วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สีเย็น(Cool Color

สีเย็น(Cool Color)
หมายถึงสีที่ให้ความรู้สึกเยือกเย็น สงบ เรียบ และดูถดถอยออกไป การนำเอาสีเย็นมาตกแต่งบ้าน เช่น ทาสีเพดานด้วยสีฟ้าอ่อน เขียวอ่อน จะให้ความรู้สึกว่าเพดานสูงขึ้นไป สีเย็นจะอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสี เป็นสีที่ออมาทางสีน้ำเงิน สีเขียว เช่น สีเหลืองเขียว สีเขียว สีน้ำเงินเขียว สีน้ำเงิน สีน้ำเงินม่วง สีม่วงเราจะพบว่าสีเหลือง (Yellow) และสีม่วง (Violet) อนุโลมให้เข้าอยู่ได้ทั้งสีอุ่นและสีเย็นสีเอกรงค์ (Monochrome)หมายถึงการใช้สีเพียงสีเดียว เพื่อแสดงออกถึงน้ำหนักของสีอาจจะใช้สีดำ สีเทา หรือสีขาวผสมลงในสีใดหนึ่ง ให้น้ำหนักสีแตกต่างกันในลักษณะใกล้ไกล หรืออาจจะให้สีแท้หนึ่งสีผสมกับสีอื่นอีก 2-3 สี ที่สัมพันธ์กัน (สีที่เรียงติดกันในวงล้อสี) ระบายลงไปในภาพมีความกลมกลืนอย่างลึกซึ้ง ดูงดงาม เช่นต้องการให้สีน้ำเงินเป็นเอกรงค์ เราก็นำสีที่เรียงจากสีน้ำเงินคือ สีน้ำเงินเขียว สีเขียว สีเหลืองเขียว สีเหลือง สีใดสีหนึ่ง หรือหลายสีนำผสมสีน้ำเงิน แต่รวมแล้วไม่เกิน 6 สี ตามวงล้อของสี ถ้านำมาถึง 7 สี จะกลายเป็นสีตัดกัน นำมาผสมไม่ได้ เพียงใช้เพียง 2-3 สี เมื่อระบายลงในภาพแล้วจะได้ภาพที่กลมกลืน สวยงามการใช้สีเอกรงค์ได้รับความนิยมมากในระยะแรกๆ และเป็นการใช้สีที่ยากมากด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับน้ำหนักใกล้ไกล ศิลปินตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น นิยมเขียนสีเดียวมาก ดังจะพบจากจิตรกรของโดยทั่วไป ปัจจุบันนี้การใช้สีเอกรงค์ยังเป็นที่นิยมกันอยู่มาก โดยเฉพาะด้านการออกแบบ การตกแต่ง หรือจิตรกรรมที่เกี่ยวกับจินตนาการโดยเฉพาะสีกลมกลืน (Haemony)สีกลมกลืนคือสีที่ประสาน และอยู่ใกล้เคียงกันในวงล้อ เช่น พวกยึดสีใดเป็นหลัก และใช้สีข้างใดข้างหนึ่ง 2-3 สี เขียนหรือระบายภาพด้วยกัน จะได้มีที่กลมกลืนงดงามการใช้สีกลมกลืนอาจใช้สีข้างใดข้างกนึ่ง หรือใช้ทั้งสองข้างจากวงล้อสีก็ได้นับรวมแล้วต้องไม่เกิน 6 สี เช่น “สีแดง” กลมกลืนกับสี(แดงม่วง สีม่วง สีน้ำเงิน คือสีน้ำเงิน สีน้ำเงินเขียว) หรือ (สีแดงม่วง สีม่วง วีแดงส้ม สีส้ม)สีตรงข้าม (Complementary)สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน (Contrast) บางครั้งเรียกเป็นสีคู่ปฏิปักษ์ หมายถึงสีตรงข้ามกันในวงล้อสีมีทั้งหมด 6 คู่ สีตรงกันข้ามนอกจากจะอยู่ในต่ำแหน่งตรงกันข้ามแล้วยังมีความเข้มเท่าๆ กัน ให้ความรู้สึกรุนแรงและตัดกันเท่าๆ กัน เราจึงไม่นิยมใช้ด้วยกันในเปอร์เซนต์สีที่เท่าเทียมกัน เพราะเป็นการข่มสีอย่างรุ่นแรง เช่น เสื้อสีแดง กางเกงสีเขียว หรือเสื้อสีม่วง กระโปรงสีเหลือง เป็นต้น การใช้สีตรงกันข้าม มีวิธีใช้คือ
1. ระบายสีตรงกันข้ามกันในเนื้อที่หรือพื้นที่ต่างกัน อาจใช้สีหนึ่งประมาณ 75% หรือ 80% อีกสีหนึ่ง 25% หรือ 20%
2. ระบายสีตรงกันข้ามในพื้นที่เท่ากัน แต่ลดความเข้มของสีตรงข้ามกันเสีย สีหนึ่งจะผสมด้วยสีดำ สีเทา หรือ สีขาวก็ได้
3. ระบายสีตรงข้ามคู่นั้นในบริเวณพื้นที่เท่าๆ กัน แต่ระหว่างรูปร่างตรงรอยต่อของสีตรงข้ามคู่นั้น ให้ใช้สีดำ สีเทา หรือสีขาว ลดความเข้มของสี จะช่วยให้สีไม่ตัดกันจนเกินไป จะได้ภาพที่น่าดูยิ่งขึ้น
4. ใช้วิธีลดความเข้มของสีใดหนึ่งที่เป็นสีตรงข้าม อาจใช้ลักษณะผิว (Texture) ของกรดาษ ลักษณะของสีพื้น (Background) หรือวิธีอื่นๆบางครั้งการใช้สีตรงข้ามกันทำได้ยาก เราอาจเลี่ยงมาใช้สีใกล้เคียงของสีตรงข้ามได้ ซึ่งจะให้ผลดีกว่า โดยเฉพาะงานด้านวิจิตรศิลป์ทั่วไป สีใกล้เคียงของสีตรงข้าม เช่นสีแดง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-เขียวสีเหลือง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีแดง-ม่วงสีน้ำเงิน มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-ม่วงสีส้ม มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีน้ำเงิน-ม่วงสีเขียว มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีแดง-ส้มสีม่วง มีสีใกล้เคียงของสีตรงข้ามเป็นสีเหลือง-เขียว

ไม่มีความคิดเห็น: