สีทุกสีนอกจากที่กล่าวไว้ในวงล้อสี (Color wheel)
ยังมีสีขาวและดำซึ่งมีคุณสมบัติต่าง ๆ ถ้าเรานำสีขาวหรือสีดำผสมกับสีแท้ เราจะได้น้ำหนัก (Value) ของสีแตกต่างกันและมีชื่อเรียกต่างกันคือ
(1) สีแท้ผสมสีขาว เรียกว่า Tint เมื่อนำสีขาวไปผสมกับสีใดก็จะช่วยเพิ่มขนาดของสีนั้น (ในความรู้สึก) ให้ดูใหญ่ขึ้น เพราะสีขาวช่วยสะท้อนแสง
(2) สีดำ ถ้าไปผสมกับสีใดจะช่วยลดขนาดของสีนั้นให้รู้สึกเล็กลง เพราะสีดำดูดซึมแสงของสีนั้น๓. สีเทา ถ้านำไปผสมกับสีขาว เรียกว่า Tone ของสีซึ่งมีอยู่ประมาณ ๗-๙ ระดับ เมื่อนำสีเทาไปผสมสีใดจะทำให้สีนั้นรู้สึกหม่นลงคุณค่าสีจึงมีความหมายมากในการออกแบบ เพราะช่วยให้งานมีคุณค่าหรือหมดคุณค่าได้ นอกจากจะใช้งานศิลปะทั่วไปแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย เช่น การทาสีห้อง การใช้สีสำหรับเครื่องแต่งกาย คนตัวเล็กอาจใช้สีจาง จะดูโตขึ้น หรือถ้าโตมาก อ้วนมาก การใช้สีเข้มจะช่วยให้ดูเล็กหรือผอมลงได้ เป็นต้นความเข้มของสี (Intenssity)ความเข้มหรือความเด่นชัด เป็นมิติที่สามของสี ที่แสดงถึงความเด่น ความหนักแน่น ความสดใส หรือเป็นสีที่ห่างจากสีที่เป็นกลางเพียงไร เป็นเครื่องชี้ว่าสีนั้นห่างจากสีขาวหรือสีกลางเท่าไรสีที่มีความเด่นชัดหรือความเข้มมาก จะสะดุดตาเรียกร้องความสนใจ ในขณะเดียวกัน สีที่มีความเด่นชัดหรือความเข้มน้อย จะให้ความรู้สึกละเอียดอ่อนและลึกซึ้ง ความเข้มหรือความเด่นของสีอาจได้จากการผสมสี คือใช้สีที่เป็นกลาง หรือสีที่ตรงกันข้ามผสมกัน ซึ่งนิยมพูดกันทั่วไปว่า ค่าสีให้เป็นกลาง ความเด่นชัดของสีจะลดลง แต่ถ้าใช้วีที่มีความเด่นชัดล้อมรอบด้วยสีหม่นก็จะทำให้สีนั้นมีความเด่นชัดยิ่งขึ้นความเด่นชัดหรือความเข้มของสี เรียกเรียกอีอย่างหนึ่งว่าโครมา (Chroma) นอกจากนั้นก็แสดงถึงความมืด ความสว่างของสีแล้ว ยังให้ความรู้สึกใกล้ไกลอีกด้วย การจะทำให้สีมีความเข้มหรือความเด่นชัดต่างกัน อาจทำได้หลายวิธี๑. การนำเอาสีตรงข้นมาระบายใกล้ๆ กัน จะช่วยส่งเสริมให้สีทั้งสองมีความเข้มมากขึ้น๒. การระบายสีที่ต้องการบนพื้นสีเทาหรือสีดำ จะทำให้สีนั้นมีความเข้มยิ่งขึ้น
๓. ถ้านำสีที่ต้องการระบายพื้นสีขาว จะทะให้สีนั้นลดลงความเข้มลง เช่น สีเหลือง ระบายบนพื้นสีขาว แต่ถ้าระบายบนพื้นสีดำ สีจะเข้มขึ้น
๔. ถ้าต้องการลดความเข้มของสี อาจใช้วิธีผสมสีดำหรือสีตรงข้ามลงในสีนั้นเล็กน้อยสีจะลดความเข้มข้นลงได้
8. ประเภทของสีเรื่องเกี่ยวกับสีไม่ใช่เกี่ยวข้องเฉพาะศิลปินเท่านั้น ยังมีบุคคลอื่นที่นำสีไปใช้อีกมากตามทฤษฏีของสีหรือลักษณะของแม่สี เมื่อพิจารณาจากการนำไปใช้แล้ว แบ่งประเภทของสีได้ดั้งนี้
1. สีของช่างเขียนหรือศิลปิน (Artist) สีช่างเขียนหรือวัตถุธาตุ เป็นซึ่งจิตรกรใช้ในการเขียนภาพ ระบายภาพ สีทาบ้าน อาคาร หรือสีที่ใช้ในการออกแบบตกแต่งทั่วๆ ไปเหมาะสำหรับงานด้านวิจิตรศิลป์ และนะกออกแบบ มีแม่สี 3 สี คือก. สีแดง (Crimson Lake) หรือ Rodข. สีเหลือง (Cemboge Yellow) หรือ Yellowค. สีน้ำเงิน ( Prussian blue) หรือ Blueนอกจากนี้ยังมีสีต่างๆ ซึ่งเกิดจากการผสม เป็นสีขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ซึ่งจัดไว้ในวงล้อของสี ดังกล่าวมาแล้ว
2. สีทางวิทยาศาสตร์ (Spectrum Primaries) สีทางวิทยาศาสตร์คือสีของแสง อาจเป็นแสงอาทิตย์ ไฟฟ้า เทียน หรือแสงจากสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คิดประดิษฐ์ขึ้น มีแม่สี 3 สี ซึ่งถ้านำมาประสานกันจะเกิดเป็นสีขาว แม่สีทางวิทยาศาสตร์คือก. สีแดง (Vermillion red) หรือ Redข. สีเขียว (Emerald Green) Greenค. สีน้ำเงิน (Blue)การประสานกันของแสงสีต่างๆ จะทำให้เกิดสีใหม่ขึ้นคือBlue + Green = YellowBlue + Red = VioletRed + Green = Orangeทางด้านจิตวิทยายอมรับกันว่าสีแต่ละสีมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ นักออกแบบด้านต่างๆ ได้นำเอาข้อยอมรับเกี่ยวกับอิทธิพลของสีมาใช้ในการออกแบบงานด้านต่างๆ มากมายสีแดง ให้ความรู้สึกร้อนแรง และตื่นเต้นสีเหลือง ให้ความรู้สึกสว่าง ความสุข ทำให้จิตใจสดใสสีเขียว ให้ความรู้สึกสดชื่น เย็นสบาย และสงบสันติสีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกเย็นสบาย สงบเงียบ เคร่งขรึมและปลอดภัยสีดำ ให้ความรูสึกเศร้าใจ ลึกลับและหนักแน่นสีขาว ให้ความรูสึกสะอาด ผุดผ่อง ความบริสุทธิ์สดใส
3. วรรณของสีสีอุ่น (Warm Color)บางทีเราเรียกเป็นสีร้อน หมายถึงสีที่แสดงความอบอุ่นหรือร้อน ให้ความรู้สึกอบอุ่นแจ่มใส รุนแรง ให้ความสว่าง การนำเอาสีอุ่นมาแต่งบ้าน จะช่วยให้บ้านสว่างขึ้น และให้ความรู้สึกใกล้เข้ามา สีอุ่นจะมีอยู่ครึ่งหนึ่งของวงล้อสีคือให้สีที่ออกมาทางสีแดง สีเหลือง เช่น สีเหลือง สีเหลืองส้ม สีส้ม สีส้มแดง สีแดง และสีม่วงแดง
วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น