็นแม่พิมพ์เรียบร้อยแล้ว ปล่อยทิ้งให้แห้ง แล้วนำไปพิมพ์ได้เลย ช่วยในการอัดติดแน่นบนผ้าชิลด์ ทนต่อการเสียดสีเวลาพิมพ์น้ำยาฮาร์ด เดนเนอร์ วิธีการใช้และคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำยาไวแสงแต่ให้ผลดีกว่ากาวเคลือบทน ใช้เหล็กกันแม่พิมพ์แบบกาวอัด ที่พิมพ์ได้เฉพาะสี-หมึกเชื้อน้ำเท่านั้น ใช้กาวเคลือบทน ทาเคลือบเช่นเดียวกับน้ำยาไวแสง เพียงแต่ตรงบริเวณที่เป็นลายที่ให้หมึกผ่านบนเฟรมสกรีน จะต้องใช้น้ำมันล้าง (NO 1) เช็ดออก เพราะกาวเคลือบทนจะไม่อุดรูในเฟรมสกรีนส่วนที่เป็นลายตัน
..........................อ่านไม่ออก.......................................แล้วนำไปพิมพ์ได้เลยการล้างแม่พิมพ์เพื่อถ่ายแบบใหม่วัสดุที่ใช้ล้างได้แก่
1. ผงคลอรีน เป็นผงล้างที่ล้างได้ทั้งแม่พิมพ์แบบกาวอัดกับแบบผสม วิธีการใช้เหมือนกับการใช้ผงซักฟอก แต่ควรใส่ถุงมือเวลาใช้ เพราะกันการกัดมือของผงล้าง
2. น้ำยาล้าง มีหลายแบบ ใช้ล้างแม่พิมพ์แบบฟิล์มและกาวอัด ให้ความสะอาดและปลอดภัย
1. การพิมพ์ชิลด์สกรีน แบ่งได้ 2 เรื่องคือ
1.1 กรรมวิธีการพิมพ์
1.2 กรรมวิธีการใช้สี-หมึกพิมพ์

กรรมวิธีการพิมพ์

กรรมวิธีการพิมพ์
สามารถแบ่งออกได้ 3 วิธีคือก. การพิมพ์ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติข. การพิมพ์ด้วยแรงคนที่มีเครื่องจักรช่วยค. การพิมพ์ด้วยแรงคนล้วนการพิมพ์ในแถบประเทศเอเชีย นิยมการพิมพ์ด้วยแรงคนล้วนเพราะค่าใช้จ่ายน้อย อีกทั้งด้านคุณภาพและปริมาณของงานพิมพ์ ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องพิมพ์ สำหรับแถบประเทศยุโรปและอเมริกานิยมใช้เครื่องจักรมากกว่า เพราะงานพิมพ์สอดสีที่ต้องการงานพิมพ์ที่ประณีต ละเอียดแต่ก็เชื่อมั่นว่า อนาคตในไม่ช้า วงการพิมพ์ไทยจะก้าวล้ำหน้าที่จะนำเครื่องพิมพ์ชิลด์สกรีนมามีส่วนร่วมพัฒนาประเทศการพิมพ์ด้วยแรงคนล้วนเป็นการพิมพ์ที่อาจกล่าวได้ว่า “หัตกรรมการพิมพ์”ขั้นเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์เครื่องมือการพิมพ์ก็คือ
1. เฟรมสกรีน ที่เป็นแม่พิมพ์เรียบร้อย แบบใดแบบหนึ่ง ดังที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องการทำแม่พิมพ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานที่จะพิมพ์
2. ยางปาด เป็นยางสังเคราะห์เคมีใช้ในด้านการพิมพ์ชิลด์สกรีนโดยเฉพาะเพราะทนต่อน้ำมันและสี-หมึกพิมพ์ ตลอดจนการเสียดสี สะดวกต่อการล้าง มี 3 ชนิดขึ้นอยู่กับงานพิมพ์ ถ้าเป็นงานพิมพ์ละเอียด ควรใช้แบบหน้าตัดแหลมข้างเดียว ถ้าเป็นงานพิมพ์ทั่วไปควรใช้แบบหน้าตัดล่ม ถ้าเป็นงานพิมพ์หยาบควรใช้แบบหน้าตัดเหลี่ยม
3. แป้นวางพิมพ์หรือโต๊ะพิมพ์ พื้นแป้นหรือโต๊ะพิมพ์จะต้องเรียบ อาจเป็นพื้นกระจก หรือด้านเรียบโดยด้านหนึ่งให้ติดบานพับหรือวัสดุที่คล้ายบานพับ และสามารถยึดขอบเฟรมสกรีนให้อยู่กับที่ เพื่อการพิมพ์ที่แน่นอน และให้ความสะดวกในการวางตำแหน่งที่จะพิมพ์ ด้วยการทำเครื่องหมายขอบเพื่อกำหนดตำแหน่งของสิ่งที่จะพิมพ์แต่ละชั้นให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับบนพื้นที่รองรับสำหรับพิมพ์ซึ่งจะต้องเรียบ4. กาวกันเคลื่อนหรือเทียนไข ใช้ทา (กาว) หรือหล่อ (แผ่นเทียน) ให้เรียบบนพื้นแป้นวางพิมพ์หรือโต๊ะพิมพ์ในตำแหน่งของสิ่งที่จะพิมพ์ เพื่อให้วัสดุที่พิมพ์อยู่กับที่ ไม่ตามเฟรมสกรีนในเวลาพิมพ์ ทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้มีสีเรียบไม่เป็นรอยด่าง กาวกันเคลื่อนใช้กับการพิมพ์ผ้า นามบัตร สติกเกอร์ โดยทาบางๆ บนพื้นทิ้งไว้ 10 นาที ก็วางวัตถุที่จะพิมพ์ได้เลย ไม่เป็นใยหรือคราบกาวติดแผ่นวัตถุ สำหรับเทียนไขใช้กับงานพิมพ์ผ้าอย่างเดียวหน่วยที่ 2 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานกราฟิก2.1 วัสดุที่ใช้ในงานกราฟิก2.1.1 กระดาษ กระดาษที่ใช้ในงานกราฟิกมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะสมกับชนิดของงานต่างๆ กัน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดี จึงต้องเลือกใช้กระดาษให้เหมาะสม กระดาษที่ใช้อาจแบ่งออกได้ดังนี้ก. กระดาษหน้าขาวหลังเทา หรือกระดาษกล่อง นิยมใช้กันมากในงานโสตทัศนศึกษาใช้สำหรับเขียนโปสเตอร์ บัตรคำและป้ายประกาศต่างๆ นิยมเขียนด้วยปากกาปลายสักหลาด หรือ สปีดบอล ไม่นิยมใช้พู่กันเขียนข. กระดาษโปสเตอร์ โดยทั่วไปเป็นกระดาษสีหน้าเดียว มีทั้งชนิดบางและชนิดหนา ชนิดบางใช้สำหรับดัดเป็นรูปภาพหรือตัวอักษรนำไปติดบนกระดาษหนาหรือวัสดุอื่นอีกทีหนึ่ง ส่วนกระดาษโปสเตอร์ชนิดหนา เหมาะสำหรับงานเขียนโปสเตอร์ นิยมเขียนพู่กันหรือปากกาสปีดบอล ส่วนปากกาปลายสักหลาดไม่นิยมใช้เขียน กระดาษโปสเตอร์มีทั้งแบบที่เป็นสีสะท้อนแสงและสีทึบแสงค. กระดาษวาดเขียน เป็นกระดาษเนื้อด้านหรือเป็นเม็ด เหมาะสำหรับวาดรูปโดยใช้สีน้ำ ไม่เหมาะสำหรับเขียนตัวอักษร เพราะผิวไม่เรียบและสีจะซึมได้เล็กน้อยง. กระดาษอาร์ทมัน เหมาะสำหรับงานออกแบบโดยทั่วไป ผิวเรียบเป็นมัน เหมาะสำหรับเขียนด้วยปากกาสปีดบอลหรือปากกาเขียนแบบ การวาดภาพลายเส้น เพื่อทำเป็นภาพต้นแบบสำหรับถ่ายทำเป็นฟิล์มเมกกาตีฟ เพื่อใช้ในการพิมพ์ หรือทำบล็อกสำหรับงานพิมพ์จ. กระดาษอาร์ทด้านสี เป็นกระดาษเนื้อหนาสีเดียวกันทั้งสองด้าน เหมาะสำหรับทำเป็นปกรายงานหรือปกหนังสือ ทำแผ่นป้ายนิเทศ หรือติดวัสดุต่างๆ ในงานนิทรรศการฉ. กระดาษไขเขียนแบบ มีลักษณะขุ่นมัวคล้ายกระจกฝ้า เหมาะสำหรับงานเขียนแบบโดยทั่วไป และทำต้นแบบงานพิมพ์หรืองานถ่ายบางชนิดช. กระดาษการ์ดสี เป็นกระดาษที่เนื้อเยื่อกระดาษถูกย้อมเป็นสีแล้วนำมาทำเป็นแผ่นมีสีเดียวกันทั้งสองหน้า ในการทำสื่อการสอนต่างๆ นิยมใช้กระดาษการ์ดมี 2 หน้า เพราะมีสีสดใสและเข้ม แก้ไขตกแต่งได้ง่ายและมองเห็นตำหนิได้ยากส่วนกระดาษการ์ดสีอีกชนิดหนึ่งมีเนื้อละเอียด แต่สีอ่อนจาง และมีสีจำกัด ราคาย่อยเยาเหมาะสำหรับทำปกหรือทำแฟ้มกระดาษการเรียกน้ำหนักกระดาษ๑. เรียกเป็นกรัมหรือแกรม วิธีนี้เป็นวิธีสากลถือหลักว่ากระดาษ ๑ แผ่นมีเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร เมื่อนำไปชั่งมีน้ำหนักเป็นแกรมเท่าใด เป็นกระดาษเท่านั้นแกรม เช่น กระดาษ ๖๐ แกรม ถ้าจะเขียนให้ชัดเจนมักเขียนเป็นกระดาษ ๖๐ แกรม/ม๒.๒. เรียกเป็นกิโลกรัม หรือ ก. ก. ใช้เรียกชื่อกระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย โดยถือหลักว่ากระดาษขนาดมาตรฐานของไทย ( ๓๑” x ๔๓” ) ใน ๑ รีม ซึ่งมี ๕๐๐ แผ่น ซึ่งดูแล้วมีน้ำหนักกี่กิโลกรัม๓. เรียกเป็นปอนด์ ทางยุโรปหมายถึงกระดาษขนาดมาตรฐาน ( ขนาด ๓๑” x ๔๓” ) จำนวน ๑ รีม( ๕๐๐ แผ่น ) ชั่งน้ำหนักได้กี่ปอนด์ก็เรียกว่าเป็นกระดาษเท่านั้นปอนด์
2.1.2 สี สีที่ใช้ในงานกราฟิกแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกันคือก. สีน้ำ มีทั้งชนิดเป็นหลอด และเป็นแผ่นๆ บรรจุในกล่อง เวลาใช้ต้องใช้พู่กันจุ่มน้ำมาผสมในจานผสมสี ข้อดีก็คือใช้ง่ายและล้างออกง่ายสีติดวัสดุประเภทกระดาษได้คงทน ข้อเสียคือระบายให้เรียบได้ยาก จึงเหมาะสำหรับวาดรูปเท่านั้นข. สีน้ำมัน เป็นสีที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เมื่อแห้งแล้วจะมีสภาพคงทน เหมาะสำหรับงานภายนอก หรืองานที่อาจมีสิ่งสกปรกเปื้อนได้ง่าย สำหรับงานเขียนตัวอักษรนิยมใช้สีแห้งช้าหรือสีที่ใช้ผสมกับน้ำมันสน ส่วนสีแห้งเร็วที่ใช้ผสมกับทินเนอร์ไม่นิยมใช้เขียนตัวอักษรแต่จะใช้เป็นสีรองพื้น วัสดุกราฟิก สีน้ำมันมีทั้งที่บรรจุกระป๋อง บรรจุหลอด และบรรจุกระป๋องสเปรย์ มีทั้งที่เป็นสีด้าน และสีมันค. สีโปสเตอร์ ส่วนมากบรรจุในขวด มีทั้งสีธรรมดาและสีสะท้อนแสง เหมาะสำหรับเขียนด้วยพู่กันปลายตัด เขียนง่าย เส้นเรียบไม่ด่างเหมือนสีน้ำ เมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับด้วยสีอื่นได้ แต่มีข้อเสียคือ หลุดล่อนได้ง่าย สีโปสเตอร์นี้เวลาใช้ต้องผสมน้ำง. สีพลาสติก เป็นสีผสมน้ำ เหมาะสำหรับทาเป็นสีรองพื้น ทาผนัง หรือใช้เขียนผ้า เมื่อแห้งแล้วติดทนนานจ. สีฝุ่น เป็นสีผสมน้ำ แต่เพื่อให้ติดแน่นกับพื้นผิว นิยมใช้ผสมกาวเช่น กาวกระถิน ส่วนมากเหมาะสำหรับใช้งานหยาบๆ เช่น ทาสีฉากละครฉ. สีเทียน เป็นสีผสมไข ใช้สำหรับงานระบายสีในเนื้อที่ไม่มากนักช. สีพิมพ์ซิสด์สกีม อาจแบ่งออกได้ตามประเภทการใช้งาน เช่น สีพิมพ์ผ้า สีพิมพ์กระดาษ สีพิมพ์โลหะ สีพิมพ์พลาสติกญ. สีพิมพ์ภาพ เป็นสีที่ใช้อยู่ตามโรงพิมพ์โดยทั่วไปมีทั้งที่เป็นแม่สีและสีผสม สามารถพิมพ์ภาพออกมาได้มีคุณภาพสูงมากในการเลือกใช้สีต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ถ้าเป็นงานที่ต้องความคงทนถาวรควรใช้สีชนิดถาวร ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมัน เช่นสีน้ำมัน ถ้าเป็นงานที่ไม่ต้องการความคงทนถาวรควรใช้สีชนิดชั่วคราว ซึ่งเป็นสีที่มีส่วนผสมของน้ำ เช่นสีโปสเตอร์ สีฝุ่น เป็นต้น หรือถ้าต้องการเขียนลงบนแผ่นโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ควรใช้สีโปร่งแสง เพื่อให้เห็นเป็นสีบนจอได้ชัดเจน
2.1.3 น้ำหมึก เป็นสิ่งที่ใช้คู่กับปากกา พู่กัน เครื่องอัดสำเนา และบล็อกประทับตรายางต่างๆ อาจแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดดังต่อไปนี้ก. น้ำหมึกโปร่งแสง สำหรับใส่ปากกาเขียนแผ่นอาซีเตท หรือแผ่นโปร่งใส มีทั้งแบบชั่วคราวที่ลบได้ด้วยน้ำและแบบถาวรที่ต้องลบด้วยทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์ข. น้ำหมึกสำหรับเติมปากกาสักหลาด เป็นน้ำหมึกสำหรับใช้เติมปากกาปลายสักหลาดแบบสีเมจิกค. หมึกสีธรรมดา เป็นหมึกที่ใช้กับปากกาหมึกซึม หรือปากกาชนิดอื่น เช่น ปากกาสปีดบอล ปากกาคอแร้ง หรือพู่กันก็ได้ ส่วนมากจะยอมให้แสงผ่านได้ นอกจากหมึกสีขาวง. หมึกดำหรือหมึกอินเดียอิงค์ เป็นหมึกที่มีความดำจัด ใช้ระบายสีทับหรืองานกราฟิกได้ดี ส่วนมากจะเป็นแบบกันน้ำได้ ( Water proof )จ. หมึกจีน มีลักษณะเป็นแท่ง เวลาใช้ต้องฝนกับจานสี การเขียนใช้พู่กันจีนหรือพู่กันปลายตัดก็ได้ มีความเข้มมากกว่าอินเดียอิงค์ เหมาะสำหรับเขียนอักษรหรือวาดภาพด้วยพู่กันฉ. หมึกสำหรับเติมปากกาเขียนแบบ เป็นหมึกที่ไม่เกาะติดปากกาเหมือนกับอินเดียอิงค์ มีความดำเข้มจัดมาก เหมาะสำหรับงานเขียนที่ต้องการความทึบแสงสูง เช่นการเขียนต้นฉบับสำหรับนำไปถ่ายทำบล็อกซิลค์สกรีนช. หมึกประทับตรายาง เป็นหมึกที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน มีความเข้มข้นไม่เหมาะสำหรับนำมาเขียน แต่ใช้สำหรับประทับตรายางเหมาะที่สุดญ. หมึกพิมพ์สำหรับการอัดสำเนา มีทั้งชนิดหลอดเป็นดรีม และชนิดเหลวบรรจุในขวดพลาสติก แต่ละชนิดเหมาะสำหรับเครื่องอัดสำเนาต่างชนิดกันหมึกส่วนใหญ่มีลักษณะโปร่งแสง ( Transparent ) คือยอมให้แสงผ่านได้หากใช้บนแผ่นโปร่งใสก็จะได้สีของหมึกนั้น ถ้าเขียนลงบนกระดาษพื้นสีเข้มจะไม่ค่อยมีผล เพราะสีของกระดาษจะปรากฏชักเจนกว่า
2.1.4 วัสดุอื่นๆ ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากจะใช้กระดาษสีและหมึกตามที่กล่าวมาแล้ บางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุอื่นๆ มาช่วย เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่นช่วยอำนวยความสะดวก ความรวดเร็ว และความคงทน วัสดุเหล่านั้นได้แก่- กาวต่างๆ เช่น กาวยางน้ำ กาวลาเท็กซ์ กาวกระถิน กาวแป้งเปียก ฯลฯ ซึ่งใช้สำหรับผนึกชิ้นส่วนต่างๆ ให้ติดกับพื้นผิวของวัสดุ- เทปกาว เช่น สก๊อตเทป กระดาษกาว กระดาษกาวย่น ใช้ช่วยทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานหรือทำให้เกิดความเรียบร้อยสวยงามของงานที่ผลิตขึ้นมา
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในงานกราฟิก
2.2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการขีดเขียน ได้แก่ ปากกา ดินสอ พู่กัน มีหลายลักษณะที่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ผลิตก. เครื่องมือประเภทปลายปากแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะหรือไม้ ได้แก่ ปากกาชนิดต่างๆ ดั้งนี้- ปากกาชนิดปลายปากแหลม เหมาะสำหรับใช้เขียนตัวอักษรขนาดเล็กหรือเส้นที่มีความละเอียดใช้เขียนกับหมึกหรือสีโปสเตอร์ก็ได้ นิยมใช้กันมากในงานสร้างต้นแบบของงานพิมพ์ ( Artwork) ปากกาชนิดนี้มีขนาดเดียว ฉะนั้นเมื่อต้องการใช้เส้นหนาจะต้องตัดหรือต้นปลายด้วยหิน- ปากกาสปีดบอล ใช้ในงานเขียนตัวอักษร สามารถใช้ได้กับหมึกและสีโปสเตอร์ มีให้เลือกใช้ถึง 4 แบบ และขนาดต่างกันถึง 6 – 7 ขนาดแบบ A (A-Style) สำหรับเขียนตัวอักษรเหลี่ยมที่มีเส้นทึบตลอดตัว มีขนาดตั้งแต่ A – 0 ถึง A – 0แบบ B (B-Style) สำหรับเขียนตัวอักษรที่ต้องการให้หัวหรือปลายมันเป็นรูปครึ่งวงกลมมีขนาดตั้งแต่ B – 0ถึง B- 0แบบ C (C-Style) สำหรับเขียนตัวเหลี่ยมหักมุมได้มีขนาดตั้งแต่ C- 0 ถึง C – 6แบบ D (D-Style) สำหรับเขียนตัวมนที่มีเส้นหนาและบาง มีขนาดตั้งแต่ D – 0 ถึง D – 6- ปากกาหมึกซึมเขียนแบบ ใช้ได้ทั้งการเขียนตัวอักษรตีเส้นและวาดรูป มีขนาดต่างๆกันโดยเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็กสุดคือ 0.1 มม.ขึ้นไป- ปากกาตีเส้น ใช้ขีดเส้นได้อย่างสม่ำเสมอบนกระดาษเขียนแบบหรือแผ่นใส มีทั้งแบบตีเส้นตรงและขีดเส้นโค้งหรือวงกลม และยังสามารถปรับขนาดของปากกาได้อีกด้วยข.เครื่องมือประเภทปลายปากอ่อน มักทำจากขนสัตว์ ยาง หรือ สักหลาด ได้แก่ พู่กัน ปากกาปลายสักหลาด และปากกาไฟเบอร์พู่กัน ทำด้วยขนสัตว์ เช่นขนหูวัว ขนกระต่าย ขนแกะ มี 2 ชนิด คือ ชนิดกลมและชนิดแบนหรือปลายตัด ชนิดกลมใช้ในการระบายสี ส่วนปลายแบนหรือปลายตัดใช้สำหรับเขียนตัวอักษรพู่กันสามารถใช้ได้กับสีน้ำ สีโปสเตอร์ และสีน้ำมัน การใช้ต้องอาศัยความชำนาญปากกาปลายสักหลาด ปลายปากทำด้วยสักหลาดแข็ง มีทั้งชนิดปากกลมและปากปลายตัดใช้ประโยชน์ในงานหลายชนิด เช่น- ปากกาสักหลาดปลายตัด ใช้สำหรับเขียนตัวอักษรชนิดไม่มีหัว- ปากกาสักหลาดปลายกลม ใช้สำหรับเขียนตัวอักษรประดิษฐ์หรือระบายสีปากกาไฟเบอร์ ปลายปากแหลม ทำด้วยไพล่อนแข็ง เหมาะสำหรับใช้งานที่คล้ายกับเขียนด้วยปากกาหมึกซึม หรือปากกาเขียนแบบแต่มีข้อเสียตรงที่เส้นไม่คมและชัดเจนเท่าค. ดินสอ ใช้ในงานร่างแบบ เขียนรูป วาดรูป และระบายสี ดินสอแต่ละชนิดเหมาะกับงานที่แตกต่างกันออกไป- ดินสอดำ มีทั้งชนิดที่ไส้ดินสอหุ้มด้วยไม้เนื้ออ่อน และใส่ที่นำมาใช้กับวงเวียนหรือปากกาดินสอ ความดำของดินสอขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของไส้ดินสอ ซึ่งกำหนดให้ทราบด้วยตัวอักษร H และ BH ให้เส้นที่สีเข็มเท่ากันตลอด จาก H ถึง 4H ซึ่งสีจะจางและไส้ดินสอจะแข็งยิ่งขึ้นเหมาะสมกับงานร่างแบบB ให้เส้นสีดำมากกว่าเนื้อไม้ดินสออ่อนจาก B ถึง 6B ซึ่งจะให้สีดำมากขึ้นและไส้ดินสออ่อนยิ่งขึ้น เหมาะสมกับงานสเก็ต เขียนรูป แรเงาHB ให้เส้นลักษณะปานกลาง ใช้อยู่ทั่วไป- ดินสอสี ใช้งานระบายสีบนพื้นกระดาษ และบนภาพขนาดเล็ก- ดินสอเดรยอง เป็นดินสอที่มีส่วนผสมของดิน สี และ ไข ใช้งานระบายสีบนพื้นกระดาษมากกว่าเขียนตัวอักษร- ดินสอถ่าน เป็นส่วนผสมของถ่านหรือสีกับกาว เหมาะกับงานวาดภาพเหมือนและการแรเงาภาพ
2.2.2 เครื่องมือช่วยและประกอบการผลิตงานกราฟิคก. เครื่องช่วยการเขียน ได้แก่- แผ่นโตกราฟ ช่วยย่อหรือขยายภาพโดยไม่ต้องใช้ทักษะในการวาดรูป และไม่ต้องเสียเวลาในการตีตาราง- เครื่องฉายภาพโปร่งแสง ช่วยขยายภาพจากต้นฉบับประเภทโปร่งแสง- เครื่องฉายภาพทึบแสง ช่วยขยายภาพจากต้นฉบับประเภททึบแสง- เครื่องอัด ขยายภาพ ช่วยสร้างภาพจากฟิล์มถ่ายรูป- เครื่องอัดสำเนา ช่วยสร้างภาพจากต้นฉบับที่เป็นกระดาษไขเมื่อต้องการจำนวนมากๆ- เครื่องถ่ายเอกสาร ช่วยสร้างภาพจากต้นฉบับเดิม- เทพเพลท หรือ แบบโครงร่าง รูปทรงต่างๆ ที่ใช้ในงานวาดรูปบนกระดาษ , กระดาษไข- อักษรลอก ให้ตัวอักษรที่คมชัด สวยงามในแบบและขนาดต่างๆ ที่ให้เลือกมากมาย- ตรายาง ช่วยสร้างภาพหรือตัวอักษรได้อย่างรวดเร็ว- แม่แบบเขียนตัวอักษร มีสำหรับช่วยในการเขียนตัวอักษรประดิษฐ์ข.เครื่องประกอบการเขียน ได้แก่- วงเวียน ใช้เพื่อสร้างวงกลมหรือส่วนโค้ง มีทั้งชนิดที่ใช้กับดินสอดำและใช้กับหมึก- ไม้บรรทัดใช้ในงานลากเส้นตรง อาจทำด้วยไม้หรือโลหะหรือพลาสติกและมีความยาวตั้งแต่ 6 นิ้ว ถึง 24 นิ้ว- ไม้ฉากชุด (Set Sqare) นอกจากใช้วัดมุมแล้วยังใช้ในการลอกเส้นในแนวตั้งฉากได้อย่างรวดเร็ว ( ม.ส.ธ. หน้า 152 )- ไม้ที ( T- Square : ใช้กำหนดแนวระดับของกระดาษหรือใช้ร่วมกับไม้ฉาก ในการลากเส้นแนวดิ่ง ( ม.ส.ธ. หน้า 154 )- เครื่องเขียนส่วนโค้งแบบปรับได้ ใช้ในการเขียนส่วนโค้งต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้วงเวียน
2.2.3 เครื่องมือตัดแต่ง ได้แก่ก. ประเภทใบมีด ได้แก่ ใบมีดโกน ( Prazon blade) และใบมีดตัดกระดาษ (Cutter) ใช้ตัดกระดาษและงานละเอียดได้อย่างดีมีลักษณะของใบมีดหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะกับวัสดุที่ต้องการตัดข. ประเภทกรไกร ได้แก่ กรรไกรและเครื่องตัดแบบแท่น

หน่วยที่ 3

หน่วยที่ 3
ความหมายและองค์ประกอบของการออกแบบวัสดุกราฟิกเรื่อง ความหมายของการออกแบบได้มีผู้มีให้กำจัดความไว้หลายแนวคิดดังนี้ เช่นการออกแบบถือการคิดค้น วางแผนเสนอแนะแนวทาง และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ต่อสังคม ในลักษณะ การลงมือกระทำ อันเกิดจากความคิดที่มองเห็นต่อไปรวมถึงการเลือกวัสดุให้สอดคล้องกับกรรมวิธี รูปแบบ และความคิดสร้างสรรค์ของผู้ออกแบบด้วย หรือการออกแบบหมายถึงการปรับปรุงรูปแบบของผลงานเดิมที่มีอยู่แล้ ทั้งในด้านความงาม และประโยชน์ใช้สอย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยนัย หมายถึงการคิดค้นสิ่งใหม่ ( Create new form ) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้ประโยชน์ใช้สอย และความงามเป็นอย่างดี ด้วยการนำส่วนต่างๆ ของการออกแบบมาใช้ ( Elements of Design ) เช่น เส้น สี พื้นผิว ฯลฯ สิ่งใหม่ที่ทำนี้เป็นสิ่งที่ยังมีใครทำขึ้นการออกแบบอีกนัยหนึ่ง เป็นการปรับปรุงสิ่งเก่าให้ดีขึ้น ในลักษณะที่มีความงามปละประโยชน์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นสรุปความหมายของการออกแบบการออกแบบ หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อประโยชน์และความงามด้วยการนำเอาส่วนประกอบของการ ออกแบบ ( Elements of Design) มาใช้รวมไปถึงการปรับปรุงสิ่งเก่าให้ดีขึ้น ในลักษณะเพื่อความงามและประโยชน์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

การออกแบบและการประกอบภาพ

การออกแบบและการประกอบภาพ
๑. การออกแบบ (Designing)คำว่า ออกแบบ ( Design) มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือคำ Design are ซึ่งหมายถึง กำหนดออกมาหรือขีดเขียนไว้, เป้าหมายที่แสดงออกมา การออกแบบเราจึงหมายถึงสิ่งที่อยู่ในความรู้สึก ความคิด อาจจะเป็นโครงการ รูปแบบ หรือแผนยังที่ศิลปินกำหนดขึ้น ด้วยการจัดท่าทาง ถ้อยคำ เส้น สี แสง รูปทรง โครงสร้าง ลักษณะพื้นผิว ตามหลักเกณฑ์ทางศิลปะ หรือพูดโดยสรุปได้ว่า “การออกแบบคือศิลปะของการสร้างสรรค์หน่วยต่างๆ อันน่าสนใจขึ้น”เราจะพบว่า สรรพสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดทำขึ้น นับจากสิ่งที่ง่ายที่สุดไปจนถึงสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนที่สุด ล้วนเกิดจากการออกแบบทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การออกแบบมีส่วนควบคุมระบบชีวิตของเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม การคมนาคม วิทยาสตร์ อุตสาหกรรม เทคโนโลยี และศิลปวัฒนธรรม ดั้งนั้น ความสันติสุขและความสะดวกสบายทั้งหลาย จึงขึ้นอยู่กับการออกแบบของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ ไม่ว่ามนุษย์จะอยู่ในระบบสังคมลักษณะใดก็ตามเราอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งประกอบไปด้วยการออกแบบ ในรูปลักษณะต่างๆ ทุกคนรู้จักการออกแบบ ใช้การออกแบบอยู่แทบตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน แต่มักไม่รู้สึกตัวว่าเราได้ออกแบบ และรู้จักการออกแบบ แม้ว่าการออกแบบจะเป็นศิลปะ อาจจะมีความยากง่ายลึกซึ้งผิดแปลกแตกต่างกัน แต่การออกแบบก็เป็นลักษณะเฉพาะตัวของนักออกแบบ (Designer) แต่ละคน ถ้าคนเราสนใจและพยายามเข้าใจในเรื่องการออกแบบให้ลึกซึ้งมากขึ้น จะช่วยให้เรามีความสามารถในการออกแบบ เข้าใจรูปแบบของผู้อื่น อาจจะมีส่วนช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นประโยชน์ทั้งส่วนตนและผู้อื่น ตลอดทั้งสังคมรอบตัวเรา
2.ประเภทของการออกแบบ (Types of Design)งานออกแบบมีมากมายหลายชนิด อาจจะเริ่มจากสิ่งง่ายๆ ไปจนกระทั่งยุ่งยากสลับซับซ้อนที่สุด ก่อนออกแบบ ผู้ออกแบบจำต้องรู้และเข้าใจว่า เราจะออกแบบอะไร ลักษณะใดจึงจะได้ผลดีตามจุดมุ่งหมาย โดยสำนึกถึงหลักเกณฑ์ที่ “ยาลัส วิทรูวิอัส” สถาปนิคชาวโรมันได้เน้นไว้- พิจารณาถึงหน้าที่ประโยชน์ใช้สอย (Utility or Function)- คิดถึงความมั่นคงหรือความมีชีวิตชีวา (Strength or Vitality)- คำนึงถึงความสวยงาม (Beauty or Appearance)

งานออกแบบประเภทต่างๆ

งานออกแบบประเภทต่างๆ คือ
1. การออกแบบตกแต่ง (Decorative designs) ได้แก่การออกแบบเพื่อตกแต่งวัตถุต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณค่าทางความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอย อาจเป็นลวดลาย ภาพคน ภาพสัตว์ สัญลักษณ์ หรือแนวความคิดอย่างใดก็ได้ รวมทั้งงานตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน
2. การออกแบบทางการค้า (Commercial designs) ได้แก่งานออกแบบเพื่อบังเกิดผลด้านธุรกิจโฆษณา หรือความมุ่งหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและการบริโภค ตลอดทั้งการออกแบบด้านการพิมพ์ (Graphic Designs)
3. การออกแบบสร้างสรรค์ (Creative designs) คืองานออกแบบงานศิลปะแขนงต่างๆ ตามแนวความคิดและความรู้สึกเฉพาะคน มีการเลือกวัสดุที่นำมาประกอบงานพร้อมทั้งสีเทคนิคและวิธีการแปลกใหม่ ซึ่งเรียกว่าเป็นชมเป็นผู้ชมเปลี่ยนแปลง ริเริ่มหรือมีนวัตกรรมในทางศิลปะ (Art innovator) อยู่เสมอ
4. การออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial designs) เป็นงานออกแบบเกี่ยวกับการผลิตทางจำนวน (Mass production) เป็นงานออกแบบเกี่ยวกับการผลิตทางจำนวน (Mass production) นับจากสิ่งเล็กไปจนถึงพวกเครื่องจักรกล ตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนองความต้องการของตลาด
5. การออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural designs) ได้แก่งานออกแบบเกี่ยวกับแผนผังต่างๆ ตามหลักนิเวศวิทยา (Ecology) และการออกแบบผังเมือง (Urlan centre) เช่นศูนย์กลางของทางราชการ (Shopping centre) ศูนย์กลางสังคม (Social centre) ศูนย์การค้า (shopping centre) และอื่นๆ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายของชุมชนทุกด้าน
๓.บ่อเกิดของความคิดในการออกแบบ (Source of Design Idea)นักออกแบบนอกจากจะมีความรู้ในรูปทรงสามมิติและเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว การจะผลิตงานการออกแบบได้ดีนั้น จำต้องมีความชำนาญในการสร้างสรรค์ มีความเข้าใจในการศึกษาหาแหล่งที่ทำให้ความบันดาลใจในการออกแบบ เพื่อนำมาประยุกต์ให้เกิดแบบอย่างใหม่ๆ ขึ้นในลักษณะเฉพาะตน แหล่งที่มาของการออกแบบ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดให้มีแนวความคิดสร้างสรรค์มี ๓ ทางคือ
๑. จากรูปทรงตามธรรมชาติ (Nature forms) มนุษย์รู้จักนำแบบอย่างทางธรราชาติมาใช้ในการออกแบบกันมาช้านานแล้ว ยึดถือธรรมชาติเป็นครูทั้งด้านการจัดเส้น สี รูปทรง ผัง พื้นที่ จังหวะ แล้วนำมาดัดแปลงแต่งเติมให้งดงามกว่า หรือตัดทอนออกไปได้รูปแบบที่ง่ายกว่าธรรมชาติ เช่น รูปคน สัตว์ พืช เป็นต้น
๒. จากลวดลายทางประวัติศาสตร์ (Historic Ornaments) ในการออกแบบลวดลายตกแต่ง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมนิยมของชาติไว้ ผู้ออกแบบควรศึกษาหาความรู้จากแบบอย่างลวดลายประดับสมัยต่างๆ ลวดลายปั้นปูน ลายสลักไม้ ลายสลักหิน ลายสลักดุนนูนบนแผ่นโลหะ ภาพเขียน ลายประดับมุก ฯลฯ เพื่อให้ทราบลักษณะแท้จริงของลวดลายสมัยต่างๆ เช่น ลายสกุลช่างเชียงแสน สุโขทัย ลานนาไทย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ อาจเป็นลายเครือเถาลายกระหนก ภาพคนและสัตว์ในนิยาย แล้วนำประยุกต์ให้เหมาะสมกับสมัยนิยม โดยยังรักษาเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้ปรากฏ อาจจะเป็นลายประดับอาคาร ประดับเครื่องเรือน ลวดลายผ้าและหัตกรรมอื่นๆ
๓. จากรูปแบบเรขาคณิต (Geometric Patterns) หมายถึงการนำเอารูปทรงพื้นฐาน หรือรูปแบบทางเรขาคณิต ซึ่งประกอบด้วยรูปวงกลม วงรี สามเหลี่ยม สีเหลี่ยมจัตุรัส สีเหลี่ยมผืนผ้า รูปกรวย รูปทรงกระบอก รวมทั้งรูปทรงอิสระอื่นๆ มาจัดเป็นองค์ประกอบแห่งศิลปะอย่างงดงาม ทั้งในทางวิจิตรศิลป์ มัณฑนศิลป์ หรือประยุกต์ศิลป์ ซึ่งเรียกว่า “การออกแบบนามธรรม” ดังที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป๔. ข้อควรคำนึงในการออกแบบผู้ออกแบบหรือนักออกแบบ (Designer) จะออกแบบในลักษณะใดหรือประเภทใดก็ตาม ก่อนที่จะออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. วัสดุ (Materials)วัสดุที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน บางสิ่งเหนียวเปราะแข็งแรง โปร่งใส หนัก-เบา ฯลฯ เพื่อให้การออกแบบไดผลดี เราควรจะเลือกวัสดุให้เหมาะสม เช่น สร้างบ้าน จะใช้ไม้ ดินเหนียว เหล็กกล้า หรือกระจก จะออกแบบการผลิต ควรใช้กระดาษวาดเขียนผนึกกับผ้าดินย่อมดีกว่าการใช้ไม้ เหล็ก หรือตะกั่ว เป็นต้น
2. หน้าที่ในการนำไปใช้ (Function)เมื่อทราบถึงวัสดุที่จะใช้ในการออกแบบแล้ว ควรทราบถึงหน้าที่ของมันด้วย ทั้งนี้เราพิจารณาถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุแต่ละอย่าง เพื่อจะใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงานนั้นๆวัสดุกับหน้าที่การใช้งาน มีความสัมพันธ์กันมาก เมื่อเราพิจารณาหน้าที่ในการนำไปใช้ เราสามารถเลือกวัสดุได้เหมาะสมกว่า เช่นสร้างประตูห้องน้ำ หากใช้ไม้ย่อมผุพังได้ง่าย เพราะถูกน้ำย่อย หากเปลี่ยนเป็นสังกะสี หรือครอบด้วยสังกะสี ประตูห้องน้ำย่อมใช้ทนทานได้นานกว่า
3. ลักษณะเฉพาะแบบ (Style)หมายถึงการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลมาทางวัฒนธรรมที่ตกทอดไว้อาจเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่อารยธรรมดีมาก่อน ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาตินั้นด้วย เช่น สถาปัตยกรรมไทยมีทรงจั่วโดยทั่วไป จีนมีทรงเรือสำเภากระเบื้องลูกฟูก ทางตะวันตกยังคงรักษาไว้ซึ่งศิลปะแบบโกธิค(Gothic Art) เป็นต้น
4. สมัยนิยม (Fashion)ในการออกแบบนั้น บางครั้งต้องพิจารณาถึงความนิยมในยุคสมัยด้วยเพราะสมัยนิยมเป็นเรื่องของจิตใจ บางสิ่งเป็นของดีงาม มีคุณค่าสูง แต่หมดยุคหมดสมัยไปแล้ว ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม นักออกแบบจำเป็นที่ต้องประยุกต์งานออกแบบให้เหมาะกับความนิยมในสังคม ไม่เฉพาะแต่พิจารณาความเหมาะสมเรื่องวัสดุ และหน้าที่การใช้งานเท่านั้น
5. ความแปลกใหม่ (Novelty)ความแปลกใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบมาก บางทีทำลายกฏเกณฑ์ต่างๆ ดังที่กล่าวมากแล้วทั้งหมดด้วยซ้ำไป ความแปลกใหม่ เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจได้ทันที ทั้งๆ ที่เรายังไม่ทราบว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร จากอิทธิพลของความแปลกใหม่ ทำให้เราได้พบเห็นลักษณะรูปร่างแปลกๆ ในโลกแห่งการออกแบบในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ยังมีราคาสูงกว่าแทนทั้งสิ้น เช่น แก้วน้ำทรงแปลกๆ ขวดสุรา ขวดน้ำหอม โคมไฟ ร่ม ปากกา นาฬิกา ฯลฯ และถ้าสิ่งแปลกใหม่ในการออกแบบนั้นมีคุณค่าและประโยชน์ใช้สอยมีมากด้วยแล้ว จะยืนยงอยู่ได้นานและสูงราคาไปด้วย เราสามารถสร้างความแปลกใหม่ได้คือ
(1) สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ผู้ออกแบบสามารพคิดหรือคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาเพื่อเร้าความสนใจ ผู้พบเห็นได้
(2) การดัดแปลงของเดิมให้แปลกใหม่ หมายถึงการเติมแต่งดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้แปลกใหม่ยิ่งขึ้น
(3) ความแปลกใหม่จากของเก่าดั้งเดิม ในกรณีที่เรามีของเก่าที่เก็บไว้นาน หากนำมาให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น ก็ถือเป็นความแปลกใหม่ ทำให้ของนั้นมีคุณค่าสูงขึ้นได้ด้วย เหตุนี้จึงมีนักสะสมของเก่าเกิดขึ้นมาก เช่น การสะสมแสตมป์ สะสมไม้ขีดไฟ พระเครื่อง ฯลฯ
(4) เกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาชวนเชื่อเป็นจิตวิทยาอันหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดทัศนคติในของธรรมดาเป็นของแปลกใหม่ได้ แต่บางครั้งก็เป็นความแลกใหม่ชั่วคราวเท่านั้น
(5) เกิดจากการเปรียบเทียบในระหว่างจำนวน นั้นคือหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในสิ่งอื่นที่มีจำนวนมากกว่า จะกลายเป็นของแปลกใหม่ได้เช่นกัน เช่น แกะมีสีขาว ถ้าแกะออกมาเป็นสีดำในกลุ่มฝูงแกะก็กลายเป็นของแปลกได้
5. องค์ประกอบในการออกแบบ (Element of Design)ในการออกแบบ เราอาจจะเลือกใช้สิ่งต่างๆ เข้ามาประกอบกันตามที่ผู้ออกแบบต้องการ และเห็นว่าเหมาะสม เพราะองค์ประกอบแต่ละประเภทนั้นต่างมีความสำคัญและมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเองอยู่แล้ว องค์ประกอบต่างๆ ในกาออกแบบคือ1) เส้น (Line)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอับดับแรกสุดที่จะประกอบเป็นรูปร่างหรือขอบเขตและเป็นรากฐานของศิลปะทุกประเภท เส้นมีหลายลักษณะ แต่ละลักษณะให้ความหมายและความรู้สึกต่างกัน คือ
1. เส้นตรง ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความมั่นคง แข็งแรง ตรงไปตรงมา ความว่าย ความสง่างาม และแสดงความสูงหรือทิศทางในแนวตั้ง
2. เส้นระดับหรือเส้นราบ ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความสงบ ความนิ่งเฉย ความกว้างขวาง และชี้ทิศทางในแนวนอน
3. เส้นเฉียงหรือเส้นทแยง ให้ความรู้สึกในแง่ความกว้าง แสดงความเคลื่อนไหวแสดงความต้านทาน ชี้ทิศทางลักษณะทแยง
4. เส้นโค้ง เส้นคด ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แสดงความนุ่มนวล อ่อนหวานสวยงาม
5. เส้นประ มักจะใช้เพื่อให้เกิดความรู้ตื่นเต้น แสดงการเคลื่อนที่ไม่มีจุดจบ ถ้าใช้มากไปจะทำให้ยุ่งยากซับซ้อน
6. เส้นหักหรือเส้นซิกแซก แสดงความเคลื่อนไหว รวดเร็ว ความกระด้างเส้นเป็นโครงร่างของการออกแบบ เป็นงานศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ภาพลายเส้น ภาพร่าง ภาพการ์ตูน การใช้เส้นหนัก-เบา เพื่อแสดงความตื้นลึกของภาพ เป็นต้น2) รูปร่าง (Shape)หมายถึงเส้นรอบนอก และเส้นอันเป็นส่วนโค้งส่วนเว้าของสิ่งต่างๆ เป็นเนื้อที่ในของเขตที่เกิดจากเส้น เช่น รูปวงกลม รูปทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างในลักษณะต่างๆ รูปร่างมีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาวเท่านั้น คือมีลักษณะเป็น 2 มิติ3) รูปทรง (Form)รูปทรงเป็นปริมาตรอันเกิดจากเส้น มีความกว้าง ความยาวและความลึก (ความหนาหรือความสูง) จึงมีลักษณะเป็น 3 มิติ รูปทรงที่ใช้ในการออกแบบมี 3 ลักษณะคือ(1) รูปทรงมูลฐาน (Basic form) เป็นรูปทรงที่ได้จากเรขาคณิต อาจจะวางเรียงกันหรือทับกัน ทำให้เกิดรูปทรงใหม่อีกหลายแบบ(2) รูปทรงธรรมชาติ (Nature form) เป็นการนำรูปทรงที่มีตามธรรมชาติมาดัดแปลง ให้เหมาะสมกลมกลืนกับการออกแบบแต่ละเรื่องเป็นแบบที่ใกล้ธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้
(3) รูปทรงอิสระ แบบนี้ไม้มีทรงที่แน่นอน อาจจะได้เค้าโครงมาจากทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงธรรมชาติก็ได้
(4) มวล (Mass)หมายถึงสิ่งต่างๆที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน มีลักษณะเป็นรูปร่าง มีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาด กินเนื้อที่ในอากาศตามที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น เช่น การปั้น แกะสลัก รูปนั้นอาจจะกลวงหรือตัน หรือเป็นแท่งในลักษณะต่างๆ
(5) ช่องไฟ (Space)หมายถึงช่องว่างหรือที่ว่าง เป็นการวางระยะภาพในและภายนอกในการประกอบภาพ เพื่อให้เกิดความเด่นและมีสภาวะสมดุลย์ ในกรณีที่เป็นงานศิลปะด้านจิตรกรรม เช่น การเขียนลายไทย ตัวลายเราถือเป็น Positive space ส่วนฉากหลังหรือพื้นหลังถือเป็น Negative space6) คุณค่า (Value) หมายถึงคุณค่าหนักเบาที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกได้ทั้งด้านมิติและการเห็นจริงเห็นจังโดยทั่วไปใช้คู่กับแสงเงา แสงจะเป็นตัวหลักในการพิจารณาคุณค่า ซึ่งคุณค่าที่มีความงามทางศิลปะนั้นแสงจะทำมุมประมาณ 48๐ กับวัตถุแสงเงา (Tone) จะช่วยให้มองเห็นผิววัตถุ เรียบ ขรุขระ หยาบ ตื้น ลึก ได้
(7) ลักษณะพื้นผิว (Texture)เป็นสิ่งที่จะช่วยแสดงออกถึงความรู้สึกและความเป็นจริงของวัตถุ เช่นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกถึงความกระด้าง แข็งแรงผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกระคายเคือง สาก ไม่น่าจับต้องผิวละเอียด ให้ความรู้สึกนิ่มนวล อ่อนไหววัตถุอย่างเดียวกัน อาจให้ความรู้สึกได้หลายแนว ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิว พวกเรารู้จักดัดแปลง
(8) สมดุล (Balance)เป็นความรู้สึกพอดี เหมาะสม ในการออกแบบหรือประกอบภาพทั้งด้านรูปร่างรูปทรง จังหวะที่ว่าง และการใช้สี สมดุลมี 2ลักษณะก. ซ้ายขวาเท่ากัน บางทีเราเรียกเป็น (Formal balance) เป็นลักษณะสมดุลย์ที่เท่ากันหรือเหมือนกันทั้งสองข้าง เราพบเห็นบ่อยครั้งในธรรมชาติ เช่น ถ้ามี 2 สิ่งก็จัดไว้คนละข้าง ถ้ามี 3สิ่ง นำไว้ตรงกลางอีก 1 พระปรางค์วัดอรุณใช้องค์ใหญ่ไว้กลางแล้ว 4 องค์เล็ก เอาไว้ข้างละ2 องค์ที่เท่ากันทั้งซ้ายขวาข. ซ้ายขวาไม่เท่ากัน (Assymmetrical Balance) บางทีเราเรียกเป็น Informal balance เป็นลักษณะที่เปรียบเทียบซ้าย-ขวา ไม่เท่ากัน เพราะลักษณะแตกต่างกัน แต่ดูโดยส่วนรวมทั้งหมดแล้วให้ความรู้สึกเท่ากัน แบบนี้น่าสนใจกว่าแบบแรกเพราะดูแล้วไม่เบื่อ การจัดก็อิสระกว่า
(9) สี (Colors)สีเป็นส่วนมูลฐานในการออกแบบ เป็นสิ่งที่ประทับใจอันดับแรกที่จะช่วยให้คนดูสนใจงานออกแบบ หรืองานศิลปะทั่ว ๆ ไป นอกจากจะเร้าความสนใจ ให้ความสวยงาม ให้ความหมาย ข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วสียังช่วยทำให้การออกแบบมีสมดุลได้อีกด้วย

ทฤษฏีสี1. สี (Color)

ทฤษฏีสี1. สี (Color)สีคือลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่ตา ให้เห็นเป็น แดง ดำ เขียว เหลือง ฯลฯ การที่ตาจะมองเห็นวัตถุเป็นสีใดก็ต่อเมื่อแสงจากวัตถุนั้นสะท้อนมาเข้าตา ซึ่งอาจจะเป็นแสงที่เปล่งออกมาเอง หรือแสงจากที่อื่นมากระทบวัตถุแสงสะท้อนสีก็ได้ ถ้าเราให้แสงส่องผ่านแท่งแก้วสามเหลื่ยมแล้วนำฉากมารับ จะปรากฏเป็นสีขึ้นมา 7 สี เรียกว่าสเปคครับ (Spectrum) คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีทั้งเจ็ด บางทีตาอาจเห็นได้ชัดเจนเพียง 5 สีคือ สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง และสีแดง
2. ทฤษฏีของสี (Theory of color)หลังจากที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบสีในแสงสว่างแล้วได้เกิดทฤษฏีสีขึ้นมาโดยที่นักเคมีและนักศิลปะตกลงกันในเรื่องลักษณะแท่งการเกิดสี 2 ลักษณะคือการทำขึ้นเป็นสีต่างๆ กับการผสมกันระหว่างสี เพื่อให้เกิดอีกสีหนึ่ง ศิลปินได้มีการใช้สีต่างๆ และมีการค้นคว้าการใช้สีในทางศิลปะไว้มาก จนเกิดเป็นทฤษฏีสีอีกหลายทฤษฏี แต่ที่นิยมกันมากมี 2 ทฤษฏีของแปรงหรือระบบของแปรง (Prang System) และทฤษฏีหรือระบบของมัลเชล (Munsell System) ทฤษฏีทั่งสองมีส่วนคล้ายคลึงกัน และนำมาปฏิบัติได้ผลดีเป็นอย่างมากระบบสีของแปรง (Prang System)กำหนดแม่สีไว้ 3 สีคือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้งสามสามารถผสมเป็นสีอื่นได้อีกมากมาย เมื่อนำเอาแม่สีทั้งสามผสมกันในอัตราหรือปริมาณที่เท่ากัน จะเกิดเป็นสีกลาง (Neutral Color) ขึ้น สีกลางดังกล่าวถ้านำไปผสมกับสีอื่นๆ จะเกิดเป็นสีแก่หรือสีเข้มขึ้นได้เช่นเดียวกับการนำสีขาวไปผสมกับสีอื่นๆ ก็จะเกิดเป็นสีที่อ่อนจางลง มีผู้ทดลองใช้สีเพียง 3 สี เขียนภาพ ก็ปรากฏว่าได้ผล โดยการผสมสีเป็นสีกลางไว้ก่อน เมื่อต้องการจะระบายส่วนที่เป็นเงาก็ใช้สีกลางนั้นผสมกันสีแต่ละสีที่ต้องการได้ตามระบบของแปรงนี้ ทำให้เกิดการสร้างวงล้อสีธรรมชาติขึ้น (Color wheel) ด้วยการแบ่งวงกลมเป็นแฉกๆ คือ 6 แฉก 12 แฉก และ 24 แฉก แต่ละแฉกในวงกลมก็เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแม่สีระบบของมัลเซลล์ (Munsell System)กำหนดแม่สีไว้ 5 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง เมื่อนำสีทั้ง ห้า มาผสมกันเข้าจะได้สีกลาง (Neutral color) เช่นเดียวกันระบบของแปรงแต่การผสมสีต่อๆ ไปนั้น การผสมครั้งแรกได้ เป็น 10 สี และต่อไปได้เป็น 20 สี และ 40 สี นอกจากนั้นยังจัดคุณค่าของสีไว้อีกสีละ 9 ระยะ ตั้งแต่อ่อนที่สุดถึงแก่ที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อเอาสีที่ผสมไว้ถึง 40 สี มาวัดคุณค่าเป็นสีละ 9 ระยะ ก็จะได้สีมากถึง 360 สี ซึ่งระบบสีของแปรงก็อาจทำได้ แต่ต้องผสมสีกันหลายครั้ง การผสมเช่นนั้นอาจไม่ได้คุณสมบัติแท้จริงก็ได้ เมื่อระบบของมันเชลล์ผสมสีได้มากมายเช่นนี้ ก็เลยคิดชื่อสีเป็นตัวเลข เพื่อไม่ต้องตั้งชื่อถึง 300 กว่าชื่อ แต่ก็ยังมีผู้มาตั้งชื่อขึ้นภายหลัง แล้วใช้ตัวเลขกำกับไว้ด้วยเช่น บริษัทที่ทำสีกระป๋อง ทั้งสีน้ำและสีน้ำมัน จำหน่ายในปัจจุบัน ก็ใช้ตามระบบสีของมันเชลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมากมิติของสี (The Dimension of Color)คุณสมบัติของสีตามระบบของทฤษฏีสีสากลนั้น กำหนดไว้ 3 ประการ(1) สีแท้ (Hue)(2) คุณค่าของสี (Value)(3) ความเข้มของสี (Intensity)สีแท้ (Hue)เป็นมิติแรกของสีและเป็นชื่อของสีต่างๆ เช่น แดง น้ำเงิน เขียว หรือสีทุกชนิดที่ไม่ได้ผสมกับสีอื่นเลย ถ้าเราเอาสีแท้สองสีผสมกัน ก็จะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้น เช่น แดงผสมกับน้ำเงิน จะได้เป็นสีม่วง สีน้ำเงินผสมกับสีเขียว ได้เป็นสีน้ำเงินเขียว ซึ่งถ้าเราเข้าใจในเรื่องการผสมสีเป็นอย่างดี จะสามารถผสมสีได้อย่างสวยงาม การผสมดังกล่าวจะได้สีเป็นขั้นต่างๆ เป็นอันดับขั้นของสี (Classes of Color) แบ่งเป็น 5 ขั้นคือ1. สีขั้นต้นหรือแม่สี (Primary Color)(1) สีน้ำเงินแก่ (Prussian blue) หรือ blue(2) สีแดงชาด (Crimson Lake) หรือ red(3) สีเหลือง (Camboge Tint) หรือ Yellow2. สีขั้นที่สอง (Hinary of Secondary Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นต้น คือ(1) ส้ม (Orange) ได้จาก แดง เหลือง(2) เขียว (Green) ได้จากน้ำเงิน เหลือง(3) ม่วง (Violet) ได้จาก น้ำเงิน แดง3. สีขั้นที่สาม (Intermediate Color)เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่สอง กับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้เคียงกันคือ(1) เหลืองแกมเขียว (เหลือง + เขียว)(2) เหลืองแกมส้ม (เหลือง + ส้ม)(3) แดงแกมส้ม (แดง + ส้ม)(4) แดงแกมม่วง (แดง + ม่วง)(5) น้ำเงินแกมม่วง (น้ำเงิน + ม่วง)(6) น้ำเงินแกมเขียว (น้ำเงิน + เขียว

สีทุกสีนอกจากที่กล่าวไว้ในวงล้อสี (Color wheel)

สีทุกสีนอกจากที่กล่าวไว้ในวงล้อสี (Color wheel) ยังมีสีขาวและดำซึ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ ถ้าเรานำสีขาวหรือสีดำผสมกับสีแท้ เราจะได้น้ำหนัก (Value) ของสีแตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่างกันคือ
(1) สีแท้ผสมสีขาว เรียกว่า Tint เมื่อนำสีขาวไปผสมกับสีใดก็จะช่วยเพิ่มขนาดของสีนั้น (ในความรู้สึก) ให้ดูใหญ่ขึ้น เพราะสีขาวช่วยสะท้อนแสง
(2) สีดำ ถ้าไปผสมกับสีใดจะช่วยลดขนาดของสีนั้นให้รู้สึกเล็กลง เพราะสีดำดูดซึมแสงของสีนั้น๓. สีเทา ถ้านำไปผสมกับสีขาว เรียกว่า Tone ของสีซึ่งมีอยู่ประมาณ ๗-๙ ระดับ เมื่อนำสีเทาไปผสมสีใดจะทำให้สีนั้นรู้สึกหม่นลงคุณค่าสีจึงมีความหมายมากในการออกแบบ เพราะช่วยให้งานมีคุณค่าหรือหมดคุณค่าได้ นอกจากจะใช้งานศิลปะทั่วไปแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย เช่น การทาสีห้อง การใช้สีสำหรับเครื่องแต่งกาย คนตัวเล็กอาจใช้สีจาง จะดูโตขึ้น หรือถ้าโตมาก อ้วนมาก การใช้สีเข้มจะช่วยให้ดูเล็กหรือผอมลงได้ เป็นต้นความเข้มของสี (Intenssity)ความเข้มหรือความเด่นชัด เป็นมิติที่สามของสี ที่แสดงถึงความเด่น ความหนักแน่น ความสดใส หรือเป็นสีที่ห่างจากสีที่เป็นกลางเพียงไร เป็นเครื่องชี้ว่าสีนั้นห่างจากสีขาวหรือสีกลางเท่าไรสีที่มีความเด่นชัดหรือความเข้มมาก จะสะดุดตาเรียกร้องความสนใจ ในขณะเดียวกัน สีที่มีความเด่นชัดหรือความเข้มน้อย จะให้ความรู้สึกละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ความเข้มหรือความเด่นของสีอาจได้จากการผสมสี คือใช้สีที่เป็นกลาง หรือสีที่ตรงกันข้ามผสมกัน ซึ่งนิยมพูดกันทั่วไปว่า ค่าสีให้เป็นกลาง ความเด่นชัดของสีจะลดลง แต่ถ้าใช้วีที่มีความเด่นชัดล้อมรอบด้วยสีหม่นก็จะทำให้สีนั้นมีความเด่นชัดยิ่งขึ้นความเด่นชัดหรือความเข้มของสี เรียกเรียกอีอย่างหนึ่งว่าโครมา (Chroma) นอกจากนั้นก็แสดงถึงความมืด ความสว่างของสีแล้ว ยังให้ความรู้สึกใกล้ไกลอีกด้วย การจะทำให้สีมีความเข้มหรือความเด่นชัดต่างกัน อาจทำได้หลายวิธี๑. การนำเอาสีตรงข้นมาระบายใกล้ๆ กัน จะช่วยส่งเสริมให้สีทั้งสองมีความเข้มมากขึ้น๒. การระบายสีที่ต้องการบนพื้นสีเทาหรือสีดำ จะทำให้สีนั้นมีความเข้มยิ่งขึ้น๓. ถ้านำสีที่ต้องการระบายพื้นสีขาว จะทะให้สีนั้นลดลงความเข้มลง เช่น สีเหลือง ระบายบนพื้นสีขาว แต่ถ้าระบายบนพื้นสีดำ สีจะเข้มขึ้น๔. ถ้าต้องการลดความเข้มของสี อาจใช้วิธีผสมสีดำหรือสีตรงข้ามลงในสีนั้นเล็กน้อยสีจะลดความเข้มข้นลงได้8. ประเภทของสีเรื่องเกี่ยวกับสีไม่ใช่เกี่ยวข้องเฉพาะศิลปินเท่านั้น ยังมีบุคคลอื่นที่นำสีไปใช้อีกมากตามทฤษฏีของสีหรือลักษณะของแม่สี เมื่อพิจารณาจากการนำไปใช้แล้ว แบ่งประเภทของสีได้ดั้งนี้
1. สีของช่างเขียนหรือศิลปิน (Artist) สีช่างเขียนหรือวัตถุธาตุ เป็นซึ่งจิตรกรใช้ในการเขียนภาพ ระบายภาพ สีทาบ้าน อาคาร หรือสีที่ใช้ในการออกแบบตกแต่งทั่วๆ ไปเหมาะสำหรับงานด้านวิจิตรศิลป์ และนะกออกแบบ มีแม่สี 3 สี คือก. สีแดง (Crimson Lake) หรือ Rodข. สีเหลือง (Cemboge Yellow) หรือ Yellowค. สีน้ำเงิน ( Prussian blue) หรือ Blueนอกจากนี้ยังมีสีต่างๆ ซึ่งเกิดจากการผสม เป็นสีขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ซึ่งจัดไว้ในวงล้อของสี ดังกล่าวมาแล้ว
2. สีทางวิทยาศาสตร์ (Spectrum Primaries) สีทางวิทยาศาสตร์คือสีของแสง อาจเป็นแสงอาทิตย์ ไฟฟ้า เทียน หรือแสงจากสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คิดประดิษฐ์ขึ้น มีแม่สี 3 สี ซึ่งถ้านำมาประสานกันจะเกิดเป็นสีขาว แม่สีทางวิทยาศาสตร์คือก. สีแดง (Vermillion red) หรือ Redข. สีเขียว (Emerald Green) Greenค. สีน้ำเงิน (Blue)การประสานกันของแสงสีต่างๆ จะทำให้เกิดสีใหม่ขึ้นคือBlue + Green = YellowBlue + Red = VioletRed + Green = Orangeทางด้านจิตวิทยายอมรับกันว่าสีแต่ละสีมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ นักออกแบบด้านต่างๆ ได้นำเอาข้อยอมรับเกี่ยวกับอิทธิพลของสีมาใช้ในการออกแบบงานด้านต่างๆ มากมายสีแดง ให้ความรู้สึกร้อนแรง และตื่นเต้นสีเหลือง ให้ความรู้สึกสว่าง ความสุข ทำให้จิตใจสดใสสีเขียว ให้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย และสงบสันติสีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกเย็นสบาย สงบเงียบ เคร่งขรึมและปลอดภัยสีดำ ให้ความรูสึกเศร้าใจ ลึกลับและหนักแน่นสีขาว ให้ความรูสึกสะอาด ผุดผ่อง ความบริสุทธิ์สดใส
3. วรรณของสีสีอุ่น (Warm Color)บางทีเราเรียกเป็นสีร้อน หมายถึงสีที่แสดงความอบอุ่นหรือร้อน ให้ความรู้สึกอบอุ่นแจ่มใส รุนแรง ให้ความสว่าง การนำเอาสีอุ่นมาแต่งบ้าน จะช่วยให้บ้านสว่างขึ้น และให้ความรู้สึกใกล้เข้ามา สีอุ่นจะมีอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสีคือให้สีที่ออกมาทางสีแดง สีเหลือง เช่น สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง

สีเย็น(Cool Color)

สีเย็น(Cool Color)หมายถึงสีที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ เรียบ และดูถดถอยออกไป การนำเอาสีเย็นมาตกแต่งบ้าน เช่น ทาสีเพดานด้วยสีฟ้าอ่อน เขียวอ่อน จะให้ความรู้สึกว่าเพดานสูงขึ้นไป สีเย็นจะอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสี เป็นสีที่ออมาทางสีน้ำเงิน สีเขียว เช่น สีเหลืองเขียว สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง สีม่วงเราจะพบว่าสีเหลือง (Yellow) และสีม่วง (Violet) อนุโลมให้เข้าอยู่ได้ทั้งสีอุ่นและสีเย็นสีเอกรงค์ (Monochrome)หมายถึงการใช้สีเพียงสีเดียว เพื่อแสดงออกถึงน้ำหนักของสีอาจจะใช้สีดำ สีเทา หรือสีขาวผสมลงในสีใดหนึ่ง ให้น้ำหนักสีแตกต่างกันในลักษณะใกล้ไกล หรืออาจจะให้สีแท้หนึ่งสีผสมกับสีอื่นอีก 2-3 สี ที่สัมพันธ์กัน (สีที่เรียงติดกันในวงล้อสี) ระบายลงไปในภาพมีความกลมกลืนอย่างลึกซึ้ง ดูงดงาม เช่นต้องการให้สีน้ำเงินเป็นเอกรงค์ เราก็นำสีที่เรียงจากสีน้ำเงินคือ สีน้ำเงินเขียว สีเขียว สีเหลืองเขียว สีเหลือง สีใดสีหนึ่ง หรือหลายสีนำผสมสีน้ำเงิน แต่รวมแล้วไม่เกิน 6 สี ตามวงล้อของสี ถ้านำมาถึง 7 สี จะกลายเป็นสีตัดกัน นำมาผสมไม่ได้ เพียงใช้เพียง 2-3 สี เมื่อระบายลงในภาพแล้วจะได้ภาพที่กลมกลืน สวยงามการใช้สีเอกรงค์ได้รับความนิยมมากในระยะแรกๆ และเป็นการใช้สีที่ยากมากด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับน้ำหนักใกล้ไกล ศิลปินตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น นิยมเขียนสีเดียวมาก ดังจะพบจากจิตรกรของโดยทั่วไป ปัจจุบันนี้การใช้สีเอกรงค์ยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยเฉพาะด้านการออกแบบ การตกแต่ง หรือจิตรกรรมที่เกี่ยวกับจินตนาการโดยเฉพาะสีกลมกลืน (Haemony)สีกลมกลืนคือสีที่ประสาน และอยู่ใกล้เคียงกันในวงล้อ เช่น พวกยึดสีใดเป็นหลัก และใช้สีข้างใดข้างหนึ่ง 2-3 สี เขียนหรือระบายภาพด้วยกัน จะได้มีที่กลมกลืนงดงามการใช้สีกลมกลืนอาจใช้สีข้างใดข้างกนึ่ง หรือใช้ทั้งสองข้างจากวงล้อสีก็ได้นับรวมแล้วต้องไม่เกิน 6 สี เช่น “สีแดง” กลมกลืนกับสี(แดงม่วง สีม่วง สีน้ำเงิน คือสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเขียว) หรือ (สีแดงม่วง สีม่วง วีแดงส้ม สีส้ม)สีตรงข้าม (Complementary)สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน (Contrast) บางครั้งเรียกเป็นสีคู่ปฏิปักษ์ หมายถึงสีตรงข้ามกันในวงล้อสีมีทั้งหมด 6 คู่ สีตรงกันข้ามนอกจากจะอยู่ในต่ำแหน่งตรงกันข้ามแล้วยังมีความเข้มเท่าๆ กัน ให้ความรู้สึกรุนแรงและตัดกันเท่าๆ กัน เราจึงไม่นิยมใช้ด้วยกันในเปอร์เซนต์สีที่เท่าเทียมกัน เพราะเป็นการข่มสีอย่างรุ่นแรง เช่น เสื้อสีแดง กางเกงสีเขียว หรือเสื้อสีม่วง กระโปรงสีเหลือง เป็นต้น การใช้สีตรงกันข้าม มีวิธีใช้คือ1. ระบายสีตรงกันข้ามกันในเนื้อที่หรือพื้นที่ต่างกัน อาจใช้สีหนึ่งประมาณ 75% หรือ 80% อีกสีหนึ่ง 25% หรือ 20%2. ระบายสีตรงกันข้ามในพื้นที่เท่ากัน แต่ลดความเข้มของสีตรงข้ามกันเสีย สีหนึ่งจะผสมด้วยสีดำ สีเทา หรือ สีขาวก็ได้3. ระบายสีตรงข้ามคู่นั้นในบริเวณพื้นที่เท่าๆ กัน แต่ระหว่างรูปร่างตรงรอยต่อของสีตรงข้ามคู่นั้น ให้ใช้สีดำ สีเทา หรือสีขาว ลดความเข้มของสี จะช่วยให้สีไม่ตัดกันจนเกินไป จะได้ภาพที่น่าดูยิ่งขึ้น4. ใช้วิธีลดความเข้มของสีใดหนึ่งที่เป็นสีตรงข้าม อาจใช้ลักษณะผิว (Texture) ของกรดาษ ลักษณะของสีพื้น (Background) หรือวิธีอื่นๆบางครั้งการใช้สีตรงข้ามกันทำได้ยาก เราอาจเลี่ยงมาใช้สีใกล้เคียงของสีตรงข้ามได้ ซึ่งจะให้ผลดีกว่า โดยเฉพาะงานด้านวิจิตรศิลป์ทั่วไป สีใกล้เคียงของสีตรงข้าม เช่นสีแดง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-เขียวสีเหลือง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีแดง-ม่วงสีน้ำเงิน มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-ม่วงสีส้ม มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-ม่วงสีเขียว มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีแดง-ส้มสีม่วง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีเหลือง-เขียว