ขั้นตอนที่ 4
เมื่อถ่ายเฟรมสกรีนจนได้เวลาที่คาดไว้ นำไปแช่น้ำและฉีดน้ำส่วนที่เป็นลายพิมพ์ กาวอัดส่วนที่ถูกแสงจะจับแน่นเนื้อผ้า ส่วนที่ยังไม่ถูกกับแสงจากการบังด้วยหมึกทึบแสงสีดำหรือฟิล์มสีส้มจะหลุดออก ซึ่งก็คือลายที่จะมีนั่นเอง เมื่อเห็นลายปรากฏเด่นชัดเจนบนเฟรมสกรีนก็ให้นำมาผึ่งด้วยแดดหรือเป่าด้วยเครื่องเป่าผมให้แห้ง แล้วนำไปพิมพ์ได้เลย ถ้าต้องการพิมพ์ได้ทนต้องไปเคลือบน้ำยาข้อควรระวังถ้าเวลาถ่ายเร็วไป เวลาล้างกาวอัดจะหลุดออก ถ้าใช้เวลานานเกินไป เวลาล้างกาวอัดจะออกยาก ทั้งสองกรณีต้องนำเฟรมสกรีนไปล้างออกด้วยผงคลอรีน แล้วถ่ายใหม่คุณสมบัติของแม่พิมพ์แบบกาวอัด- ใช้กับงานพิมพ์ที่พิมพ์ได้ทั้งหมึกพิมพ์เชื้อน้ำกับเชื้อน้ำมัน- อุปกรณ์ที่ใช้ทำแม่พิมพ์แบบนี้ หาซื้อได้ด้วยเงินทุนไม่มากนัก- ความละเอียดของงานพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์แบบนี้ ขึ้นอยู่กับฝีมือแม่พิมพ์แบบฟิล์มแม่พิมพ์แบบฟิล์มมีอยู่ 2 แบบคือ
1. แม่พิมพ์ฟิล์มตัด แบ่งเป็น 2 แบบ คือแบบฟิล์มเขียวกับแบบฟิล์มสีม่วง
1.1 แม่พิมพ์ฟิล์มเขียว อุปกรณ์ที่ใช้คือ- เฟรมสกรีนเปล่า มีลักษณะเช่นเดียวกับที่ใช้ในแม่พิมพ์แบบกาวอัด- ฟิล์มเขียว เป็นฟิล์มโปร่งแสงสีเขียว ซึ่งด้านหนึ่งเคลือบด้วยเนื้อฟิล์มเขียวบนแผ่นพลาสติคใส สามารถลอกแผ่นพลาสติคใสออกจากเนื้อฟิล์มได้- มีดกรีด ใช้กรีดเนื้อพิมพ์เขียว- ต้นแบบถ่าย กล่าวไว้แล้วในแม่พิมพ์แบบกาวอัด- ทินเนอร์ ใช้เป็นตัวกลางเชื่อมให้เนื้อฟิล์มเขียวติดแน่นบนเฟรมสกรีน ทินเนอร์ให้ปฏิกิริยากับเนื้อฟิล์มพอดีหรือไม่ ใช้ทดสอบ โดยการนำทินเนอร์มาเชคกับเศษฟิล์มเขียว ถ้าใช้ได้เนื้อฟิล์มจะเหนียว ถ้าแรงไปเนื้อฟิล์มจะเละๆ ถ้าอ่อนไปเนื้อฟิล์มจะอยู่ในสภาพเดิมขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบฟิล์มเขียวขั้นตอนที่ 1 นำแผ่นฟิล์มเขียวขนาดเท่ากับกรอบเฟรมสกรีน มาทาบต้นแบบแล้วใช้มีดกรีด กรีดตามลายแบบที่ต้องการอย่างเบาๆ ควรระวังอย่ากรีดทะลุแผ่นพลาสติคอีกด้านขั้นตอนที่ 2 เมื่อกรีดเสร็จ ลอกแผ่นฟิล์มที่ต้องการให้หมึกพิมพ์ผ่านออกตามลายพิมพ์ นำแผ่นฟิล์มที่ลอกตามลายแล้วมาวางลงบนกระจกเรียบ เอาด้านเนื้อฟิล์มหงายออกขั้นตอนที่ 3 นำเฟรมสกรีนเปล่าด้านนอกมาทาบสนิทกับแผ่นฟิล์มเขียวที่กรีดลายเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ฟิล์มเขียวติดแนบแน่นบนผ้าชิลด์ ใช้ฟองน้ำหรือเศษผ้าสะอาดชุบทินเนอร์หมาดๆ เช็ดถูให้ทั่วในเฟรมสกรีนด้านในผ่านรูผ้าลงบนฟิล์มเขียวให้ทั่ว ผึ่งให้แห้งสนิทแล้วลอกแผ่นพลาสติคใสออก นำไปพิมพ์ได้เลย หมึกพิมพ์จะออกตามลายที่กรีดออกของฟิล์มเขียวคุณสมบัติของแม่พิมพ์แบบฟิล์มเขียว- ใช้กับงานพิมพ์ผ้าที่พิมพ์เฉพาะกับหมึกพิมพ์เชื้อน้ำอย่างสีพิมพ์ผ้า- เหมาะกับงานลายพื้นที่ไม่มีลวดลายละเอียดนัก- ทุ่นเวลาในการทำแม่พิมพ์ และเงินทุนในการจัดหาตู้ถ่าย
1.2 แม่พิมพ์ชาม่วงลักษณะของฟิล์มเป็นสีชาม่วงอ่อนๆ อุปกรณ์ทั่วไป และขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบนี้เหมือนกับแม่พิมพ์แบบฟิล์มเขียว ต่างก็แต่การใช้ตัวสื่อกลางระหว่างเฟรมสกรีนกับฟิล์ม ใช้น้ำเปล่าหรือน้ำ 3 ส่วนผสมกับแอลกอฮอลล์ (เมทิว) 1 ส่วน เพื่อเร่งเวลาแห้งในเฟรมสกรีนเมื่อถูเช็ดติดบนผ้าเฟรมสกรีนข้อควรระวังจะต้องเก็บไว้ไม่ให้ถูกแสง เพราะจะทำปฏิกิริยากับแสงทำให้ฟิล์มสีม่วงชาเสื่อมคุณภาพทันที
2. แม่พิมพ์แบบฟิล์มถ่าย มีอยู่หลายแบบ แต่ที่ใช้แพร่หลายในวงการพิมพ์ไทยก็คือ ฟิล์มแดง
2.1 แม่พิมพ์ฟิล์มแดง การทำแม่พิมพ์ฟิล์มแดง มีอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมดังนี้- เฟรมสกรีนเปล่า ที่ผ่านการล้างไขของใยผ้าแล้วด้วยผงซักฟอก- ฟิล์มแดง เป็นฟิล์มโปร่งแสงสีแดง มีลักษณะเช่นเดียวกับฟิล์มเขียว- ต้นแบบถ่ายฟิล์มโพลิคิฟ- โฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ที่มีความข้น 1.2 ใช้เป็นตัวยาล้างฟิล์ม- ไฟอาร์ค หรือกล้องถ่ายแสงอุลตรา- ลูกกลิ้ง ใช้กลิ้งให้เฟรมสกรีนด้านผ้าชิลด์แนบสนิทกับแผ่นฟิล์มแดง- แผ่นยางเรียบ- แผ่นกระจกใสขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบฟิล์มแดงขั้นตอนที่ 1 นำแผ่นฟิล์มแดงกับต้นแบบถ่ายฟิล์มโพลิติฟ มาถ่ายฟิล์มไฟอาร์ค หรือกล้องถ่ายแสงอุลตร้า โดยการวางแผ่นฟิล์มต้นแบบลงบนฟิล์มสีแดง ให้ฟิล์มสีแดงในขนาดเท่ากับขอบเฟรมสกรีน วางทาบให้แนบสนิท โดยด้านเนื้อฟิล์มแดงรองรับแสง ส่วนด้านพลาสติคใสมีแผ่นยางเรียบมารองรับ มีแผ่นกระจกใสวางทาบอยู่เหนือฟิล์มต้นแบบ นำเข้ากล้องถ่ายฟิล์ม ซึ่งถ้าใช้หลอดไฟคาร์บอนอาร์คขนาด 15A ระยะห่าง 50 ซม. ใช้เวลา 6-8 นาที ถ้าขนาด 50A ระยะห่าง120 ซม. ใช้เวลา 8-11 นาทีขั้นตอนที่ 2 นำฟิล์มสีแดง หลังจากถ่ายไฟอาร์คมาล้างฟิล์มแดงด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( 1.2 % Volume)
2.2 แม่พิมพ์ฟิล์มม่วงขั้นตอนการทำแม่พิมพ์แบบฟิล์มม่วงขั้นตอนที่ 1 ใช้แผ่นฟิล์มม่วงในขนาดของต้นแบบถ่าย วางลงบนตู้ไฟหรือแผ่นกระจก โดยให้ด้านเนื้อฟิล์มม่วงหงายรับและประกอบชิดผ้าชิลด์ด้านนอกของฟิล์มสกรีนก่อนปาดกาวอัดขั้นตอนที่ 2 ปาดกาวอัดที่ผสมน้ำยาไวแสงในอัตราส่วน กาวอัด 5 ส่วน น้ำยาไวแสง 3 ส่วนคนให้เข้ากัน แล้วปาดให้เรียบทั้งสองด้านของเฟรมสกรีน ถ้าอยากให้ตัวนูนหนา ให้ปาดกาวให้หนาหลายๆ ครั้งจนฟิล์มม่วงแนบติดสนิทกับผ้าชิลด์ขั้นตอนที่ 3 ผึ่งให้แห้งด้วยลมเย็นของพัดลมหรือเครื่องเป่าผมในห้องสลัวเมื่อแห้งสนิททั่วเฟรมสกรีน ให้ลอกแผ่นพลาสติคใสออกเหลือไว้แค่เนื้อฟิล์มม่วงขั้นตอนที่ 4 นำเฟรมสกรีนที่ปากกาวอัดและเคลือบฟิล์มม่วง ไปถ่ายในตู้ไฟหรือแสงแดด ซึ่งวิธีการดังกล่าวได้กล่าวไว้แล้วในแม่พิมพ์แบบกาวอัด แต่ต่างกันตรงที่ให้เวลาถ่ายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวขั้นตอนที่ 5 นำเฟรมสกรีนไปทำการล้างด้วยน้ำฉีด กาวอัดที่เคลือบด้วยฟิล์มม่วงอย่างหนาหรือบางในส่วนที่ถูกแสง จะเกิดแผ่นผ้าชิลด์ในส่วนที่ไม่ถูกแสง กาวอัดจะหลุดออกเป็นลายที่ต้องการพิมพ์ หากเกิดเสียให้ล้างด้วยผงคลอรีน กาวอัดและเนื้อฟิล์มม่วงจะหลุดออกแล้วทำใหม่ขั้นตอนที่ 6 ผึ่งให้แห้งด้วยลมเย็นของพัดลมหรือเครื่องเป่าผม จากนั้นนำไปทำการพิมพ์ได้เลย
วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น