ทฤษฏีสี
1. สี (Color)สีคือลักษณะของแสงสว่างที่ปรากฏแก่ตา ให้เห็นเป็น แดง ดำ เขียว เหลือง ฯลฯ การที่ตาจะมองเห็นวัตถุเป็นสีใดก็ต่อเมื่อแสงจากวัตถุนั้นสะท้อนมาเข้าตา ซึ่งอาจจะเป็นแสงที่เปล่งออกมาเอง หรือแสงจากที่อื่นมากระทบวัตถุแสงสะท้อนสีก็ได้ ถ้าเราให้แสงส่องผ่านแท่งแก้วสามเหลื่ยมแล้วนำฉากมารับ จะปรากฏเป็นสีขึ้นมา 7 สี เรียกว่าสเปคครับ (Spectrum) คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีทั้งเจ็ด บางทีตาอาจเห็นได้ชัดเจนเพียง 5 สีคือ สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง และสีแดง
2. ทฤษฏีของสี (Theory of color)หลังจากที่ เซอร์ ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบสีในแสงสว่างแล้วได้เกิดทฤษฏีสีขึ้นมาโดยที่นักเคมีและนักศิลปะตกลงกันในเรื่องลักษณะแท่งการเกิดสี 2 ลักษณะคือการทำขึ้นเป็นสีต่างๆ กับการผสมกันระหว่างสี เพื่อให้เกิดอีกสีหนึ่ง ศิลปินได้มีการใช้สีต่างๆ และมีการค้นคว้าการใช้สีในทางศิลปะไว้มาก จนเกิดเป็นทฤษฏีสีอีกหลายทฤษฏี แต่ที่นิยมกันมากมี 2 ทฤษฏีของแปรงหรือระบบของแปรง (Prang System) และทฤษฏีหรือระบบของมัลเชล (Munsell System) ทฤษฏีทั่งสองมีส่วนคล้ายคลึงกัน และนำมาปฏิบัติได้ผลดีเป็นอย่างมากระบบสีของแปรง (Prang System)กำหนดแม่สีไว้ 3 สีคือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีทั้งสามสามารถผสมเป็นสีอื่นได้อีกมากมาย เมื่อนำเอาแม่สีทั้งสามผสมกันในอัตราหรือปริมาณที่เท่ากัน จะเกิดเป็นสีกลาง (Neutral Color) ขึ้น สีกลางดังกล่าวถ้านำไปผสมกับสีอื่นๆ จะเกิดเป็นสีแก่หรือสีเข้มขึ้นได้เช่นเดียวกับการนำสีขาวไปผสมกับสีอื่นๆ ก็จะเกิดเป็นสีที่อ่อนจางลง มีผู้ทดลองใช้สีเพียง 3 สี เขียนภาพ ก็ปรากฏว่าได้ผล โดยการผสมสีเป็นสีกลางไว้ก่อน เมื่อต้องการจะระบายส่วนที่เป็นเงาก็ใช้สีกลางนั้นผสมกันสีแต่ละสีที่ต้องการได้ตามระบบของแปรงนี้ ทำให้เกิดการสร้างวงล้อสีธรรมชาติขึ้น (Color wheel) ด้วยการแบ่งวงกลมเป็นแฉกๆ คือ 6 แฉก 12 แฉก และ 24 แฉก แต่ละแฉกในวงกลมก็เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแม่สีระบบของมัลเซลล์ (Munsell System)กำหนดแม่สีไว้ 5 สี คือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว และสีม่วง เมื่อนำสีทั้ง ห้า มาผสมกันเข้าจะได้สีกลาง (Neutral color) เช่นเดียวกันระบบของแปรงแต่การผสมสีต่อๆ ไปนั้น การผสมครั้งแรกได้ เป็น 10 สี และต่อไปได้เป็น 20 สี และ 40 สี นอกจากนั้นยังจัดคุณค่าของสีไว้อีกสีละ 9 ระยะ ตั้งแต่อ่อนที่สุดถึงแก่ที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อเอาสีที่ผสมไว้ถึง 40 สี มาวัดคุณค่าเป็นสีละ 9 ระยะ ก็จะได้สีมากถึง 360 สี ซึ่งระบบสีของแปรงก็อาจทำได้ แต่ต้องผสมสีกันหลายครั้ง การผสมเช่นนั้นอาจไม่ได้คุณสมบัติแท้จริงก็ได้ เมื่อระบบของมันเชลล์ผสมสีได้มากมายเช่นนี้ ก็เลยคิดชื่อสีเป็นตัวเลข เพื่อไม่ต้องตั้งชื่อถึง 300 กว่าชื่อ แต่ก็ยังมีผู้มาตั้งชื่อขึ้นภายหลัง แล้วใช้ตัวเลขกำกับไว้ด้วยเช่น บริษัทที่ทำสีกระป๋อง ทั้งสีน้ำและสีน้ำมัน จำหน่ายในปัจจุบัน ก็ใช้ตามระบบสีของมันเชลล์ ซึ่งเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมากมิติของสี (The Dimension of Color)คุณสมบัติของสีตามระบบของทฤษฏีสีสากลนั้น กำหนดไว้ 3 ประการ(1) สีแท้ (Hue)(2) คุณค่าของสี (Value)(3) ความเข้มของสี (Intensity)สีแท้ (Hue)เป็นมิติแรกของสีและเป็นชื่อของสีต่างๆ เช่น แดง น้ำเงิน เขียว หรือสีทุกชนิดที่ไม่ได้ผสมกับสีอื่นเลย ถ้าเราเอาสีแท้สองสีผสมกัน ก็จะเกิดเป็นสีใหม่ขึ้น เช่น แดงผสมกับน้ำเงิน จะได้เป็นสีม่วง สีน้ำเงินผสมกับสีเขียว ได้เป็นสีน้ำเงินเขียว ซึ่งถ้าเราเข้าใจในเรื่องการผสมสีเป็นอย่างดี จะสามารถผสมสีได้อย่างสวยงาม การผสมดังกล่าวจะได้สีเป็นขั้นต่างๆ เป็นอันดับขั้นของสี (Classes of Color) แบ่งเป็น 5 ขั้นคือ
1. สีขั้นต้นหรือแม่สี (Primary Color)
(1) สีน้ำเงินแก่ (Prussian blue) หรือ blue
(2) สีแดงชาด (Crimson Lake) หรือ red
(3) สีเหลือง (Camboge Tint) หรือ Yellow
2. สีขั้นที่สอง (Hinary of Secondary Color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นต้น คือ
(1) ส้ม (Orange) ได้จาก แดง เหลือง
(2) เขียว (Green) ได้จากน้ำเงิน เหลือง
(3) ม่วง (Violet) ได้จาก น้ำเงิน แดง
3. สีขั้นที่สาม (Intermediate Color)เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันของสีขั้นที่สอง กับสีขั้นต้นที่อยู่ใกล้เคียงกันคือ
(1) เหลืองแกมเขียว (เหลือง + เขียว)
(2) เหลืองแกมส้ม (เหลือง + ส้ม)(3) แดงแกมส้ม (แดง + ส้ม)
(4) แดงแกมม่วง (แดง + ม่วง)
(5) น้ำเงินแกมม่วง (น้ำเงิน + ม่วง)
(6) น้ำเงินแกมเขียว (น้ำเงิน + เขียว)
วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น