วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

5. STENCILL (แม่พิมพ์ลายฉลุ)

5. STENCILL (แม่พิมพ์ลายฉลุ)
การพิมพ์โดยวิธีนี้ แผ่นแม่พิมพ์เป็นแผ่นแบนบางๆ ทึบ หมึกผ่านไม่ได้ การทำแม่พิมพ์ ทำโดยการฉลุรูปรอยต่างๆ ที่จะพิมพ์ลงบนแผ่นแม่พิมพ์ให้ทะลุ เพื่อให้หมึกผ่านได้ เมื่อจะพิมพ์ก็เอาแผ่นแม่พิมพ์นี้ ไปทาบลงบนกระดาษหรือวัตถุอื่นๆ ที่ต้องการพิมพ์ เช่น ผ้า พลาสติค ไม้ เป็นต้นแล้วเอาหมึกทาบนแผ่นแม่พิมพ์ หมึกก็จะซึมผ่านรอยฉลุลงไปเกาะติดกระดาษหรือวัตถุที่ต้องการพิมพ์ได้การพิมพ์โดยวิธีนี้ค่อนข้างดีสำหรับการพิมพ์ตัวหนังสือ ภาพลายเส้น ส่วนภาพลายสกรีนภาพสีธรรมชาติ ที่เป็นภาพง่ายๆ อยู่ในเกณฑ์พอใช้ตัวอย่างการพิมพ์วิธีนี้ เช่น การพิมพ์โรเนียว การพิมพ์ชิลด์สกรีน การพิมพ์ชิลด์สกรีน (SILK SCREEN)การพิมพ์ชิลด์สกรีนถือเป็นการพิมพ์ระบบเดียวที่สามารถพิมพ์ได้บนวัตถุทุกชนิด (ไม้ เหล็ก ผ้า พลาสติค) ทุกรูปทรง (แบน กลม โค้ง) เนื่องจากเป็นการพิมพ์ที่ใช้ทุนน้อย อุปกรณ์ในการพิมพ์ไม่ต้องใช้เครื่องจักรในขั้นพื้นฐาน เทคนิคความรู้ก็ไม่ยากที่จะฝึกฝน ผู้สนใจนี้ที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อนสามารถเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ประกอบอาชีพจากอุตสาหกรรมขนาดย่อมพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ เชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลชิลด์สกรีนเดิมเรียกว่า “การพิมพ์แบบฉลุ” เป็นการพิมพ์โดยการปากหมึกพิมพ์ผ่านผ้า ตะแกรง เดิมใช้ผ้าไทยสวิส ปัจจุบันใช้ผ้าไนล่อน และผ้าโพลีเอสเตอร์ เนื่องจากหาง่ายราคาถูกเรียกกันทั่วไปว่า “ผ้าชิลด์” นำผ้าชิลด์มาขึงให้ตึงบนขอบไม้สี่เหลี่ยม ลวดลายชนิดใดที่ต้องการพิมพ์ให้เปิดรูตะแกรง ที่เหลือให้อุดตันด้วยกาวอัดหรือฟิล์มการพิมพ์บนวัสดุต่างๆ สามารถทำได้ในระบบนี้ เพียงแต่การพิมพ์วัสดุชนิดหนึ่งชนิดใดให้ใช้ผ้าชิลด์ที่มีขนาดความถี่ที่พอเหมาะกับการพิมพ์ชนิดนั้น (ความถี่ของผ้าชิลด์วัดจากจำนวนรูในหนึ่งตารางเซติเมตรหรือตารางนิ้ว) สีที่พิมพ์จะต้องเป็นสีที่มีตัวเกาะหรือตัวนำพาในหมึกหรือสีสำหรับวัสดุชนิดนั้นเทคนิคการพิมพ์ชิลด์สกรีนแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือ1. การทำแม่พิมพ์ชิลด์สกรีน ซึ่งแบ่งได้ 3 แบบคือ
1.1 แม่พิมพ์แบบกาวอัด
1.2 แม่พิมพ์แบบฟิล์ม
1.3 แม่พิมพ์แบบผสม

ไม่มีความคิดเห็น: