วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หน่วยที่ 13การพิมพ์ (PRINTING)


หน่วยที่ 13การพิมพ์ (PRINTING)
การพิมพ์ คือการจำลองต้นฉบับหนังสือหรือภาพออกเป็นจำนวนมากๆ เหมือนๆ กันบนวัตถุที่เป็นพื้นแบน หรือใกล้เคียงกับพื้นแบน ด้วยการใช้เครื่องมือกล การจำลองโดยการวาดซ้ำ ๆ ให้เหมือนกันหลายๆ ภาพ การหล่อ การปั้น ไม่เรียกว่าการพิมพ์ เพราะไม่เป็นการใช้เครื่องมือกลหลักการในการพิมพ์ คือการฉายหมึกลงบนผิวแม่พิมพ์ หรือกดแม่พิมพ์ลงบนผิววัตถุที่จะพิมพ์ ก็จะได้สิ่งพิมพ์ที่ต้องการวิธีพิมพ์ กรรมวิธีในการพิมพ์ แบ่งออกได้ 5 วิธี โดยยึดเอาความแตกต่างของแม่พิมพ์เป็นหลักในการแบ่ง ดังนี้
1. LETTER PRESS PRINTING
2. PLANOGRAPHIC PRINTING
3. GRAVURE OR INTAGLIO
4. PHOTOGRAPHIC PRINTING
5. STENCILL1. LETTER PRESS PRINTING (แม่พิมพ์นูน)ลักษณะของการพิมพ์แบบนี้คือ แม่พิมพ์ส่วนที่ใช้พิมพ์จะนูนสูงขึ้นมา ส่วนที่ไม่ใช้พิมพ์จะลดต่ำลงไป เมื่อเอาหมึกทาบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดส่วนที่นูนสูงขึ้นมาเท่านั้น เมื่อใช้แรงกด กดกระดาษลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดกระดาษเป็นสิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์จากแม่พิมพ์นูน อาจแบ่งออกได้ 2 ลักษณะคือ
1.1 Platen Press เป็นแท่นพิมพ์ที่แม่พิมพ์ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบและแรงกดก็เป็นพื้นที่ราบ เช่นเดียวกับ George P.Gordon แห่งนิวยอร์กเป็นผู้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1858 โดยเอาตัวพิมพ์ (ซึ่งอาจเป็นตัวพิมพ์หล่อ บล็อกไม้ โลหะหรือยาง) เรียงอัดกันไว้ในกรอบแล้วยกขึ้นตั้งบนพื้นแท่นพิมพ์ ซึ่งมีที่ยึดจับตั้งไว้ในกรอบแล้วยกขั้นตั้งบนพื้นแท่นพิมพ์ ซึ่งมีที่ยึดจับไว้ในทางดิ่ง แผ่นแรงกดเป็นแผ่นเหล็กแบนตั้งไว้ในแนวดิ่งเช่นกัน เมื่อพิมพ์จะมีลูกกลิ้งหมึก กลิ้งลงมาหาหมึกบนตัวพิมพ์ ผู้พิมพ์เอากระดาษป้อนบนแท่งแรงกด เครื่องพิมพ์จะผลักแท่นแรงกดเข้าปะทะแท่นที่ยึดตัวพิมพ์ไว้ ก็จะได้สิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการ ในบางแท่นที่ต้องการแรงกดมาก อาจมีลักษณะที่ทั้งแท่นยึดตัวพิมพ์และแท่งแรงกดวิ่งเข้าหากระทบกัน ลักษณะระนี้เรียกว่า Clamshell actionแท่นพิมพ์ Platen Press ใช้สำหรับพิมพ์งานเล็กๆ เช่น นามบัตร การ์ด ใบปลิว ใบเสร็จ แผ่นแทรกในเล่มหนังสือ ความเร็วของแท่นพิมพ์แบบนี้ ถ้าป้อนกระดาษด้วยมือ อาจได้ 1000-2000 แผ่นต่อชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องป้อนกระดาษอัตโนมัติ อาจได้ 3000-5000 แผ่นต่อชั่วโมง
1.2 Cylinder press แท่นพิมพ์ลักษณะนี้ตัวพิมพ์หรือแม่พิมพ์จะถูกยึดอัดไว้ในกรอบบนพื้นแบนและตั้งอยู่บนพื้นแท่นพิมพ์ระดับแนวนอน แรงกดเป็นลูกโมทรงกลม (Cylinder) ตัวพิมพ์จะเลื่อนถอยไปมาได้ โดยพื้นแท่นที่จับตัวพิมพ์ไว้จะเลื่อนไปมาตามราง ไปรับหมึกแล้วเลื่อนกลับมาทางใต้ลูกโม ลูกโมจะจับกระดาษกดลงบนตัวพิมพ์ หมึกก็จะเกาะติดกระดาษออกมา ก็จะได้สิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการแท่นพิมพ์แบบนี้สามารถพิมพ์งานชิ้นใหญ่ๆ ได้เพราะการเอาลูกโมมาจับกระดาษกดลงบนตัวพิมพ์นั้น แรงกดที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะเท่ากับจุดสัมผัสของผิวหน้าลูกโมกับตัวพิมพ์ เป็นเส้นยาวตลอดความยาวของลูกโม ซึ่งอาจใช้แรงกดน้อยแต่อาจพิมพ์ลงบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ได้
1.3 Rotary letter press แท่นพิมพ์แบบนี้ แม่พิมพ์จะถูกทำเป็นโค้ง สวมติดอยู่กับลูกโมทรงกลม แรงกดก็เป็นลูกโมทรงกลม กระดาษจะผ่านกลางระหว่างลูกโมแรงกดและลูกโมแม่พิมพ์การพิมพ์ลักษณะนี้สามารถพิมพ์ได้รวดเร็วมาก โดยมากมักใช้กระดาษม้วนพิมพ์ เช่น ใช้ในการพิมพ์หนังสือยกหนังสือเล่ม หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
2. PLANOGRAPHIC PRINTING (แม่พิมพ์พื้นแบน)ลักษณะการพิมพ์วิธีนี้ แม่พิมพ์ที่ใช้พิมพ์ จะเป็นพื้นแบนโดยอาศัยปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้ส่วนที่ต้องการพิมพ์รับหมึก ส่วนที่ไม่ต้องพิมพ์ไม่รับหมึก เมื่อเอาหมึกทาบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดอยู่เฉพาะส่วนที่ต้องการพิมพ์เท่านั้นและเมื่อเอาแรงกด กดกระดาษลงบนแม่พิมพ์ หมึกจะเกาะติดกระดาษขึ้นไปก็จะได้สิ่งพิมพ์ตามที่ต้องการแม่พิมพ์พื้นแบน อาจแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
2.1 การพิมพ์หิน (Lithography) ลักษณะสำคัญคือ ตัวแม่พิมพ์เป็นแผ่นหิน ซึ่งมีเนื้อละเอียดสม่ำเสมอ หรือมี grain ในตัว เมื่อเอาน้ำทาบนแผ่นหิน รูตามเนื้อ grain จะอมน้ำไว้ ทำให้แผ่นหินรับน้ำได้สม่ำเสมอกันการสร้างแผ่นหินให้เป็นแม่พิมพ์ อาจทำได้หลายวิธี เช่นก) การเขียนด้วยดินสอเกรยองข) โดยการใช้กระดาษลอกภาพค) โดยวิธีการทางการอัดรูปแม่พิมพ์ทุกแบบ เมื่อจะพิมพ์ต้องเอาน้ำทาก่อนเสมอ น้ำจะไม่เกาะตาม grain ของแผ่นหินซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ต้องการพิมพ์ เมื่อเอาหมึกทา หมึกซึ่งมีส่วนผสมของไขมัน จะไม่เกาะส่วนที่มีน้ำอยู่ แต่จะเกาะตามรอยของภาพที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้พิมพ์ แผ่นหินนี้เมื่อใช้พิมพ์เสร็จแล้วสามารถลบรูปลอยหินออก แล้วสร้างภาพขึ้นใหม่ได้อีก
2.2 การพิมพ์ออฟเซท (OFF-SET Printing)การพิมพ์วิธีนี้แม่พิมพ์เป็นโลหะพื้นแบน แต่นำมายึดติดกับลูกโมทรงกลม เรียกว่าโมแม่พิมพ์ จะมีลูกกลิ้งน้ำทาน้ำบนแผ่นแม่พิมพ์ก่อน ลูกกลิ้งน้ำนี้เรียกว่า ลูกน้ำ แล้วจึงมีลูกหมึกทาหมึกบนแม่พิมพ์ หมึกที่เกาะติดแม่พิมพ์นี้จะถูกถ่ายทอดลงบนลูกโมยาง ลูกโมยางนี้เป็นลูกโมโลหะทรงกลม แต่ถูกหุ้มไว้ด้วยแผ่นยาง โดยนำแผ่นยางมายึดติดกับลูกโม ลูกโมยางนี้เมื่อรับหมึกจากแม่พิมพ์แล้ว ก็จะนำไปพิมพ์ติดบนแผ่นกระดาษซึ่งจะมีลูกโมแรงกด อีกลูกโมหนึ่งจับกระดาษมากดกับลูกโมยาง และรับหมึกจากลูกโมยางให้ติดบนกระดาษ ก็จะได้ชิ้นพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์ระบบออฟเซท ต้องมีลูกโม 3 ลูก ขนาดเท่ากัน หมุนพิมพ์กระดาษออกมาแต่ละครั้งเมื่อหมุนรอบหนึ่ง การพิมพ์นั้นหมึกไม่ได้ผ่านจากแม่พิมพ์มาพิมพ์บนแผ่นกระดาษโดยตรง แต่ถ่ายทอดมาโดยผ่านลูกโมยางก่อน ดังนั้นตัวอักษรและภาพที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์ จึงเป็นตัวหนังสือที่อ่านได้ตามปกติ และภาพที่ปรากฏบนแผ่นแม่พิมพ์ จึงเป็นตัวหนังสือที่อ่านได้ตามปกติ แต่เมื่อแม่พิมพ์ พิมพ์ตัวหนังสือหรือภาพลงบนลูกโมยาง ตัวหนังสือหรือภาพบนลูกโมยาง ตัวหนังสือหรือภาพบนลูกโมยางจะกลับซ้ายเป็นขวา ขวาเป็นซ้าย และเมื่อลูกโมยางพิมพ์ลงบนกระดาษก็จะได้ตัวหนังสือหรือภาพเป็นปกติเช่นเดียวกับแม่พิมพ์แม่พิมพ์ระบบออฟเซท ทำด้วยโลหะส่วนใหญ่เป็นสังกะสีหรืออลูมิเนียมพลาสติค ฉาบด้วยสารไวแสงเช่นเดียวกับฟิล์มถ่ายรูปหรือกระดาษอัดรูป การทำแม่พิมพ์ทำได้โดยการถ่ายภาพโดยตรง หรือจากเอกสารตันฉบับ แล้วผ่านกระบวนการล้าง-อัด-ขยาย จนได้ภาพบนพิมพ์ตามที่ต้องการการพิมพ์ระบบออฟเซท เป็นวิธีพิมพ์ที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เพราะสามารถผลิตงานได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูง

ไม่มีความคิดเห็น: