วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551

งานออกแบบประเภทต่างๆ

งานออกแบบประเภทต่างๆ คือ
1. การออกแบบตกแต่ง (Decorative designs) ได้แก่การออกแบบเพื่อตกแต่งวัตถุต่างๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นให้มีคุณค่าทางความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอย อาจเป็นลวดลาย ภาพคน ภาพสัตว์ สัญลักษณ์ หรือแนวความคิดอย่างใดก็ได้ รวมทั้งงานตกแต่งอาคารสถานที่ต่างๆ ทั้งภายนอกและภายใน
2. การออกแบบทางการค้า (Commercial designs) ได้แก่งานออกแบบเพื่อบังเกิดผลด้านธุรกิจโฆษณา หรือความมุ่งหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิตและการบริโภค ตลอดทั้งการออกแบบด้านการพิมพ์ (Graphic Designs)
3. การออกแบบสร้างสรรค์ (Creative designs) คืองานออกแบบงานศิลปะแขนงต่างๆ ตามแนวความคิดและความรู้สึกเฉพาะคน มีการเลือกวัสดุที่นำมาประกอบงานพร้อมทั้งสีเทคนิคและวิธีการแปลกใหม่ ซึ่งเรียกว่าเป็นชมเป็นผู้ชมเปลี่ยนแปลง ริเริ่มหรือมีนวัตกรรมในทางศิลปะ (Art innovator) อยู่เสมอ
4. การออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial designs) เป็นงานออกแบบเกี่ยวกับการผลิตทางจำนวน (Mass production) เป็นงานออกแบบเกี่ยวกับการผลิตทางจำนวน (Mass production) นับจากสิ่งเล็กไปจนถึงพวกเครื่องจักรกล ตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนองความต้องการของตลาด
5. การออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural designs) ได้แก่งานออกแบบเกี่ยวกับแผนผังต่างๆ ตามหลักนิเวศวิทยา (Ecology) และการออกแบบผังเมือง (Urlan centre) เช่นศูนย์กลางของทางราชการ (Shopping centre) ศูนย์กลางสังคม (Social centre) ศูนย์การค้า (shopping centre) และอื่นๆ โดยคำนึงถึงความสะดวกสบายของชุมชนทุกด้าน
๓.บ่อเกิดของความคิดในการออกแบบ (Source of Design Idea)นักออกแบบนอกจากจะมีความรู้ในรูปทรงสามมิติและเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้ว การจะผลิตงานการออกแบบได้ดีนั้น จำต้องมีความชำนาญในการสร้างสรรค์ มีความเข้าใจในการศึกษาหาแหล่งที่ทำให้ความบันดาลใจในการออกแบบ เพื่อนำมาประยุกต์ให้เกิดแบบอย่างใหม่ๆ ขึ้นในลักษณะเฉพาะตน แหล่งที่มาของการออกแบบ ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดให้มีแนวความคิดสร้างสรรค์มี ๓ ทางคือ
๑. จากรูปทรงตามธรรมชาติ (Nature forms) มนุษย์รู้จักนำแบบอย่างทางธรราชาติมาใช้ในการออกแบบกันมาช้านานแล้ว ยึดถือธรรมชาติเป็นครูทั้งด้านการจัดเส้น สี รูปทรง ผัง พื้นที่ จังหวะ แล้วนำมาดัดแปลงแต่งเติมให้งดงามกว่า หรือตัดทอนออกไปได้รูปแบบที่ง่ายกว่าธรรมชาติ เช่น รูปคน สัตว์ พืช เป็นต้น
๒. จากลวดลายทางประวัติศาสตร์ (Historic Ornaments) ในการออกแบบลวดลายตกแต่ง เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมนิยมของชาติไว้ ผู้ออกแบบควรศึกษาหาความรู้จากแบบอย่างลวดลายประดับสมัยต่างๆ ลวดลายปั้นปูน ลายสลักไม้ ลายสลักหิน ลายสลักดุนนูนบนแผ่นโลหะ ภาพเขียน ลายประดับมุก ฯลฯ เพื่อให้ทราบลักษณะแท้จริงของลวดลายสมัยต่างๆ เช่น ลายสกุลช่างเชียงแสน สุโขทัย ลานนาไทย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ อาจเป็นลายเครือเถาลายกระหนก ภาพคนและสัตว์ในนิยาย แล้วนำประยุกต์ให้เหมาะสมกับสมัยนิยม โดยยังรักษาเอกลักษณ์ของไทยไว้ให้ปรากฏ อาจจะเป็นลายประดับอาคาร ประดับเครื่องเรือน ลวดลายผ้าและหัตกรรมอื่นๆ
๓. จากรูปแบบเรขาคณิต (Geometric Patterns) หมายถึงการนำเอารูปทรงพื้นฐาน หรือรูปแบบทางเรขาคณิต ซึ่งประกอบด้วยรูปวงกลม วงรี สามเหลี่ยม สีเหลี่ยมจัตุรัส สีเหลี่ยมผืนผ้า รูปกรวย รูปทรงกระบอก รวมทั้งรูปทรงอิสระอื่นๆ มาจัดเป็นองค์ประกอบแห่งศิลปะอย่างงดงาม ทั้งในทางวิจิตรศิลป์ มัณฑนศิลป์ หรือประยุกต์ศิลป์ ซึ่งเรียกว่า “การออกแบบนามธรรม” ดังที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไป๔. ข้อควรคำนึงในการออกแบบผู้ออกแบบหรือนักออกแบบ (Designer) จะออกแบบในลักษณะใดหรือประเภทใดก็ตาม ก่อนที่จะออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้คือ
1. วัสดุ (Materials)วัสดุที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ มีคุณสมบัติแตกต่างกัน บางสิ่งเหนียวเปราะแข็งแรง โปร่งใส หนัก-เบา ฯลฯ เพื่อให้การออกแบบไดผลดี เราควรจะเลือกวัสดุให้เหมาะสม เช่น สร้างบ้าน จะใช้ไม้ ดินเหนียว เหล็กกล้า หรือกระจก จะออกแบบการผลิต ควรใช้กระดาษวาดเขียนผนึกกับผ้าดินย่อมดีกว่าการใช้ไม้ เหล็ก หรือตะกั่ว เป็นต้น
2. หน้าที่ในการนำไปใช้ (Function)เมื่อทราบถึงวัสดุที่จะใช้ในการออกแบบแล้ว ควรทราบถึงหน้าที่ของมันด้วย ทั้งนี้เราพิจารณาถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของวัสดุแต่ละอย่าง เพื่อจะใช้ได้อย่างเหมาะสมกับงานนั้นๆวัสดุกับหน้าที่การใช้งาน มีความสัมพันธ์กันมาก เมื่อเราพิจารณาหน้าที่ในการนำไปใช้ เราสามารถเลือกวัสดุได้เหมาะสมกว่า เช่นสร้างประตูห้องน้ำ หากใช้ไม้ย่อมผุพังได้ง่าย เพราะถูกน้ำย่อย หากเปลี่ยนเป็นสังกะสี หรือครอบด้วยสังกะสี ประตูห้องน้ำย่อมใช้ทนทานได้นานกว่า
3. ลักษณะเฉพาะแบบ (Style)หมายถึงการออกแบบที่ได้รับอิทธิพลมาทางวัฒนธรรมที่ตกทอดไว้อาจเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่อารยธรรมดีมาก่อน ถือเป็นเอกลักษณ์ประจำชาตินั้นด้วย เช่น สถาปัตยกรรมไทยมีทรงจั่วโดยทั่วไป จีนมีทรงเรือสำเภากระเบื้องลูกฟูก ทางตะวันตกยังคงรักษาไว้ซึ่งศิลปะแบบโกธิค(Gothic Art) เป็นต้น
4. สมัยนิยม (Fashion)ในการออกแบบนั้น บางครั้งต้องพิจารณาถึงความนิยมในยุคสมัยด้วยเพราะสมัยนิยมเป็นเรื่องของจิตใจ บางสิ่งเป็นของดีงาม มีคุณค่าสูง แต่หมดยุคหมดสมัยไปแล้ว ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม นักออกแบบจำเป็นที่ต้องประยุกต์งานออกแบบให้เหมาะกับความนิยมในสังคม ไม่เฉพาะแต่พิจารณาความเหมาะสมเรื่องวัสดุ และหน้าที่การใช้งานเท่านั้น
5. ความแปลกใหม่ (Novelty)ความแปลกใหม่ที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบมาก บางทีทำลายกฏเกณฑ์ต่างๆ ดังที่กล่าวมากแล้วทั้งหมดด้วยซ้ำไป ความแปลกใหม่ เป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจได้ทันที ทั้งๆ ที่เรายังไม่ทราบว่า สิ่งนั้นมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร จากอิทธิพลของความแปลกใหม่ ทำให้เราได้พบเห็นลักษณะรูปร่างแปลกๆ ในโลกแห่งการออกแบบในปัจจุบัน และส่วนใหญ่ยังมีราคาสูงกว่าแทนทั้งสิ้น เช่น แก้วน้ำทรงแปลกๆ ขวดสุรา ขวดน้ำหอม โคมไฟ ร่ม ปากกา นาฬิกา ฯลฯ และถ้าสิ่งแปลกใหม่ในการออกแบบนั้นมีคุณค่าและประโยชน์ใช้สอยมีมากด้วยแล้ว จะยืนยงอยู่ได้นานและสูงราคาไปด้วย เราสามารถสร้างความแปลกใหม่ได้คือ
(1) สร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ ผู้ออกแบบสามารพคิดหรือคิดสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมาเพื่อเร้าความสนใจ ผู้พบเห็นได้
(2) การดัดแปลงของเดิมให้แปลกใหม่ หมายถึงการเติมแต่งดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้แปลกใหม่ยิ่งขึ้น
(3) ความแปลกใหม่จากของเก่าดั้งเดิม ในกรณีที่เรามีของเก่าที่เก็บไว้นาน หากนำมาให้คนรุ่นหลังได้รู้เห็น ก็ถือเป็นความแปลกใหม่ ทำให้ของนั้นมีคุณค่าสูงขึ้นได้ด้วย เหตุนี้จึงมีนักสะสมของเก่าเกิดขึ้นมาก เช่น การสะสมแสตมป์ สะสมไม้ขีดไฟ พระเครื่อง ฯลฯ
(4) เกิดจากการโฆษณาชวนเชื่อ การโฆษณาชวนเชื่อเป็นจิตวิทยาอันหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดทัศนคติในของธรรมดาเป็นของแปลกใหม่ได้ แต่บางครั้งก็เป็นความแลกใหม่ชั่วคราวเท่านั้น
(5) เกิดจากการเปรียบเทียบในระหว่างจำนวน นั้นคือหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ในสิ่งอื่นที่มีจำนวนมากกว่า จะกลายเป็นของแปลกใหม่ได้เช่นกัน เช่น แกะมีสีขาว ถ้าแกะออกมาเป็นสีดำในกลุ่มฝูงแกะก็กลายเป็นของแปลกได้
5. องค์ประกอบในการออกแบบ (Element of Design)ในการออกแบบ เราอาจจะเลือกใช้สิ่งต่างๆ เข้ามาประกอบกันตามที่ผู้ออกแบบต้องการ และเห็นว่าเหมาะสม เพราะองค์ประกอบแต่ละประเภทนั้นต่างมีความสำคัญและมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเองอยู่แล้ว องค์ประกอบต่างๆ ในกาออกแบบคือ1) เส้น (Line)เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอับดับแรกสุดที่จะประกอบเป็นรูปร่างหรือขอบเขตและเป็นรากฐานของศิลปะทุกประเภท เส้นมีหลายลักษณะ แต่ละลักษณะให้ความหมายและความรู้สึกต่างกัน คือ
1. เส้นตรง ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความมั่นคง แข็งแรง ตรงไปตรงมา ความว่าย ความสง่างาม และแสดงความสูงหรือทิศทางในแนวตั้ง
2. เส้นระดับหรือเส้นราบ ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับความสงบ ความนิ่งเฉย ความกว้างขวาง และชี้ทิศทางในแนวนอน
3. เส้นเฉียงหรือเส้นทแยง ให้ความรู้สึกในแง่ความกว้าง แสดงความเคลื่อนไหวแสดงความต้านทาน ชี้ทิศทางลักษณะทแยง
4. เส้นโค้ง เส้นคด ให้ความรู้สึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว แสดงความนุ่มนวล อ่อนหวานสวยงาม
5. เส้นประ มักจะใช้เพื่อให้เกิดความรู้ตื่นเต้น แสดงการเคลื่อนที่ไม่มีจุดจบ ถ้าใช้มากไปจะทำให้ยุ่งยากซับซ้อน
6. เส้นหักหรือเส้นซิกแซก แสดงความเคลื่อนไหว รวดเร็ว ความกระด้างเส้นเป็นโครงร่างของการออกแบบ เป็นงานศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ เช่น ภาพลายเส้น ภาพร่าง ภาพการ์ตูน การใช้เส้นหนัก-เบา เพื่อแสดงความตื้นลึกของภาพ เป็นต้น2) รูปร่าง (Shape)หมายถึงเส้นรอบนอก และเส้นอันเป็นส่วนโค้งส่วนเว้าของสิ่งต่างๆ เป็นเนื้อที่ในของเขตที่เกิดจากเส้น เช่น รูปวงกลม รูปทรงเรขาคณิต หรือรูปร่างในลักษณะต่างๆ รูปร่างมีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาวเท่านั้น คือมีลักษณะเป็น 2 มิติ3) รูปทรง (Form)รูปทรงเป็นปริมาตรอันเกิดจากเส้น มีความกว้าง ความยาวและความลึก (ความหนาหรือความสูง) จึงมีลักษณะเป็น 3 มิติ รูปทรงที่ใช้ในการออกแบบมี 3 ลักษณะคือ(1) รูปทรงมูลฐาน (Basic form) เป็นรูปทรงที่ได้จากเรขาคณิต อาจจะวางเรียงกันหรือทับกัน ทำให้เกิดรูปทรงใหม่อีกหลายแบบ(2) รูปทรงธรรมชาติ (Nature form) เป็นการนำรูปทรงที่มีตามธรรมชาติมาดัดแปลง ให้เหมาะสมกลมกลืนกับการออกแบบแต่ละเรื่องเป็นแบบที่ใกล้ธรรมชาติ สามารถนำไปใช้ในงานต่างๆ ได้
(3) รูปทรงอิสระ แบบนี้ไม้มีทรงที่แน่นอน อาจจะได้เค้าโครงมาจากทรงเรขาคณิต หรือรูปทรงธรรมชาติก็ได้
(4) มวล (Mass)หมายถึงสิ่งต่างๆที่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน มีลักษณะเป็นรูปร่าง มีความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักและขนาด กินเนื้อที่ในอากาศตามที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น เช่น การปั้น แกะสลัก รูปนั้นอาจจะกลวงหรือตัน หรือเป็นแท่งในลักษณะต่างๆ
(5) ช่องไฟ (Space)หมายถึงช่องว่างหรือที่ว่าง เป็นการวางระยะภาพในและภายนอกในการประกอบภาพ เพื่อให้เกิดความเด่นและมีสภาวะสมดุลย์ ในกรณีที่เป็นงานศิลปะด้านจิตรกรรม เช่น การเขียนลายไทย ตัวลายเราถือเป็น Positive space ส่วนฉากหลังหรือพื้นหลังถือเป็น Negative space6) คุณค่า (Value) หมายถึงคุณค่าหนักเบาที่ช่วยให้เกิดความรู้สึกได้ทั้งด้านมิติและการเห็นจริงเห็นจังโดยทั่วไปใช้คู่กับแสงเงา แสงจะเป็นตัวหลักในการพิจารณาคุณค่า ซึ่งคุณค่าที่มีความงามทางศิลปะนั้นแสงจะทำมุมประมาณ 48๐ กับวัตถุแสงเงา (Tone) จะช่วยให้มองเห็นผิววัตถุ เรียบ ขรุขระ หยาบ ตื้น ลึก ได้
(7) ลักษณะพื้นผิว (Texture)เป็นสิ่งที่จะช่วยแสดงออกถึงความรู้สึกและความเป็นจริงของวัตถุ เช่นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกถึงความกระด้าง แข็งแรงผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกระคายเคือง สาก ไม่น่าจับต้องผิวละเอียด ให้ความรู้สึกนิ่มนวล อ่อนไหววัตถุอย่างเดียวกัน อาจให้ความรู้สึกได้หลายแนว ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นผิว พวกเรารู้จักดัดแปลง
(8) สมดุล (Balance)เป็นความรู้สึกพอดี เหมาะสม ในการออกแบบหรือประกอบภาพทั้งด้านรูปร่างรูปทรง จังหวะที่ว่าง และการใช้สี สมดุลมี 2ลักษณะก. ซ้ายขวาเท่ากัน บางทีเราเรียกเป็น (Formal balance) เป็นลักษณะสมดุลย์ที่เท่ากันหรือเหมือนกันทั้งสองข้าง เราพบเห็นบ่อยครั้งในธรรมชาติ เช่น ถ้ามี 2 สิ่งก็จัดไว้คนละข้าง ถ้ามี 3สิ่ง นำไว้ตรงกลางอีก 1 พระปรางค์วัดอรุณใช้องค์ใหญ่ไว้กลางแล้ว 4 องค์เล็ก เอาไว้ข้างละ2 องค์ที่เท่ากันทั้งซ้ายขวาข. ซ้ายขวาไม่เท่ากัน (Assymmetrical Balance) บางทีเราเรียกเป็น Informal balance เป็นลักษณะที่เปรียบเทียบซ้าย-ขวา ไม่เท่ากัน เพราะลักษณะแตกต่างกัน แต่ดูโดยส่วนรวมทั้งหมดแล้วให้ความรู้สึกเท่ากัน แบบนี้น่าสนใจกว่าแบบแรกเพราะดูแล้วไม่เบื่อ การจัดก็อิสระกว่า
(9) สี (Colors)สีเป็นส่วนมูลฐานในการออกแบบ เป็นสิ่งที่ประทับใจอันดับแรกที่จะช่วยให้คนดูสนใจงานออกแบบ หรืองานศิลปะทั่ว ๆ ไป นอกจากจะเร้าความสนใจ ให้ความสวยงาม ให้ความหมาย ข้อเท็จจริงต่างๆ แล้วสียังช่วยทำให้การออกแบบมีสมดุลได้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: