วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

กรรมวิธีการพิมพ์

กรรมวิธีการพิมพ์
สามารถแบ่งออกได้ 3 วิธีคือก. การพิมพ์ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติข. การพิมพ์ด้วยแรงคนที่มีเครื่องจักรช่วยค. การพิมพ์ด้วยแรงคนล้วนการพิมพ์ในแถบประเทศเอเชีย นิยมการพิมพ์ด้วยแรงคนล้วนเพราะค่าใช้จ่ายน้อย อีกทั้งด้านคุณภาพและปริมาณของงานพิมพ์ ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครื่องพิมพ์ สำหรับแถบประเทศยุโรปและอเมริกานิยมใช้เครื่องจักรมากกว่า เพราะงานพิมพ์สอดสีที่ต้องการงานพิมพ์ที่ประณีต ละเอียดแต่ก็เชื่อมั่นว่า อนาคตในไม่ช้า วงการพิมพ์ไทยจะก้าวล้ำหน้าที่จะนำเครื่องพิมพ์ชิลด์สกรีนมามีส่วนร่วมพัฒนาประเทศการพิมพ์ด้วยแรงคนล้วนเป็นการพิมพ์ที่อาจกล่าวได้ว่า “หัตกรรมการพิมพ์”ขั้นเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์เครื่องมือการพิมพ์ก็คือ
1. เฟรมสกรีน ที่เป็นแม่พิมพ์เรียบร้อย แบบใดแบบหนึ่ง ดังที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องการทำแม่พิมพ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานที่จะพิมพ์
2. ยางปาด เป็นยางสังเคราะห์เคมีใช้ในด้านการพิมพ์ชิลด์สกรีนโดยเฉพาะเพราะทนต่อน้ำมันและสี-หมึกพิมพ์ ตลอดจนการเสียดสี สะดวกต่อการล้าง มี 3 ชนิดขึ้นอยู่กับงานพิมพ์ ถ้าเป็นงานพิมพ์ละเอียด ควรใช้แบบหน้าตัดแหลมข้างเดียว ถ้าเป็นงานพิมพ์ทั่วไปควรใช้แบบหน้าตัดล่ม ถ้าเป็นงานพิมพ์หยาบควรใช้แบบหน้าตัดเหลี่ยม
3. แป้นวางพิมพ์หรือโต๊ะพิมพ์ พื้นแป้นหรือโต๊ะพิมพ์จะต้องเรียบ อาจเป็นพื้นกระจก หรือด้านเรียบโดยด้านหนึ่งให้ติดบานพับหรือวัสดุที่คล้ายบานพับ และสามารถยึดขอบเฟรมสกรีนให้อยู่กับที่ เพื่อการพิมพ์ที่แน่นอน และให้ความสะดวกในการวางตำแหน่งที่จะพิมพ์ ด้วยการทำเครื่องหมายขอบเพื่อกำหนดตำแหน่งของสิ่งที่จะพิมพ์แต่ละชั้นให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับบนพื้นที่รองรับสำหรับพิมพ์ซึ่งจะต้องเรียบ4. กาวกันเคลื่อนหรือเทียนไข ใช้ทา (กาว) หรือหล่อ (แผ่นเทียน) ให้เรียบบนพื้นแป้นวางพิมพ์หรือโต๊ะพิมพ์ในตำแหน่งของสิ่งที่จะพิมพ์ เพื่อให้วัสดุที่พิมพ์อยู่กับที่ ไม่ตามเฟรมสกรีนในเวลาพิมพ์ ทำให้ภาพพิมพ์ที่ได้มีสีเรียบไม่เป็นรอยด่าง กาวกันเคลื่อนใช้กับการพิมพ์ผ้า นามบัตร สติกเกอร์ โดยทาบางๆ บนพื้นทิ้งไว้ 10 นาที ก็วางวัตถุที่จะพิมพ์ได้เลย ไม่เป็นใยหรือคราบกาวติดแผ่นวัตถุ สำหรับเทียนไขใช้กับงานพิมพ์ผ้าอย่างเดียวหน่วยที่ 2 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานกราฟิก2.1 วัสดุที่ใช้ในงานกราฟิก2.1.1 กระดาษ กระดาษที่ใช้ในงานกราฟิกมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะสมกับชนิดของงานต่างๆ กัน เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดี จึงต้องเลือกใช้กระดาษให้เหมาะสม กระดาษที่ใช้อาจแบ่งออกได้ดังนี้ก. กระดาษหน้าขาวหลังเทา หรือกระดาษกล่อง นิยมใช้กันมากในงานโสตทัศนศึกษาใช้สำหรับเขียนโปสเตอร์ บัตรคำและป้ายประกาศต่างๆ นิยมเขียนด้วยปากกาปลายสักหลาด หรือ สปีดบอล ไม่นิยมใช้พู่กันเขียนข. กระดาษโปสเตอร์ โดยทั่วไปเป็นกระดาษสีหน้าเดียว มีทั้งชนิดบางและชนิดหนา ชนิดบางใช้สำหรับดัดเป็นรูปภาพหรือตัวอักษรนำไปติดบนกระดาษหนาหรือวัสดุอื่นอีกทีหนึ่ง ส่วนกระดาษโปสเตอร์ชนิดหนา เหมาะสำหรับงานเขียนโปสเตอร์ นิยมเขียนพู่กันหรือปากกาสปีดบอล ส่วนปากกาปลายสักหลาดไม่นิยมใช้เขียน กระดาษโปสเตอร์มีทั้งแบบที่เป็นสีสะท้อนแสงและสีทึบแสงค. กระดาษวาดเขียน เป็นกระดาษเนื้อด้านหรือเป็นเม็ด เหมาะสำหรับวาดรูปโดยใช้สีน้ำ ไม่เหมาะสำหรับเขียนตัวอักษร เพราะผิวไม่เรียบและสีจะซึมได้เล็กน้อยง. กระดาษอาร์ทมัน เหมาะสำหรับงานออกแบบโดยทั่วไป ผิวเรียบเป็นมัน เหมาะสำหรับเขียนด้วยปากกาสปีดบอลหรือปากกาเขียนแบบ การวาดภาพลายเส้น เพื่อทำเป็นภาพต้นแบบสำหรับถ่ายทำเป็นฟิล์มเมกกาตีฟ เพื่อใช้ในการพิมพ์ หรือทำบล็อกสำหรับงานพิมพ์จ. กระดาษอาร์ทด้านสี เป็นกระดาษเนื้อหนาสีเดียวกันทั้งสองด้าน เหมาะสำหรับทำเป็นปกรายงานหรือปกหนังสือ ทำแผ่นป้ายนิเทศ หรือติดวัสดุต่างๆ ในงานนิทรรศการฉ. กระดาษไขเขียนแบบ มีลักษณะขุ่นมัวคล้ายกระจกฝ้า เหมาะสำหรับงานเขียนแบบโดยทั่วไป และทำต้นแบบงานพิมพ์หรืองานถ่ายบางชนิดช. กระดาษการ์ดสี เป็นกระดาษที่เนื้อเยื่อกระดาษถูกย้อมเป็นสีแล้วนำมาทำเป็นแผ่นมีสีเดียวกันทั้งสองหน้า ในการทำสื่อการสอนต่างๆ นิยมใช้กระดาษการ์ดมี 2 หน้า เพราะมีสีสดใสและเข้ม แก้ไขตกแต่งได้ง่ายและมองเห็นตำหนิได้ยากส่วนกระดาษการ์ดสีอีกชนิดหนึ่งมีเนื้อละเอียด แต่สีอ่อนจาง และมีสีจำกัด ราคาย่อยเยาเหมาะสำหรับทำปกหรือทำแฟ้มกระดาษการเรียกน้ำหนักกระดาษ๑. เรียกเป็นกรัมหรือแกรม วิธีนี้เป็นวิธีสากลถือหลักว่ากระดาษ ๑ แผ่นมีเนื้อที่ ๑ ตารางเมตร เมื่อนำไปชั่งมีน้ำหนักเป็นแกรมเท่าใด เป็นกระดาษเท่านั้นแกรม เช่น กระดาษ ๖๐ แกรม ถ้าจะเขียนให้ชัดเจนมักเขียนเป็นกระดาษ ๖๐ แกรม/ม๒.๒. เรียกเป็นกิโลกรัม หรือ ก. ก. ใช้เรียกชื่อกระดาษที่ผลิตจากโรงงานกระดาษไทย โดยถือหลักว่ากระดาษขนาดมาตรฐานของไทย ( ๓๑” x ๔๓” ) ใน ๑ รีม ซึ่งมี ๕๐๐ แผ่น ซึ่งดูแล้วมีน้ำหนักกี่กิโลกรัม๓. เรียกเป็นปอนด์ ทางยุโรปหมายถึงกระดาษขนาดมาตรฐาน ( ขนาด ๓๑” x ๔๓” ) จำนวน ๑ รีม( ๕๐๐ แผ่น ) ชั่งน้ำหนักได้กี่ปอนด์ก็เรียกว่าเป็นกระดาษเท่านั้นปอนด์
2.1.2 สี สีที่ใช้ในงานกราฟิกแบ่งออกได้หลายชนิดด้วยกันคือก. สีน้ำ มีทั้งชนิดเป็นหลอด และเป็นแผ่นๆ บรรจุในกล่อง เวลาใช้ต้องใช้พู่กันจุ่มน้ำมาผสมในจานผสมสี ข้อดีก็คือใช้ง่ายและล้างออกง่ายสีติดวัสดุประเภทกระดาษได้คงทน ข้อเสียคือระบายให้เรียบได้ยาก จึงเหมาะสำหรับวาดรูปเท่านั้นข. สีน้ำมัน เป็นสีที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เมื่อแห้งแล้วจะมีสภาพคงทน เหมาะสำหรับงานภายนอก หรืองานที่อาจมีสิ่งสกปรกเปื้อนได้ง่าย สำหรับงานเขียนตัวอักษรนิยมใช้สีแห้งช้าหรือสีที่ใช้ผสมกับน้ำมันสน ส่วนสีแห้งเร็วที่ใช้ผสมกับทินเนอร์ไม่นิยมใช้เขียนตัวอักษรแต่จะใช้เป็นสีรองพื้น วัสดุกราฟิก สีน้ำมันมีทั้งที่บรรจุกระป๋อง บรรจุหลอด และบรรจุกระป๋องสเปรย์ มีทั้งที่เป็นสีด้าน และสีมันค. สีโปสเตอร์ ส่วนมากบรรจุในขวด มีทั้งสีธรรมดาและสีสะท้อนแสง เหมาะสำหรับเขียนด้วยพู่กันปลายตัด เขียนง่าย เส้นเรียบไม่ด่างเหมือนสีน้ำ เมื่อแห้งแล้วสามารถเขียนทับด้วยสีอื่นได้ แต่มีข้อเสียคือ หลุดล่อนได้ง่าย สีโปสเตอร์นี้เวลาใช้ต้องผสมน้ำง. สีพลาสติก เป็นสีผสมน้ำ เหมาะสำหรับทาเป็นสีรองพื้น ทาผนัง หรือใช้เขียนผ้า เมื่อแห้งแล้วติดทนนานจ. สีฝุ่น เป็นสีผสมน้ำ แต่เพื่อให้ติดแน่นกับพื้นผิว นิยมใช้ผสมกาวเช่น กาวกระถิน ส่วนมากเหมาะสำหรับใช้งานหยาบๆ เช่น ทาสีฉากละครฉ. สีเทียน เป็นสีผสมไข ใช้สำหรับงานระบายสีในเนื้อที่ไม่มากนักช. สีพิมพ์ซิสด์สกีม อาจแบ่งออกได้ตามประเภทการใช้งาน เช่น สีพิมพ์ผ้า สีพิมพ์กระดาษ สีพิมพ์โลหะ สีพิมพ์พลาสติกญ. สีพิมพ์ภาพ เป็นสีที่ใช้อยู่ตามโรงพิมพ์โดยทั่วไปมีทั้งที่เป็นแม่สีและสีผสม สามารถพิมพ์ภาพออกมาได้มีคุณภาพสูงมากในการเลือกใช้สีต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน ถ้าเป็นงานที่ต้องความคงทนถาวรควรใช้สีชนิดถาวร ซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมัน เช่นสีน้ำมัน ถ้าเป็นงานที่ไม่ต้องการความคงทนถาวรควรใช้สีชนิดชั่วคราว ซึ่งเป็นสีที่มีส่วนผสมของน้ำ เช่นสีโปสเตอร์ สีฝุ่น เป็นต้น หรือถ้าต้องการเขียนลงบนแผ่นโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ควรใช้สีโปร่งแสง เพื่อให้เห็นเป็นสีบนจอได้ชัดเจน
2.1.3 น้ำหมึก เป็นสิ่งที่ใช้คู่กับปากกา พู่กัน เครื่องอัดสำเนา และบล็อกประทับตรายางต่างๆ อาจแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดดังต่อไปนี้ก. น้ำหมึกโปร่งแสง สำหรับใส่ปากกาเขียนแผ่นอาซีเตท หรือแผ่นโปร่งใส มีทั้งแบบชั่วคราวที่ลบได้ด้วยน้ำและแบบถาวรที่ต้องลบด้วยทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์ข. น้ำหมึกสำหรับเติมปากกาสักหลาด เป็นน้ำหมึกสำหรับใช้เติมปากกาปลายสักหลาดแบบสีเมจิกค. หมึกสีธรรมดา เป็นหมึกที่ใช้กับปากกาหมึกซึม หรือปากกาชนิดอื่น เช่น ปากกาสปีดบอล ปากกาคอแร้ง หรือพู่กันก็ได้ ส่วนมากจะยอมให้แสงผ่านได้ นอกจากหมึกสีขาวง. หมึกดำหรือหมึกอินเดียอิงค์ เป็นหมึกที่มีความดำจัด ใช้ระบายสีทับหรืองานกราฟิกได้ดี ส่วนมากจะเป็นแบบกันน้ำได้ ( Water proof )จ. หมึกจีน มีลักษณะเป็นแท่ง เวลาใช้ต้องฝนกับจานสี การเขียนใช้พู่กันจีนหรือพู่กันปลายตัดก็ได้ มีความเข้มมากกว่าอินเดียอิงค์ เหมาะสำหรับเขียนอักษรหรือวาดภาพด้วยพู่กันฉ. หมึกสำหรับเติมปากกาเขียนแบบ เป็นหมึกที่ไม่เกาะติดปากกาเหมือนกับอินเดียอิงค์ มีความดำเข้มจัดมาก เหมาะสำหรับงานเขียนที่ต้องการความทึบแสงสูง เช่นการเขียนต้นฉบับสำหรับนำไปถ่ายทำบล็อกซิลค์สกรีนช. หมึกประทับตรายาง เป็นหมึกที่มีลักษณะเป็นน้ำมัน มีความเข้มข้นไม่เหมาะสำหรับนำมาเขียน แต่ใช้สำหรับประทับตรายางเหมาะที่สุดญ. หมึกพิมพ์สำหรับการอัดสำเนา มีทั้งชนิดหลอดเป็นดรีม และชนิดเหลวบรรจุในขวดพลาสติก แต่ละชนิดเหมาะสำหรับเครื่องอัดสำเนาต่างชนิดกันหมึกส่วนใหญ่มีลักษณะโปร่งแสง ( Transparent ) คือยอมให้แสงผ่านได้หากใช้บนแผ่นโปร่งใสก็จะได้สีของหมึกนั้น ถ้าเขียนลงบนกระดาษพื้นสีเข้มจะไม่ค่อยมีผล เพราะสีของกระดาษจะปรากฏชักเจนกว่า
2.1.4 วัสดุอื่นๆ ในการผลิตวัสดุกราฟิก นอกจากจะใช้กระดาษสีและหมึกตามที่กล่าวมาแล้ บางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุอื่นๆ มาช่วย เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่นช่วยอำนวยความสะดวก ความรวดเร็ว และความคงทน วัสดุเหล่านั้นได้แก่- กาวต่างๆ เช่น กาวยางน้ำ กาวลาเท็กซ์ กาวกระถิน กาวแป้งเปียก ฯลฯ ซึ่งใช้สำหรับผนึกชิ้นส่วนต่างๆ ให้ติดกับพื้นผิวของวัสดุ- เทปกาว เช่น สก๊อตเทป กระดาษกาว กระดาษกาวย่น ใช้ช่วยทำให้เกิดความสะดวกในการทำงานหรือทำให้เกิดความเรียบร้อยสวยงามของงานที่ผลิตขึ้นมา
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในงานกราฟิก
2.2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการขีดเขียน ได้แก่ ปากกา ดินสอ พู่กัน มีหลายลักษณะที่สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานที่ผลิตก. เครื่องมือประเภทปลายปากแข็ง ส่วนใหญ่ทำด้วยโลหะหรือไม้ ได้แก่ ปากกาชนิดต่างๆ ดั้งนี้- ปากกาชนิดปลายปากแหลม เหมาะสำหรับใช้เขียนตัวอักษรขนาดเล็กหรือเส้นที่มีความละเอียดใช้เขียนกับหมึกหรือสีโปสเตอร์ก็ได้ นิยมใช้กันมากในงานสร้างต้นแบบของงานพิมพ์ ( Artwork) ปากกาชนิดนี้มีขนาดเดียว ฉะนั้นเมื่อต้องการใช้เส้นหนาจะต้องตัดหรือต้นปลายด้วยหิน- ปากกาสปีดบอล ใช้ในงานเขียนตัวอักษร สามารถใช้ได้กับหมึกและสีโปสเตอร์ มีให้เลือกใช้ถึง 4 แบบ และขนาดต่างกันถึง 6 – 7 ขนาดแบบ A (A-Style) สำหรับเขียนตัวอักษรเหลี่ยมที่มีเส้นทึบตลอดตัว มีขนาดตั้งแต่ A – 0 ถึง A – 0แบบ B (B-Style) สำหรับเขียนตัวอักษรที่ต้องการให้หัวหรือปลายมันเป็นรูปครึ่งวงกลมมีขนาดตั้งแต่ B – 0ถึง B- 0แบบ C (C-Style) สำหรับเขียนตัวเหลี่ยมหักมุมได้มีขนาดตั้งแต่ C- 0 ถึง C – 6แบบ D (D-Style) สำหรับเขียนตัวมนที่มีเส้นหนาและบาง มีขนาดตั้งแต่ D – 0 ถึง D – 6- ปากกาหมึกซึมเขียนแบบ ใช้ได้ทั้งการเขียนตัวอักษรตีเส้นและวาดรูป มีขนาดต่างๆกันโดยเริ่มตั้งแต่ขนาดเล็กสุดคือ 0.1 มม.ขึ้นไป- ปากกาตีเส้น ใช้ขีดเส้นได้อย่างสม่ำเสมอบนกระดาษเขียนแบบหรือแผ่นใส มีทั้งแบบตีเส้นตรงและขีดเส้นโค้งหรือวงกลม และยังสามารถปรับขนาดของปากกาได้อีกด้วยข.เครื่องมือประเภทปลายปากอ่อน มักทำจากขนสัตว์ ยาง หรือ สักหลาด ได้แก่ พู่กัน ปากกาปลายสักหลาด และปากกาไฟเบอร์พู่กัน ทำด้วยขนสัตว์ เช่นขนหูวัว ขนกระต่าย ขนแกะ มี 2 ชนิด คือ ชนิดกลมและชนิดแบนหรือปลายตัด ชนิดกลมใช้ในการระบายสี ส่วนปลายแบนหรือปลายตัดใช้สำหรับเขียนตัวอักษรพู่กันสามารถใช้ได้กับสีน้ำ สีโปสเตอร์ และสีน้ำมัน การใช้ต้องอาศัยความชำนาญปากกาปลายสักหลาด ปลายปากทำด้วยสักหลาดแข็ง มีทั้งชนิดปากกลมและปากปลายตัดใช้ประโยชน์ในงานหลายชนิด เช่น- ปากกาสักหลาดปลายตัด ใช้สำหรับเขียนตัวอักษรชนิดไม่มีหัว- ปากกาสักหลาดปลายกลม ใช้สำหรับเขียนตัวอักษรประดิษฐ์หรือระบายสีปากกาไฟเบอร์ ปลายปากแหลม ทำด้วยไพล่อนแข็ง เหมาะสำหรับใช้งานที่คล้ายกับเขียนด้วยปากกาหมึกซึม หรือปากกาเขียนแบบแต่มีข้อเสียตรงที่เส้นไม่คมและชัดเจนเท่าค. ดินสอ ใช้ในงานร่างแบบ เขียนรูป วาดรูป และระบายสี ดินสอแต่ละชนิดเหมาะกับงานที่แตกต่างกันออกไป- ดินสอดำ มีทั้งชนิดที่ไส้ดินสอหุ้มด้วยไม้เนื้ออ่อน และใส่ที่นำมาใช้กับวงเวียนหรือปากกาดินสอ ความดำของดินสอขึ้นอยู่กับความอ่อนหรือแข็งของไส้ดินสอ ซึ่งกำหนดให้ทราบด้วยตัวอักษร H และ BH ให้เส้นที่สีเข็มเท่ากันตลอด จาก H ถึง 4H ซึ่งสีจะจางและไส้ดินสอจะแข็งยิ่งขึ้นเหมาะสมกับงานร่างแบบB ให้เส้นสีดำมากกว่าเนื้อไม้ดินสออ่อนจาก B ถึง 6B ซึ่งจะให้สีดำมากขึ้นและไส้ดินสออ่อนยิ่งขึ้น เหมาะสมกับงานสเก็ต เขียนรูป แรเงาHB ให้เส้นลักษณะปานกลาง ใช้อยู่ทั่วไป- ดินสอสี ใช้งานระบายสีบนพื้นกระดาษ และบนภาพขนาดเล็ก- ดินสอเดรยอง เป็นดินสอที่มีส่วนผสมของดิน สี และ ไข ใช้งานระบายสีบนพื้นกระดาษมากกว่าเขียนตัวอักษร- ดินสอถ่าน เป็นส่วนผสมของถ่านหรือสีกับกาว เหมาะกับงานวาดภาพเหมือนและการแรเงาภาพ
2.2.2 เครื่องมือช่วยและประกอบการผลิตงานกราฟิคก. เครื่องช่วยการเขียน ได้แก่- แผ่นโตกราฟ ช่วยย่อหรือขยายภาพโดยไม่ต้องใช้ทักษะในการวาดรูป และไม่ต้องเสียเวลาในการตีตาราง- เครื่องฉายภาพโปร่งแสง ช่วยขยายภาพจากต้นฉบับประเภทโปร่งแสง- เครื่องฉายภาพทึบแสง ช่วยขยายภาพจากต้นฉบับประเภททึบแสง- เครื่องอัด ขยายภาพ ช่วยสร้างภาพจากฟิล์มถ่ายรูป- เครื่องอัดสำเนา ช่วยสร้างภาพจากต้นฉบับที่เป็นกระดาษไขเมื่อต้องการจำนวนมากๆ- เครื่องถ่ายเอกสาร ช่วยสร้างภาพจากต้นฉบับเดิม- เทพเพลท หรือ แบบโครงร่าง รูปทรงต่างๆ ที่ใช้ในงานวาดรูปบนกระดาษ , กระดาษไข- อักษรลอก ให้ตัวอักษรที่คมชัด สวยงามในแบบและขนาดต่างๆ ที่ให้เลือกมากมาย- ตรายาง ช่วยสร้างภาพหรือตัวอักษรได้อย่างรวดเร็ว- แม่แบบเขียนตัวอักษร มีสำหรับช่วยในการเขียนตัวอักษรประดิษฐ์ข.เครื่องประกอบการเขียน ได้แก่- วงเวียน ใช้เพื่อสร้างวงกลมหรือส่วนโค้ง มีทั้งชนิดที่ใช้กับดินสอดำและใช้กับหมึก- ไม้บรรทัดใช้ในงานลากเส้นตรง อาจทำด้วยไม้หรือโลหะหรือพลาสติกและมีความยาวตั้งแต่ 6 นิ้ว ถึง 24 นิ้ว- ไม้ฉากชุด (Set Sqare) นอกจากใช้วัดมุมแล้วยังใช้ในการลอกเส้นในแนวตั้งฉากได้อย่างรวดเร็ว ( ม.ส.ธ. หน้า 152 )- ไม้ที ( T- Square : ใช้กำหนดแนวระดับของกระดาษหรือใช้ร่วมกับไม้ฉาก ในการลากเส้นแนวดิ่ง ( ม.ส.ธ. หน้า 154 )- เครื่องเขียนส่วนโค้งแบบปรับได้ ใช้ในการเขียนส่วนโค้งต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้วงเวียน
2.2.3 เครื่องมือตัดแต่ง ได้แก่ก. ประเภทใบมีด ได้แก่ ใบมีดโกน ( Prazon blade) และใบมีดตัดกระดาษ (Cutter) ใช้ตัดกระดาษและงานละเอียดได้อย่างดีมีลักษณะของใบมีดหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะกับวัสดุที่ต้องการตัดข. ประเภทกรไกร ได้แก่ กรรไกรและเครื่องตัดแบบแท่น

ไม่มีความคิดเห็น: